023

ลำไยไฮเทค

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้นำองค์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการลำไยอย่างครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงระบบการจัดการด้านการตลาด ทั้งนี้เพื่อเป็นต้นแบบของระบบการบริหารจัดการผลไม้เพื่อการส่งออกอย่าง ยั่งยืน แต่เนื่องด้วยปัจจุบันการส่งออกผลไม้ของไทยประสบปัญหาด้านคุณภาพและขาดการ จัดการอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้เกิดความผันผวนทางด้านราคาของผลผลิต ดังนั้นกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้มีการทำแผนบูรณาการเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการผลไม้ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ โดยใช้ฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัฒกรรม ซึ่งได้จัดทำโครงการนำร่องในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ 5 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยาและน่าน เพื่อสร้างโอกาสด้านการตลาดและรวมไปถึงการเปิดตลาดใหม่ อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การแข่งขันอย่างเสรีจากการเปิด เขตเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งโครงการนี้ได้มีการทำการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำไปจนถึงปลายน้ำ

1. ระบบต้นน้ำ ได้นำระบบสารสนเทศ ภาพถ่ายดาวเทียมประยุกต์ใช้เพื่อจัดโซนนิ่งสวนลำไย รวมถึงการลงทะเบียนเกษตร การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรเพื่อเป็นประโยชน์ในการรับรองมาตรฐาน GAP(good agricultural practice) จากกรมวิชาการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดความรู้ตั้งแต่เทคโนโลยีก่อนการเก็บเกี่ยว ระยะเก็บเกี่ยวผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมกับการแจ้งข้อมูลให้กับเกษตรกรผ่านระบบSMSและสื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเกี่ยวกับองค์ความรู้52สัปดาห์

2. ระบบกลางน้ำ เน้นการนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงคุณภาพโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ให้ได้มาตรฐานในลำไยสด เทคโนโลยีการปรับปรุงคุณภาพห้องอบแห้งและารประหยัดพลังงานสำหรับลำไยอบแห้ง รวมไปถึงเทคโนโลยีการยืดอายุของผลผลิตโดยใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นฟิล์มบรรจุ ภัณฑ์แอคทีฟ ซึ่งสามามารถยืดอายุการเก็บรักษาลำไยสดได้ถึง 30 วัน ภายใต้อุณหภูมิ 2-5 องศาเซลเซียส โดยตัวฟิล์มมีคุณสมบัติเด่นคือยอมให้ออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่าน ได้ในปริมาณที่เหมาะสมกับการหายใจของผักผลไม้ อีกทั้งยังรวมไปถึงการแปรรูปเพื่อการสร้างมูลค่าอีกด้วย

3. ระบบปลายน้ำ เน้นการควบคุมคุณภาพผลผลิตลำไยที่เก็บจากสวน พร้อมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถตรวจสอบย้อนกลับผ่านระบบ QR code รวมถึงการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตลาดลำไยที่อาศัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ในต่างประเทศ

จากข่าวข้างต้นนั้นพบว่าในช่วงต้นน้ำและปลายน้ำนั้นจะใช้ข้อมูลร่วมกัน เพราะถ้ามองเริ่มจากปลายน้ำนั้นในระบบ QR code นั้นจะทำการตรวจสอบย้อนกลับได้นั้นต้องอาศัยข้อมูลที่ทำการเก็บรวบรวมในระบบ ต้นน้ำนั้นเอง ซึ่งตอนนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นได้มีโครงการ VC-9 โครงการระบบสารสนเทศสนับสนุนอุตสาหกรรมลำไยภาคเหนือซึ่งเป็นโครงการที่ใช้ ข้อมูลเกษตรกรชาวสวนจากจังหวัดนำร่อง โดยโครงการนี้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. พัฒนาระบบการตรวจสอบข้อมูลรายแปลงเกษตรกร เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการลงพื้นที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

2. พัฒนาระบบพยากรณ์ผลผลิตลำไย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามและรายงานผลข้อมูลเชิงสถิติ และนำข้อมูลมาใช้ในการสนับสนุนการบริหารจัดการลำไย
qshot_0001_resize.jpg
ซึ่ง ถ้าการพยากรณ์นี้สามารถทำให้ได้แม่นยำจะถือเป็นการดีไม่น้อยเพราะเนื่องมา จากเกษตรชาวสวนส่วนใหญ่มักจะขายผลผลิตในรูปแบบของการเหมาให้ผู้รับเหมาเพื่อ เก็บผลผลิตอีกทอดหนึ่ง โดยตัวชาวสวนเองมักจะคาดคะเนในเรื่องของผลผลิตในไร่ไม่ค่อยเป็น ซึ่งราคามักจะถูกกำหนดจากผู้เหมาสวนก่อนจากนั้นก็ต่อรองกันไปตามนั้น นั่นเท่ากับว่าชาวสวนค่อนข้างเสียเปรียบมิใช่น้อยจึงทำให้ผลประโยชน์ไปตก อยู่ที่ผู้เหมาสวน เนื่องจากชาวสวนมีเพียงข้อมูลที่ว่าปีที่แล้วขายไปเท่าไหร่และยึดไม่ให้ราคา ที่ได้ต่ำไปกว่านี้เพียงเท่านั้นในสำหรับชาวสวนที่เคยทำการขายมาแล้ว ส่วนชาวสวนที่ไม่เคยทำการขายมาก่อนมักจะทำการเปรียบเทียบจำนวนต้นและขนาดต้น กับสวนของชาวสวนอื่นที่เคยขายมาก่อนหน้านี้แล้วเพียงเท่านั้น ดังนั้นระบบการพยากรณ์นี้ก็จะทำให้ชาวสวนทราบปริมาณผลผลิต บวกกับทราบราคาตลาดก็จะไม่ทำให้ชาวสวนเสียผลประโยชน์แก่ผู้รับเหมาสวนได้

3. พัฒนาระบบส่งข้อความ SMS เพื่อใช้เป็นเครื่องมือแจ้งองค์ความรู้เกี่ยวกับการปลูกลำไยสำคัญตลอดระยะเวลา 52 สัปดาห์
ซึ่ง ตรงในส่วนนี้ได้มีการถ่ายทอดข้อมูลตั้งแต่ระยะเก็บเกี่ยวโดยจะดำเนินการ ติดตามผลจากหน่วยกลางผ่าน SMSและภาพถ่าย ส่วนระยะเก็บเกี่ยวนั้นจะเป็นการตรวจสอบคุณภาพสวน พร้อมทั้งเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตที่ได้และแผนการนำลำไยเข้าสู่ระบบ การรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึงก็จะทำให้เกษตรกรได้องค์ความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาการผลิตลำไย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการตัดแต่งช่อ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการกำจัดศัตรูพืช เหมือนได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะ โดยในปัจุบันที่เป็นอยู่เกษตรกมักจะมีการทำตามๆกันโดยยึดจากสวนของชาวสวนคน ไหนที่มียอดหรือปริมาณผลผลิตที่สูงในแต่ละปี โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอย่างอื่นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นสภาพดิน ปริมาณน้ำ ความพร้อมของลำต้น ซึ่งบางทีในการทำตามชาวสวนอื่นนั้นอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยสิ้นเปลืองไป เลยก็เป็นได้

4. พัฒนาระบบ QR code เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบย้อนกลับค้นหาแหล่งผลิตรวมไปถึงสวนที่เพาะ ปลูกได้ทันที แม้ว่าผู้บริโภคปลายทางจะอยู่ที่ใดก็ตาม

qshot_0000_resize.jpg

ซึ่งแท้ที่จริงแล้วระบบนี้เป็นการประยุกต์มาจากการซอฟแวร์เดิมที่มีอยู่ โดยมีการทำงานบนระบบ Android ที่ใช้เป็นต้นแบบและใช้งานได้จริงในกระทรวงสาธารณสุขหรือที่เรียกกันว่า FFC(family folder collector) และยังมีการนำไปเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการคุณภาพข้าวไทยด้วย Mobile GAP Assessment ซึ่งโปรแกรมที่ผสมผสานระหว่าง GPS และ Google Map เข้าด้วยกัน แทนการบันทึกข้อมูลด้วยกระดาษและเก็ไว้ภายในแฟ้มเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งการจัดทำระบบนี้ถือว่าเป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกและง่ายในการลง พื้นที่เพื่อไปทำการตรวจสอบหรือเก็บข้อมูลของเจ้าหน้าที่ อีกทั้งถ้าระบบนี้ออนไลน์ไปทั่วประเทศตัวเกษตรกรเองก็ไม่ต้องทำการกรอก ข้อมูลที่ซ้ำซ้อนเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น การขอมาตรฐาน GAP ต่อจากปีก่อนหน้านี้ ก็สามารถดึงข้อมูลนี้มาใช้ได้เลย อีกทั้งยังส่งผลดีในเรื่องของการทวนกลับของลำไยเมื่อมีการส่งออกไปยังต่าง ประเทศและยังเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นในผักผลไม้ในไทยมากขึ้น และยังเป็นทำให้เกษตรจัดทำระบบมาตรฐาน GAP ได้ง่ายขึ้น หรือแม้กระทั่งในส่วนของโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือโรงอบแห้งได้รับตรงใน ส่วนมาตรฐาน GMP ได้ง่ายขึ้นด้วยทั้งนี้เนื่องมาจากข้อมูลที่มีนั้นทำให้สามารถดึงข้อมูลมา ใช้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นนั่นเอง เนื่องในปัจจุบันการจัดทำทั้งสองมาตรฐานนั้นยังไม่ครอบคลุมทุกสวนและโรงรม หรือโรงอบแห้ง ทั้งนี้ปัญหาอาจหลายอย่างเช่น เกิดจากการความไม่เข้มงวดของเจ้าหน้าที่จนกระทั่งรัฐบาลจีนและอินโดนีเซีย ออกมาเตือนถึงปริมาณของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เกินจากมาตรฐาน(50 ppm) ว่าถ้ายังคงเป็นแบบนี้คงจะต้องยกเลิกการส่งออก นั่นเท่ากับว่าสร้างความเสียหายต่อเกษตรอย่างมากเลยทีเดียวเพราะจีนและ อินโดนีเซียถือว่าเป็นตลาดอันดับหนึ่งและอันดับสองตามลำดับของอุตสาหกรรมการ ส่งออกลำไย เนื่องจากความไม่เข้มงวดของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเท่าไหร่จึงทำให้โรงรมมีการ รมซัลเฟอร์ไดออกไซด์เพียงเพื่อการตรวจสอบเท่านั้น แต่หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเสร็จก็จะนำมาทำการรมเพิ่มอีก หรืออาจเกิดจากการไม่ทราบถึงผลเสียและส่วนของการรมกำมะถันที่เกินมาตรฐาน นั้น ว่าหากเกิดทำจะส่งผลเสียต่อตัวเองและอุตสาหกรรมส่งออกอย่างไร อีกอย่างในแบบฟอร์มขอเป็นผู้ประกอบการโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์นั้นจะต้องใส่ หมายเลย GAP ของสวนลำไยต่างๆ นั้นก็เท่ากับว่าผู้ประกอบการต้องกรอกข้อมูลที่เป็นเท็จลงไป เพราะในความเป็นจริงโรงรมก็ไม่ทราบหรอกว่าแท้จริงแล้วในอนาคตข้างหน้า เกษตรกรรายไหน จากสวนไหน หรือแม่กระทั้งพ่อค้าแม่ค้าคนกลางที่นำมาขายให้โรงรมมาจากสวนไหนบ้างเท่ากับ ว่าถ้าเราทำการตรวจสอบย้อนกลับก็จะไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริงเลย ส่วนในเรื่องของมาตรฐาน GAP ที่ยังไม่คลอบคลุมทุกสวนของเกษตรกรทุกรายนั้นน่าจะเป็นผลมาจากการขาดความรู้ ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดทำมาตรฐาน อีกทั้งเกษตรกรยังมองว่านอกจากเสียเวลาแล้วยังเสียทั้งต้นทุนในเรื่องของการ ปรับปรุงสวนเพื่อให้ได้ตรงตามมาตรฐาน ซึ่งจะมองเห็นแต่ผลเสียไปซะส่วนใหญ่ ซึ่งเกษตรกรไม่รู้สึกถึงความแตกต่างของการที่สวนตนเองได้รับมาตรฐาน มองเพียงว่าได้หรือไม่ได้มาตรฐานก็ยังคงขายผลผลิตได้เหมือนกัน และถ้าระบบนี้ได้มีการนำมาใช้จริงแล้วนั้นจะถือเป็นการดีเลยทีเดียวเพราะถือ ว่าเป็นการยกระดับของเกษตรกรและโรงรมหรือโรงอบให้ได้มาตรฐานการส่งออก และเนื่องด้วยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้จึงทำให้เกษตรกรและโรงรมหรือโรงอบก็ ต้องทำตามข้อบังคับของมาตรฐานที่วางไว้ ทั้งนี้ในความเป็นจริงน้อยมากที่เกษตรกรจะนำลำไยมาขายให้แก่โรงรมหรือโรงอบ แห้งเองส่วนใหญ่จะเป็นในส่วนของผู้รับเหมาเก็บเกี่ยวหรือพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง ที่คอยรวบรวมจากชาวสวนแต่ละราย ทั้งนี้ระบบนี้อาจมีการนำมาใช้ตั้งแต่ระบบต้นนั้นคือมี QR Code ของแต่ละสวน เช่นพ่อค้าแม่ค้าคนกลางเมื่อทำการซื้อลำไยจากชาวสวนก็อาจต้องถ่ายรูปของ QR code ของสวนนั้นที่ทำการซื้อเพื่อส่งต่อไปยังโรงรมหรือโรงอบแห้งที่นำไปขาย ก็จะทำให้ง่ายและข้อมูลที่ตรวจสอบย้อนกลับมาถูกต้องแม่นยำ

5. พัฒนาระบบศูนย์บริการข้อมูลลำไย (call center) เพื่อใช้ในการอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรที่ต้องการสอบถามปัญหาเกี่ยวกับ ลำไยในการเตรียมดิน การตัดแต่งทรงพุ่ม การป้องกันโรคจากแมลง โดยใช้ความรู้จากนักวิชาการถ่ายทอดเรียบเรียงออกมาเป็นระบบคำถามและคำตอบที่ สั้นกะทัดรัด ฟังแล้วเข้าใจง่าย

6. พัฒนาระบบการเคลื่อนย้ายแรงงาน เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการด้านแรงงานผู้เก็บลำไยให้มีความเพียงต่อ ปริมาณผลผลิตของแต่ละพื้นที่ปลูกลำไย ตรงจุดนี้ในเรื่องของแรงงานควรมีการทำการพัฒนาในเรื่องของคุณภาพของแรงงาน ด้วยเนื่องจากในปัจจุบันแรงงานการเก็บลำไยจะเป็นระบบเหมา โดยจ่ายผลตอบแทนเป็นตะกร้าละเท่าไหร่ นั้นคือจะมีกลุ่มแต่ละกลุ่มก็จะแบ่งหน้าที่ คนเก็บจากต้น คนเดินตะกร้าจากคนที่เก็บจากต้นมายังผู้ที่เด็ดใบ คัดลำไยลูกที่เน่าเสีย คัดเกรด และบรรจุลงตะกร้าขาว(กรณีส่งออกประเทศจีนและอินโดนีเซีย) ซึ่งทำให้พบกับปัญหาที่ว่าเกรดที่คัดออกมานั้นยังมีการผสมปนกันอยู่หรือไม่ มีการแยกเกรดที่ชัดเจน เนื่องด้วยความเร่งรีบเพื่อที่จะได้จำนวนตะกร้าที่บรรจุเสร็จแล้วได้เยอะ ทำให้ไม่อยากเสียเวลาตรงในส่วนของการคัดเกรดซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้าง ช้า จึงทำให้คุณภาพของลำไยตะกร้านั้นๆก็ต่ำลง

7. ลงพื้นที่เพื่อเก็บพิกัดโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตรเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสนับสนุนกำหนดพิกัดทางภูมิศาสตร์ให้ กับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน)

อ้างอิง
www.nstda.or.th/news/12850-mtec
http://www.oae.go.th/oae_report/export_import/export_result.php
http://www.thaifruitassociation.com/Default.aspx?pageid=1&QuestionID=209
http://thailongan.org/forecast.php
http://thailongan.org/farm_map_view.php
http://www.nectec.or.th/index.php/2011-07-08-09-17-36/2011-07-28-11-09-18/3016-เนคเทค-แอพ-บริหาร-ข้าว-ไทย.html
http://service.nectec.or.th/project0/pgShowPrj.php?chrFlg01=1&chvCodPrj=P1300588&color=brown
http://www.kstation.tv/index.php
https://www.google.co.th/search?q=โครงการ+vc9&ie=UTF-8&oe=UTF-8&hl=en&client=safari#hl=en&q=ชูนวัฒกรรม+เพิ่มสินค้าการส่งออกสินค้าการเกษตร

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License