022

ไมโครซอฟท์ทุ่ม 5.44 พันล้านยูโรฮุบธุรกิจมือถือโนเกีย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์3 กันยายน 2556 11:04 น.

flickr:9715160336

สื่อต่างประเทศรายงาน ยักษ์ใหญ่ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ยืนยันพร้อมซื้อกิจการโทรศัพท์มือถือของโนเกีย (Nokia) อย่างเป็นทางการด้วยมูลค่า 5.44 พันล้านยูโร (ราว 2.33 แสนล้านบาท) คาดดีลนี้จะแล้วเสร็จช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า (2014) ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น และการตรวจสอบจากหน่วยงานกำกับดูแลระดับประเทศ
การที่ไมโครซอฟท์เปิดเผยแผนซื้อกิจการของโนเกียนั้นเป็นเรื่องที่ไม่เหนือความคาดหมาย เนื่องจากโนเกียเป็นพันธมิตรอันดับ 1 ซึ่งทำสัญญากับไมโครซอฟท์ว่าจะผลิตสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟนเป็นหลักตั้งแต่ปี 2011 ที่ผ่านมา โดยล่าสุด โนเกียออกแถลงการณ์ยืนยันว่าจะยังเน้นพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมภายใต้แบรนด์โนเกียเช่นเดิม
ดีลไมโครซอฟท์ซื้อโนเกียจะครอบคลุมเฉพาะแผนกให้บริการและอุปกรณ์ของโนเกีย (devices and services division) ซึ่งเป็นแผนกที่ดูแลการทำธุรกิจสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต (ในอนาคต) ทั้งหมด จุดนี้ข้อมูลระบุว่า ไมโครซอฟท์จะจ่ายเงินมูลค่า 3.7 พันล้านยูโรเพื่อธุรกิจจัดจำหน่ายและผลิตอุปกรณ์ของโนเกีย (ประมาณ 1.5 แสนล้านบาท) ขณะที่อีก 1.65 พันล้านยูโรจะเป็นค่าสิทธิบัตรที่โนเกียถืออยู่ (ราว 7 หมื่นล้านบาท)

หากคำนวณรวมทั้งหมด ถือว่าไมโครซอฟท์สามารถควบรวมธุรกิจโทรศัพท์มือถือของโนเกียในมูลค่ามากกว่า 2 แสนล้านบาท โดยไมโครซอฟท์จะโอนพนักงานทั้ง 32,000 คนของโนเกียไปเป็นพนักงานในเครือไมโครซอฟท์ ซึ่งประกอบด้วยพนักงาน 4,700 คนในประเทศฟินแลนด์ และ 18,300 คนที่อยู่ในฝ่ายการผลิต ประกอบ และพัฒนาอุปกรณ์ทั่วโลก ขณะที่ซีอีโอโนเกีย “สตีเฟนอีลอป (Stephen Elop)” ก็จะถูกถ่ายโอนไปอยู่สังกัดไมโครซอฟท์เช่นกัน ถือเป็นการคืนรังกลับถิ่นเก่าเนื่องจากอีลอปเคยทำงานที่ไมโครซอฟท์มาก่อนจะมารับตำแหน่งซีอีโอโนเกีย
ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกแถลงการณ์ว่า ซีอีโออีลอปจะยุติบทบาทซีอีโอโนเกียเพื่อรับหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมพัฒนาอุปกรณ์พกพาของไมโครซอฟท์อย่างเป็นทางการ และจะมีริสโต ซิลาสมา (RistoSiilasmaa) ประธานบอร์ดบริหารของโนเกียขึ้นรักษาการแทน ขณะที่ประธานฝ่ายสมาร์ทดีไวซ์อย่างโจฮาร์โลว์ (Jo Harlow) และประธานฝ่ายปฏิบัติการ โจชัวพัตกิรันตา (JuhaPutkiranta) รวมถึงผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาฟีเจอร์โฟนทิโม ทอยกาเนน (TimoToikkanen) และรองประธานฝ่ายการตลาด คริส วีเบอร์ (Chris Weber) จะเข้าร่วมทีมของอีลอปที่จะทำงานขึ้นตรงต่อไมโครซอฟท์

สำหรับโนเกีย ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือสัญชาติฟินแลนด์จะยังมีธุรกิจเครือข่ายหรือเน็ตเวิร์กกิ้งอยู่ในมือ พร้อมกับเทคโนโลยีด้านแผนที่และด้านโลเกชันต่อไป จุดนี้ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรบริการแผนที่ “เฮียร์ (HERE)” ให้แก่ไมโครซอฟท์เป็นราย 4 ปี เพื่อนำระบบ HERE ไปติดตั้งในสมาร์ทโฟนที่ผลิตใต้ชายคาไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นเครื่องการันตีได้ระดับหนึ่งว่าระบบแผนที่ของโนเกียจะยังถูกใช้ในสมาร์ทโฟนแบรนด์โนเกียเช่นเดิมอย่างน้อยก็ในช่วงแรก และเราจะได้เห็นการบุกตลาดระบบนำทางในรถยนต์และอุปกรณ์อื่นภายใต้ชื่อ HERE ในอนาคต
การตกลงซื้อขายกิจการครั้งนี้เกิดขึ้น 2-3 สัปดาห์หลังจากที่สำนักข่าววอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงานว่าไมโครซอฟท์ล้มเหลวในการเจรจาเพื่อซื้อกิจการโนเกีย อย่างไรก็ตาม สตีฟ บอลเมอร์ (Steve Ballmer) ซีอีโอไมโครซอฟท์ที่ประกาศกำหนดการเกษียณจากตำแหน่งซีอีโอในเดือนสิงหาคม ยืนยันว่าการซื้อขายกิจการครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งพนักงาน ผู้ถือหุ้น และลูกค้าของทั้ง 2 บริษัท โดยภายใต้ดีลนี้โนเกียตกลงยกสิทธิในเทคโนโลยีของผู้ผลิตชิปอย่างควอลคอมม์ที่โนเกียทำไว้ในระยะยาวให้ไมโครซอฟท์ด้วย

ก่อนหน้านี้ โนเกียเคยตกเป็นข่าวว่ายักษ์ใหญ่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนสัญชาติจีนอย่าง “หัวเว่ย (Huawei)” สนใจซื้อกิจการโนเกียเช่นกัน ข่าวลือครั้งนั้นทำให้หุ้นโนเกียเพิ่มขึ้น 11% แตะระดับสูงสุดที่ 4.12 เหรียญสหรัฐเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าการซื้อขายครั้งนี้จะส่งผลถึงมูลค่าหุ้นของโนเกียเช่นกัน

ที่ผ่านมาหุ้นโนเกียไม่คึกคักเท่าใดนักเนื่องจากรายได้ของบริษัทที่ไม่เติบโตเท่าที่ควร โดยช่วงไตรมาส 1 ของปีนี้โนเกียมีรายได้รวม 7.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 20% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน กำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 236 ล้านเหรียญสหรัฐ หักลบแล้วเท่ากับโนเกียขาดทุนสุทธิ 150 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ไตรมาส 2 ปี 2013 โนเกียทำรายได้ลดลงอีก 24% คิดเป็นมูลค่า 5.69 พันล้านยูโร บนกำไรจากการดำเนินงาน 303 ล้านยูโร และยังคงขาดทุนสุทธิ 115 ล้านยูโร

แต่สิ่งที่โนเกียประกาศนั้นมีข่าวดีอยู่บ้าง นั่นคือยอดจำหน่ายสมาร์ทโฟน“ลูเมีย (Lumia)” สูงเป็นประวัติการณ์ 7.4 ล้านเครื่องในไตรมาส 2 ปี 2013 ที่ผ่านมา ทำให้มีการสรุปว่าปัจจุบันสมาร์ทโฟนวินโดวส์โฟน (Windows Phone) นั้นสามารถจำหน่ายได้มากกว่าสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี (BlackBerry) หรือบีบีแล้ว โดยสำนักวิจัยไอดีซีระบุว่าส่วนแบ่งตลาดวินโดวส์โฟนนั้นมีมากกว่า 3.7% ของยอดจัดส่งสมาร์ทโฟนในไตรมาส 2 ของปี 2013

แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/Cyberbiz/viewNews.aspx?NewsID=9560000110367

สรุปจากบทความ
จากบทความข้างต้นสามารถสรุปเนื้อหาโดยสังเขปได้ดังนี้บริษัท Microsoft ซื้อกิจการโทรศัพท์มือถือ Nokia จำนวนเงินกว่า 5.44 พันล้านยูโรโดยได้มีการตกลงกันมาตั้งปี 2011 ซึ่งข้อตกลงนี้Microsoft ได้ซื้อ Nokia ในส่วนของDevice และ Service ไม่ได้ซื้อทั้งหมดของบริษัท ทำให้Nokia ยังมีสิทธิขาดในส่วนของการบริการแผนที่หรือที่เรียกว่า “Here” ซึ่งเป็นระบบแผนที่ของNokiaที่สามารถใช้ในSmartphone และสามารถขยายเข้าไปบุกตลาดระบบการนำทางรถยนต์และอุปกรณ์ต่างๆได้อีกในอนาคต
นอกจากนี้ในส่วนของพนักงานของบริษัท Nokia ที่มีทั้งสิ้น 32,000คนจะโอนเป็นพนักงาน Nokiaทั้งหมดไม่ว่าจะพนักงานที่อยู่ในประเทศฟินแลนด์ หรือพนักงานในประเทศอื่นทั่วโลกแม้กระทั่งCEO Stephen Elopด้วยก็จะย้ายไปเป็นหัวหน้าทีมพัฒนาอุปกรณ์ภายใต้บ้านหลังใหม่ที่ชื่อ Microsoft และได้แต่งตั้ง RistoSiilasmaa ประธานบอร์ดบริหารของNokia ขึ้นรักษาการแทน

ก่อนหน้านี้ Nokiaได้ตกเป็นข่าวว่าจะมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง “Huawei”จากประเทศจีนสนใจที่จะซื้อกิจการทำให้หุ้นของบริษัท Nokia เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 11% เพราะที่ผ่านมาหุ้นNokiaไม่ค่อยเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนเท่าไรเนื่องจากยอดขายที่ต่ำลงส่งผลทำให้ Nokia ขาดทุนสุทธิเพิ่มมากขึ้นนั้นเอง แต่นอกจากหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้นยอดจำหน่ายSmart phoneอย่าง “Lumia” กลับมียอดขายที่ดีในไตรมาสที่ผ่านมาจึงทำให้ Windowphone เป็นที่จับตามองเพราะสามารถทำยอดขายได้มากกว่า Blackberry ได้แล้วในปัจจุบัน

วิเคราะห์จากบทความ

flickr:9715160514

จากบทความเรื่อง “ไมโครซอฟท์ทุ่ม 5.44 พันล้านยูโรฮุบธุรกิจมือถือโนเกีย” นี้สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้บริษัท Microsoft เป็นบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลกถือว่าเป็นผู้นำเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการของPC หรือDesktop computer การที่Microsoft ต้องการพัฒนาให้ก้าวทันกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปนั้น โลกที่ผู้บริโภคหันไปเล่นโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้นใช้ Desktop computer น้อยMicrosoftจึงจำเป็นต้องเปิดช่องทางการเติบโตเข้าสู่smart phone ถือว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งเพราะคนในปัจจุบันส่วนมากนอกจากการทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์แล้วยังเดินทางไปที่ต่างๆและต้องพึ่งพามือถือหรือระบบอินเตอร์เน็ทอยู่ตลอดเวลาเหมือนเป็นอวัยวะที่ 33 ของร่างกายก็เป็นได้ เพื่อให้สามารถสู้กับผู้นำตลาดSmart phone อย่าง Apple และ Google การที่หันไปซื้อ Nokia ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพราะNokiaก็เปรียบเหมือนกับคนแก่ที่มากประสบการณ์มีความเชี่ยวชาญและชำนาญเพื่อรอการถ่ายทอด และพัฒนาความรู้ไปปรับใช้นั้นเอง

flickr:9711927089

ต่อมาการที่ Microsoft เข้าซื้อ Nokia ในส่วนของ “Device และ Service”นั้นเป็นการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่โดยการยุบหน่วยธุรกิจทั้งหมดเข้าด้วยกันและเน้นการประสานงานที่ดีขึ้น โดยกล่าวว่า “Going forward, our strategy will focus on creating a family of devices and services for individuals and businesses that empower people around the globe at home, at work and on the go, for the activities they value most.” โดยจากคำกล่าวนี้ทำให้เราเข้าใจเป้าหมายของMicrosoft ที่ต้องการมุ่งเน้นในส่วนของModel business และกิจกรรมที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

การที่ Microsoft จะเข้าถึงDevice และ Service ของNokia นั้นเนื่องจาก Microsoft ต้องการหาฐานอุปกรณ์มือถือมารองรับเพื่อต่อกรกับยักษ์ใหญ่อย่าง Apple และ Google เป็นการลดความเสี่ยงที่จะเริ่มผลิตอุปกรณ์มือถือใหม่ด้วยตนเอง การเข้าไปซื้อบริษัทที่มากประสบการณ์อย่าง Nokia ที่มีความพร้อมด้วยวิชาความรู้ ช่องทาง และกลยุทธ์ต่างๆถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญของ Microsoft Phone เลยที่เดียวเพื่อเข้าไปแย่งส่วนแบบทางการตลาดได้อย่างดี
นอกจากนี้การที่ Microsoft เข้าซื้อ Nokiaนั้นทำให้เกิดประโยชน์มากมายในเรื่องของ ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า และความสัมพันธ์อันดีกับผู้ผลิตระดับโลก ซึ่งผลิตมือถือกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน รู้ถึงกระบวนการผลิตเพื่อช่วยลด learning curve ได้เป็นอย่างดีเหมือนเป็นการทุ่นแรงจากการเริ่มศึกษาใหม่ตั้งแต่แรกด้วยตนเอง และประเด็นต่อมาในส่วนของช่องทางการขายและสนับสนุนหลังการขายยังสามารถทำผ่านไปอีกหลายประเทศทั่วโลกซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาบริษัทให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น

ต่อมาในส่วนของService ยิ่งเป็นการเสริมกำลังทัพให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นได้อีกเป็นเพิ่มทางเลือกให้แก่ตัวเองเพราะโดยปกติแล้ว Microsoft จะมี Skype, Outlook และ Bing อยู่แล้วแต่เมื่อได้ Here เข้ามาช่วยเพิ่มความเข้มแข็งก็ทำให้ Microsoft เกิดความน่าสนใจในความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้นจากเดิมที่มี Google Mapเป็นแก่นนำพอมี Here เราก็สามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาDevice ต่างๆให้ครบคลุมที่เป็นอยู่มากขึ้นเช่นเข้าไปในส่วนของระบบนำทางบนมือถือ หรืออุปกรณ์ภายในรถมากขึ้น

ต่อมาจากที่Microsoft ประกาศซื้อมือถือ Nokia ส่งผลทำให้หุ้นของ Microsoft ตกลงจากเดิมประมาณ 6% แต่ในทางกลับกันนั้นหุ้นของNokiaซึ่งในปี2012ไม่ค่อยดีนักขาดทุนถึง $4พันล้านเหรียญกลับพุ่งสูงขึ้นถึง 45% เพราะการขายธุรกิจครั้งนี้ของNokia ทำให้เกิดกำไรต่อบริษัทมากขึ้นแต่นักลงทุนส่วนมากไม่ค่อยเห็นด้วยกับการซื้อกิจการดังกล่าวทำให้หุ้นของ Microsoftนั้นไม่ค่อยดีอย่างที่ควร การที่บริษัท Microsoftซื้อ Nokia อาจจะเล็งเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจในอนาคตของ Mobile internet มากขึ้นเพราะถ้า Microsoft ไม่ก้าวเข้าไปสู่ตลาด Device ที่มีขยายตัวมากมีอัตราการเติบโตที่สูงอย่างมือถือเพื่อทดแทนอุปกรณ์เก่าอย่าง PC ในระยะยาวอาจจะส่งผลเสียต่อ Microsoft ก็เป็นได้

flickr:9711927157

จากการที่วิเคราะห์บทความดังกล่าวนั้นได้ทำให้เล็งเห็นที่การร่วมกลุ่มเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมากขึ้นในกรณีศึกษานี้มีการร่วมมือกันเพื่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่มองว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจที่ควรศึกษา อาจส่งผลให้ผู้ครองอำนาจอย่าง Apple และ Google ต้องออกมาหาแผนรองรับที่จะเกิดขึ้น การที่Microsoft และ Nokia จะผลึกกำลังเพื่อขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดทางด้าน Deviceได้อีกครั้งอาจจะต้องใช้เวลาในการพัฒนา Windows phone ให้มีความน่าสนใจ ทำให้เกิดความแตกต่างที่แปลกใหม่ไปจากเดิม แต่สิ่งที่ Nokiaและ Microsoft มีเหมือนเป็นการเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปของกันและกัน Nokia มีอุปกรณ์มือถือ มีช่องทางการจัดจำหน่าย มีฐานผู้ผลิตที่เหนียวแน่นแต่ขาดการเปลี่ยนแปลงปรับตัวให้ทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ในกลับกัน Microsoft มีความชำนาญในเรื่องระบบปฏิบัติการ มีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถืออย่างมาก แต่ยังขาดอุปกรณ์ Device ที่จะเข้าถึงกลุ่มคนได้ง่ายขึ้นการจับมือกันครั้งนี้อาจจะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ของอุตสาหกรรม IT นั้นเอง

อ้างอิง :http://www.blognone.com/node/48182
http://www.blognone.com/node/46306
http://pantip.com/topic/30940575
http://techcrunch.com/2013/09/03/why-microsoft-had-no-choice-but-to-purchase-nokias-handset-business/

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License