066

Intel proposes new standard to light up data transfers

อินเทลนำเสนอมาตรฐานใหม่ในการถ่ายโอนข้อมูลผ่านแสง

internet_opic_lights-100050155-large.jpg

อินเทลกำลังพัฒนาการถ่ายโอนข้อมูลให้เร็วขึ้นระหว่างเซิร์ฟเวอร์โดยใช้แสงและเลเซอร์ และเสนอให้มีการเชื่อมต่อกันระหว่างแสง ที่เรียกว่า MXC ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนวิถีของเซิร์ฟเวอร์และการดำเนินการในคลังเก็บข้อมูล

ผู้ผลิตชิปได้ปล่อย MXC (การติดต่อกันผ่านระบบแสงออปติค) ซึ่งถือได้ว่าจะเป็นมาตรฐานขั้นต่อไปเกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบแสงออปติคซึ่งจะช่วยทำให้การสื่อสารเร็วขึ้น ความเร็วในการสื่อสารด้วยแสงนี้ทำให้มีคุณสมบัติที่สามารถรองรับการสื่อสารที่มีแถบความถี่กว้างขึ้นมาก ทำให้เร็วขึ้นมากกว่าที่จะใช้แบบสายไฟแบบเดิมที่มีอยู่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

การสื่อสารโดยใช้แสงออปติคนั้นสามารถรองรับความเร็วได้ถึง 1.6 terabits ต่อ วินาที และมีขนาดเล็กมากกว่าตัวเชื่อมต่อที่ใช้ในปัจจุบัน และสัญญาณการส่งผ่านแสงออปติคนั้นมีระยะทางถึง 300 เมตร ซึ่งทำให้อัตราการรับส่งข้อมูลรวดเร็วขึ้น

อินเทลได้พัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลความเร็วเหนือคลื่นแสง และนำระบบออปติคมาใช้ก่อนในชื่อว่า Thunderbolt interconnect ซึ่งออกแบบมาเพื่อรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่อง PC และ อุปกรณ์รอบข้างในอัตราความเร็ว 10 Gbps และทางอินเทลได้ประกาศว่าจะมี Thunderbolt 2 ที่ซึ่งจะมีอัตราส่งผ่านข้อมูลเร็วขึ้นเป็น 2 เท่า และจะนำออกมาใช้ในเดือนหน้านี้

Intel_468.gif

นอกจากนี้อินเทลยังได้วิจัย Silicon photonics มากกว่า 10 ปี โดยตั้งใจที่จะผลักดันให้เป็นเทคโนโลยีในคลับเก็บข้อมูล อินเทลได้กล่าวว่า ระบบออปติค จะดำเนินงานที่เมนบอร์ดและ rack levels ซึ่งจะทำให้การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างที่เก็บข้อมูลเร็วขึ้นถึง 100 Gbps และยังมีการแสดงต้นแบบสถาปัตยกรรมความสามารถของชุดเซิฟเวอร์ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลโดยใช้ระบบออปติค เซิร์ฟเวอร์ใช้ silicon switches ของอินเทล และสามารถทำงานร่วมกับ Intel's Xeon และ ชิป Atom server

แต่อย่างไรก็ตาม MXC ไม่สามารถที่จะเข้ามาแทนที่ระบบเน็ตเวิร์คแบบเก่า อย่าง Ethernet โดยทันทีได้ และความท้าทายของระบบออปติคนี้ คือการทำให้มีต้นทุนที่ต่ำ และสร้างความน่าเชื่อถือได้ และจากที่ต้องการต้นทุนต่ำ ก็สะท้อนไปยัง Thunderbolt ว่าใช้สายเคเบิลออปติคซึ่งแพงกว่าสายเคเบิลทองแดง

เนื่องจากระบบนี้มีอุปกรณ์ขนาดเล็ก จึงเหมาะที่จะนำมาใช้กับคลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ที่มีเซิร์ฟเวอร์เป็นพันๆตัว และเมื่อต้องการที่จะเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์บน Rack level ควรนำระบบออปติค อย่าง MXC มาแทนระบบการเชื่อมต่อภายในตัวเก่าเป็นอันดับแรกก่อน และระบบนี้ก็จะไปเชื่อมต่อกับ Ethernet switches ซึ่งจะทำให้การติดต่อสื่อสารนั้นเร็วขึ้น

จาก Silicon photonics อินเทลหวังที่จะเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานของเซิร์ฟเวอร์ในคลังเก็บข้อมูล การสื่อสารทางแสงทำให้มีแถบความถี่ที่กว้าง สามารถแยกการประมวลผล และแยกการจัดเก็บได้ ในขณะที่ลดต้นทุนของชิ้นส่วน โดยการรวมพัดลมระบายความร้อน และ แหล่งจ่ายไฟ (power supplies) แต่ตัวประมวลผล สวิตซ์ และชิ้นส่วนอื่นนั้นยังต้องทำงานร่วมกันบนระบบการจัดการกำลังไฟฟ้า protocol support ซึ่งจะทำให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

อินเทลกล่าวว่า ระบบออปติคสามารถรองรับ Protocol ได้หลายตัวสำหรับการถ่ายโอนข้อมูล รวมทั้ง InfiniBand Ethernet และ PCI-Express และ Thunderbolt ก็ยังสามารถใช้ร่วมกับ PCI-Express 2.0 and Display Port ได้อีกด้วย

บทวิเคราะห์

จากข่าวดังกล่าวที่มีการพัฒนาระบบการถ่ายโอนข้อมูลที่มีความรวดเร็วมากขึ้น จะส่งผลให้การสื่อสารต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเครื่องมือระบบต่างๆ ภายในองค์กรก็จะต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เช่น ตัวรับข้อมูล ตัวส่งข้อมูล Input output ต่างๆ เพื่อรองรับความเร็วที่จะเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น อุปกรณ์โทรทัศน์ หากมีการนำเข้ามาใช้ ภาพโทรทัศน์ก็จะมีความคมชัดมากขึ้น เพราะมีแถบความถี่ที่กว้างขึ้น การวาดภาพต่างๆ ก็จะสวยงามขึ้น ผู้ที่ต้องการให้ภาพมีความคมชัด ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เพื่อให้รองรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้หากกล่าวถึงระบบการสื่อสาร เมื่อก่อนนั้นมีการใช้สายเคเบิลธรรมดา แต่ในปัจจุบันเมื่อเปลี่ยนมาเป็นสายออปติค คุณสมบัติของสายออปติคในสายเดียวนั้น สามารถแบ่งช่องสัญญาณได้ออกเป็นหลายร้อยช่อง เนื่องจากมีแถบความถี่ที่กว้างขึ้น และถ้าหากมีระบบภายใน เช่น Internal Severs ที่มารองรับเพิ่มขึ้นอีก ก็จะทำให้เกิดความรวดเร็วมากขึ้นไปอีก ผู้ที่สามารถตามระบบเทคโนโลยีดังกล่าวได้ทัน ก็จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และรายได้ที่มากมายยิ่งขึ้น

การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 6 มิติ
ในยุคที่การแข่งขันมีความรุนแรง การมุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเพียงกลยุทธ์เดียวอาจส่งผลให้องค์กรไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที องค์กรที่ประสบความสำเร็จหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น มิใช่มุ่งเน้นกลยุทธ์เฉพาะเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่องค์กรเหล่านี้อาจเริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์เพียงกลยุทธ์เดียวในการแข่งขัน
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนั้นมาจากการใช้กลยุทธ์ 6 ประการด้วย ดังนี้

1. ความได้เปรียบจากการเป็นผู้เข้าสู่ตลาดรายแรก (customer market advantage) ประเด็นแรกที่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญคือการสร้างตลาดใหม่หรือเป็นผู้คิดริเริ่มใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าซึ่งการริเริ่มในสิ่งที่คู่แข่งยังไม่สามารถทำได้นั้นจะทำให้องค์กรปราศจากการแข่งขันซึ่งนับได้ว่าเป็นความได้เปรียบอย่างดีเยี่ยมและเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในอนาคต เช่น หากเรามีระบบการถ่ายโอนข้อมูลที่มีความรวดเร็วกว่าคู่แข่ง เมื่อเราคิดค้นผลิตภัณฑ์ได้ เราก็สามารถนำเข้าสู่ตลาดได้ก่อนคู่แข่ง ประชาสัมพันธ์ทางการตลาดได้ก่อนคู่แข่ง เป็นต้น

2. ความได้เปรียบในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง (product and service advantage) องค์กรใดก็ตามที่สามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีความโดดเด่น องค์กรนั้นถือได้ว่าเป็นองค์กรที่ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง หากผลิตภัณฑ์ของเรานั้นมีเวลาเป็นสิ่งสำคัญ เช่นการบริการ ถ้ามีเทคโนโลยีที่มีความรวดเร็ว สะดวกสบาย ก็จะทำให้บริษัทของเราโดดเด่นกว่าคู่แข่งได้

3. ความได้เปรียบในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ (Business system/value chain advantage) การบริหารกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เรียกว่าการบริหารห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ กิจกรรมทางธุรกิจจะเริ่มต้นจากการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตการขาย การตลาด การจัดจำหน่าย และการบริการหลังการขาย หากองค์กรธุรกิจมีความโดดเด่นในกิจกรรมทางธุรกิจ กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรนั้นมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเรื่องนั้น ๆ หลายองค์กรพยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยมุ่งเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจที่องค์กรถนัดและมุ่งการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้องค์กรนั้นมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน และกลายเป็นจุดแข็งหรือเอกลักษณ์ขององค์กรในที่สุด แนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่คุณค่า ก็คือการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดี และรวดเร็ว ในบางครั้งองค์กรจำเป็นจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างกรใหม่ เพื่อปรับรูปแบบ และระบบการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

4. ความได้เปรียบของแหล่งทรัพยากร (System assets / resources advantages) ทรัพยากรขององค์กรประกอบไปด้วยสินทรัพย์ที่ตัวตน เช่น ผลิตภัณฑ์และอาคาร และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ ตราสินค้า และชื่อเสียงขององค์กร รวมทั้งระบบเทคโนโลยีภายในองค์กร หากบริษัทมีความได้เปรียบในด้านระบบเทคโนโลยีที่มีความรวดเร็ว ทันสมัย ใช้งานได้ง่าย ก็ถือได้ว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอีกทางหนึ่ง

5. ความได้เปรียบในเรื่องพันธมิตร (Partner advantage) การมีพันธมิตรที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้องค์กรสามารถพัฒนาธุรกิจอย่างรวดเร็ว หลายองค์กรพยายามค้นหาคู่ค้าเพื่อสร้างเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจระยะยาว เช่น การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ซึ่งระบบดังกล่าวอาจต้องมีการนำเทคโนโลยี เข้ามาใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูล และประมวลผล รวมทั้งวิเคราะห์ เพื่อสร้างกิจกรรมให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ถ้าหากระบบดังกล่าวไม่รองรับก็อาจจะทำให้ไม่สามารถทำได้ และถ้าหากคู่แข่งสามารถทำได้ เราก็จะเสียเปรียบในการแข่งขัน

6. ความได้เปรียบในการประหยัดต้นทุนในการผลิต (Scale and scope advantage) หากองค์กรมีการวางระบบการผลิตที่ดี สามารถลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลงได้ก็จะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เกิดการผลิตในลักษณะ Mass Product การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ก็สามารถช่วยให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ระบบดังกล่าวก็อาจจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น บริษัทก็ควรพิจารณาถึงผลกระทบในหลายๆด้านก่อนนำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้

August 14,2013
- http://cacm.acm.org/system/assets/0001/2896/082013_PCWorld_opticalfibers1.large.jpg?1377020236&1377020235
- http://cacm.acm.org/news/167046-intel-proposes-new-standard-to-light-up-data-transfers/fulltext

5510211066 R70

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License