Shanghai Fudan University develops new Li-Fi technology
flickr:10667849443

Shanghai's Fudan University has made a breakthrough with the development of "Li-Fi" technology, in which a one watt LED light bulb can help connect four computers to the internet simultaneously, reports the local Xinmin Evening News.
Compared with an average internet connection speed of 150 megabytes per second (Mbps), the new technology — which uses light as a carrier instead of traditional radio frequencies used for Wi-Fi — can also generate speeds as fast as 3.25 gigabytes per second (Gbps), the university said.
The current wireless broadband connections are expensive and less efficient, said Xue Xiangyang, a professor at the university's Department of Computer Science. He cited the example of wireless services in mobile phones, where although there are many base stations set up to help increase the signals, efficiency rates are as low as 5%. On the other hand, LED lighting, which could be used to replace traditional devices, can provide a safer and cheaper solution by adding a microchip on the bulb, Xu said.
The Shanghai Committee of Science and Technology asked Fudan University to work on key applications to help develop the information industry last year, and the university will now showcase ten computer samples using the new technology at the Shanghai Industry Expo next month.
Chi Nan, a member of the research team, said that Wi-Fi, which depends on an invisible wave, has the hidden danger of electromagnetic radiation, while with Li-Fi technology, the light spectrum is 10,000 times more than the radio spectrum and it does not require any new infrastructure construction. He added, however, that there is still a long way to go before Li-Fi can be used by thousands of households as it would take time to manufacture a series of products, such as the connection control and chip at a mass production level.
Chi said that Li-Fi should not be treated as a rival to Wi-Fi connection but rather as a complementary technology, as the Li-Fi connection may be disrupted when the light is blocked.

สรุปข่าว

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฟู่ตัน (Fudan University) ในกรุงเซี่ยงไฮ้ของประเทศจีน ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยี Li-Fi (หลอดไฟที่สามารถสร้างสัญญาณ Wi-Fi ได้) สามารถช่วยให้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับระบบอินเตอร์เน็ตได้
เมื่อเปรียบเทียบกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วเฉลี่ย 150 เมกะไบต์ต่อวินาที (Mbps ) เทคโนโลยี Li-Fi ที่อาศัยคลื่นความถี่จากแสง แทนที่จะเป็นคลื่นความถี่วิทยุแบบดั้งเดิม(ที่ใช้สำหรับ Wi-Fi)ในการรับส่งสัญญาณนี้ ยังสามารถสร้าง ความเร็วได้ถึง 3.25 กิกะไบต์ต่อวินาที ( Gbps )
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฟู่ตันอ้างว่า ปัจจุบันการเชื่อมต่อบรอดแบนด์ไร้สายมีราคาแพงและด้อยประสิทธิภาพ หลอดไฟ LED จะสามารถนำมาใช้แทนที่อุปกรณ์แบบดั้งเดิม มีความปลอดภัยและราคาถูก โดยตัวหลอดไฟมีการติดไมโครชิปเพื่อรับส่งและประมวลผลสัญญาณ
ทีมวิจัยกล่าวว่า Wi-Fi ที่อาศัยคลื่นความถี่วิทยุมีอันตรายซ่อนอยู่จากรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ในขณะที่เทคโนโลยี Li - Fi จะไม่มีปัญหาเรื่องนี้ แต่ Li -Fi ไม่ควรจะถือว่าเป็นคู่แข่งกับการเชื่อมต่อ Wi-Fi แต่เป็นเทคโนโลยีที่สมบูรณ์แบบเช่นเดียวกัน การเชื่อมต่อ Li -Fi อาจจะหยุดชะงักเมื่อไม่มีแสง
อย่างไรก็ตามที่คงต้องใช้ระยะเวลาอีกนานก่อนที่ Li -Fi จะสามารถนำมาใช้ โดยผู้ประกอบการต่างๆ ต้องใช้เวลาในการผลิตชุดของผลิตภัณฑ์ เช่น การควบคุมการติดต่อสื่อสารและชิปที่ในระดับการผลิตจำนวนมาก ตอนนี้จะยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาและยังไม่สามารถผลิตขายได้อย่างเต็มรูปแบบ

บทวิเคราะห์

การสนับสนุนให้มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตยังคงเป็นความพยายามของบริษัทและองค์กรต่างๆ ทั่วโลก เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข่าวสาร ความรู้ และส่งเสริมให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจในภาพกว้าง ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์จากจีนได้เปิดประตูบานใหม่ด้วยการประดิษฐ์หลอดไฟที่สามารถทำตัวเป็นจุดส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตเหมือน Wi-Fi ที่เราคุ้นเคยกันดีได้แล้ว
...อันดับแรกมาทำความรู้จักกับ Wi-Fi กันก่อน...
Wi-Fi ( ย่อมาจาก wireless fidelity ) หมายถึงชุดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สามารถใช้ได้กับมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (WLAN) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11 เดิมที Wi-Fi ออกแบบมาใช้สำหรับอุปกรณ์พกพาต่างๆ และใช้เครือข่าย LAN เท่านั้น แต่ปัจจุบันนิยมใช้ Wi-Fi เพื่อต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยอุปกรณ์พกพาต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ
ลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์
Wi-Fi ได้กำหนดลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ภายในเครือข่าย WLAN ไว้ 2 ลักษณะคือโหมด Infrastructure และโหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer
1. โหมด Infrastructure
โดย ทั่วไปแล้วอุปกรณ์ในเครือข่าย Wi-Fi จะเชื่อมต่อกันในลักษณะของโหมด Infrastructure ซึ่งเป็นโหมดที่อนุญาตให้อุปกรณ์ภายใน WLAN สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ในโหมด Infrastructure นี้จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 2 ประเภทได้แก่ สถานีผู้ใช้ ( Client Station ) ซึ่งก็คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( Desktop, Laptop, หรือ PDA ต่างๆ ) ที่มีอุปกรณ์ Client Adapter เพื่อใช้รับส่งข้อมูลผ่าน Wi-Fi และสถานีแม่ข่าย ( Access Point ) ซึ่งทำหน้าที่ต่อเชื่อมสถานีผู้ใช้เข้ากับเครือข่ายอื่น ( ซึ่งโดยปกติจะเป็นเครือข่าย IEEE 802.3 Ethernet LAN ) การทำงานในโหมด Infrastructure มีพื้นฐานมาจากระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กล่าวคือสถานีผู้ใช้จะสามารถรับส่งข้อมูลโดยตรงกับสถานีแม่ข่ายที่ให้บริการ แก่สถานีผู้ใช้นั้นอยู่เท่านั้น ส่วนสถานีแม่ข่ายจะทำหน้าที่ส่งต่อ ( forward ) ข้อมูลที่ได้รับจากสถานีผู้ใช้ไปยังจุดหมายปลายทางหรือส่งต่อข้อมูลที่ได้ รับจากเครือข่ายอื่นมายังสถานีผู้ใช้
2. โหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer
เครือ ข่าย Wi-Fi ในโหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer เป็นเครือข่ายที่ปิดคือไม่มีสถานีแม่ข่ายและไม่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่าย อื่น บริเวณของเครือข่าย Wi-Fi ในโหมด Ad-Hoc จะถูกเรียกว่า Independent Basic Service Set ( IBSS ) ซึ่งสถานีผู้ใช้หนึ่งสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกับสถานีผู้ใช้อื่นๆในเขต IBSS เดียวกันได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านสถานีแม่ข่าย แต่สถานีผู้ใช้จะไม่สามารถรับส่งข้อมูลกับเครือข่ายอื่นๆได้

ในการพัฒนาเทคโนโลยีหลอดไฟที่ปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ที่ถูกเรียกว่า Li-Fi ซึ่งก็มีการทำงานคล้ายกับ Wi-Fi แต่มีข้อแตกต่างกันคือ Li-Fi อาศัยคลื่นความถี่จากแสง แต่ Wi-Fi จะใช้คลื่นความถี่วิทยุแบบที่ Wi-Fi ในการรับส่งสัญญาณ
จากการหาข้อมูลทำให้ทราบว่า Li-Fi แท้จริงแล้วเริ่มต้นได้ถูกคิดค้นขึ้นในปี 2011 โดยศาสตราจารย์ Harald Haas ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายแห่งมหาวิทยาลัย Edinburgh และศาสตราจารย์ท่านนี้ยังเป็นผู้บัญญัติศัพท์คำว่า "Light Fidelity" หรือ Li-Fi แล้วมหาวิทยาลัยฟู่ตันได้นำมาพัฒนาต่อยอด

flickr:10667850703
ศาสตราจารย์ Harald Haas แห่งมหาวิทยาลัย Edinburgh ผู้บัญญัติศัพท์ “Li-Fi”

ถึงแม้ว่าหลอดไฟที่สามารถสร้างสัญญาณ Wi-Fi (Li-Fi) ได้ ตอนนี้จะยังอยู่ในช่วงของการพัฒนา ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลทางเทคนิคมากนักและยังไม่สามารถผลิตขายได้อย่างเต็มรูปแบบแต่ถือว่าเป็นอีกก้าวที่จะช่วยให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น สามารถประยุกต์นำเอาของที่มีอยู่ใกล้ๆอย่างเช่นหลอดไฟ มาประยุกต์ใช้ในอีกแง่มุมหนึ่ง นอกจากจะต้องอาศัยการติดตั้งอุปกรณ์ด้วยวิธีเดิมๆ ซึ่งต้องใช้คนที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางในการติดตั้ง มีต้นทุนในการวางโครงข่ายและการจัดจำหน่ายอุปกรณ์ส่งสัญญาณ ซึ่งในอนาคตมีการพัฒนาต่อยอดให้มีระบบที่ดี จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้คนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศจีนเองซึ่งมีพื้นที่กว้างขวาง คนในเขตชนบทไม่ค่อยมีโอกาสเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากนัก
จุดแข็งของ Li-Fi ก็คือ ด้วยความที่ถูกพัฒนามาจากหลอดไฟ ราคาจึงค่อนข้างถูกและคนทั่วไปสามารถซื้อมาใช้งานได้สะดวกขึ้น แต่จุดอ่อนของ Li-Fi คือ ถ้าเกิดไฟดับสัญญาณการเชื่อมต่อก็จะหายไปด้วย
คงต้องรอดูกันต่อไปว่าเมื่อเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาออกมอย่างสมบูรณ์ คุณสมบัติต่างๆจะดีจริงอย่างที่ผู้พัฒนาได้พูดไว้หรือไม่ และประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นคือ หลอดไฟเป็นสิ่งที่มีอายุการใช้งานจำกัด ทีมนักวิจัยจะแก้ปัญหานี้อย่างไรเมื่อ Li-Fi ได้ถูกนำมาใช้งานจริง เพราะผู้ประกอบการหรือคนทั่วๆไปคงจะไม่ชอบใจนักกับการที่จะต้องคอยเปลี่ยนหลอดไฟอยู่เรื่อยๆ

แหล่งที่มา : http://www.wantchinatimes.com/news-subclass-cnt.aspx?id=20131018000044&cid=1204 , วันที่ 18 สิงหาคม 2556
อ้างอิง : http://www.bbc.co.uk/news/technology-24579776

น.ส. ธัญญาลักษณ์ หอมหยก รหัส 5510211013

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License