17

'ช่อง 7' รูดซิบปากกรณีถือหุ้นไขว้ 'จันทร์ 25'

11 ตุลาคม 2556

51s7M9.PNG

ช่อง 7 รูดซิบปากกรณีถือหุ้นจันทร์ 25 ขณะที่อมรินทร์ ฝาก กสทช.ดูคุณภาพ-ราคาโครงข่ายเป็นพิเศษ หลังชี้แจงผู้ประกอบการรายตัววันสุดท้าย…

เมื่อวันที่ 11 ต.ค. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดชี้แจงผู้ประกอบการที่ซื้อซองเอกสารวันสุดท้าย พร้อมให้ซักถามรายละเอียดและข้อสงสัยเป็นวันสุดท้าย โดยวันนี้มีผู้ประกอบการมาที่ตึก มนริริน ตรงข้ามสำนักงาน กสทช.จำนวน 10 ราย ได้แก่

JOhEmQ.PNG

บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด, บริษัท ไอ-สปอร์ต มีเดีย จำกัด (กลุ่มสามารถ+สยามสปอร์ต), บริษัท โมโนบรอดคาซท์ จำกัด, บริษัท โมโน เจเนอเรชั่น จำกัด, บริษัท โมโนทีวี จำกัด, บริษัท สปริงส์นิว เทเลวิชั่น จำกัด, บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด, บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด และบริษัท 3เอ.มาร์เก็ตติ้ง จำกัด โดยทั้ง 3 วัน (9-11 ต.ค.) มีผู้ประกอบการมาครบทั้ง 33 บริษัท 49 ซอง

นายโชคชัย ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด กล่าวว่า อยากให้ กสทช.ช่วยพิจารณาเรื่องคุณภาพโครงข่าย ราคาโครงข่าย และหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือมัสต์แครี่ (Must Carry) เป็นกรณีพิเศษ เพราะเป็นกฎ กติกา ที่ กสทช. กำหนดขึ้นมา

MwzLdI.PNG

สำหรับสัดส่วนรายการเป็นแบบช่องที่จะเข้าประมูล คือ รายการทั่วไป แบบความคมชัดสูง (HD) และรายการทั่วไปแบบมาตรฐาน (SD) ซึ่งมีทั้งผลิตเอง และร่วมกับรายอื่น พร้อมยืนยันเข้าประมูลทั้ง 2 ช่องแน่นอน

นายธีระวุฒิ กรีพานิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัท ไอ-สปอร์ต มีเดีย จำกัด กล่าวว่า วันนี้เรื่องหลักคือการถือหุ้นของกรรมการในกลุ่มเป็นหลัก ซึ่งยืนยันว่าบริษัทไม่มีปัญหา และเห็นด้วยที่ กสทช.เปิดชี้แจงรายบริษัท จะได้เข้าใจตรงกันตามวัตถุประสงค์ ขณะที่สัดส่วนรายการของช่องทั่วไป แบบมาตรฐาน (SD) ที่บริษัทจะเข้าประมูลนั้น เป็นข่าว 50-60% วาไรตี้ 20 และอื่นๆ 20%

DFgxa4.PNG

ส่วนราคาค่าเช่าโครงข่าย 4-5 ล้านบาท ในประเภท SD และ 15 ล้านบาทในประเภท HD นั้น ยังไม่สามารถบอกได้ว่าแพงหรือไม่ เพราะยังไม่รู้พื้นที่ครอบคลุมการให้บริการ แต่ยืนยันเข้าประมูลแน่นอน เพราะมีความพร้อม และมีสตูดิโออยู่ 5 แห่ง

นางสาววรวีร์ วูวนิช ตัวแทนจากบริษัท 3เอ. มาร์เก็ตติ้ง จำกัด กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมเพื่อยื่นซองเข้าประมูลในส่วนของบริษัทไม่น่าจะมีปัญหา เนื่องจากเป็นบริษัทขนาดเล็ก จึงทำให้โครงสร้างผู้ถือหุ้นไม่ซ้ำซ้อน ซึ่งการที่ กสทช.เปิดโอกาสให้บริษัทรายเล็กได้เข้าร่วมประมูลพร้อมกับให้คำแนะนำถือเป็นเรื่องที่ดี และหวังว่าการประมูลครั้งนี้จะโปร่งใส

3GRH4P.PNG

ตัวแทน บริษัท 3เอ.มาร์เก็ตติ้ง กล่าวต่อว่า ขณะนี้ค่อนข้างเตรียมพร้อมเรื่องคอนเทนต์รายการ โดย 50% จะเป็นรายการข่าวและสาระ และรายการทั่วไป 50% เนื่องจากบริษัทจะเข้าประมูลในช่องข่าว จึงต้องปฏิบัติตามกฎของ กสทช.อย่างเคร่งครัด ส่วนราคาค่าเช่า และการเลือกโครงข่าย ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในส่วนของช่อง 7 ที่มารับฟังคำชี้แจงและซักถาม กสทช.พร้อมกันทั้ง 2 บริษัท ที่ซื้อซองประมูลทีวีดิจิตอล คือ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ที่ซื้อซองช่อง HD และบริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น ซื้อซอง SD ปฏิเสธที่จะตอบคำถามกับสื่อมวลชน กรณีมีปัญหากับ บริษัท จันทร์25 จำกัด

qnZzyE.PNG

ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/tech/375631


วิเคราะห์ข่าว

เมื่อ 16 ก.พ. 2555 กสทช.ได้ประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบถึงกรอบนโยบาย แนวทาง การเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อม รองรับการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้

เบื้องต้น ได้กำหนดช่องรายการไว้ทั้งหมด 48 ช่อง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ บริการชุมชน 12 ช่อง บริการสาธารณะ 12 ช่อง โดย 2 ประเภทจะเป็นการให้ใบอนุญาตแบบวิธีการคัดเลือก (Beauty Contest) ส่วนบริการทางธุรกิจ 24 ช่อง จะใช้วิธีประมูล ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.)

ทีวีดิจิตอลบริการธุรกิจ 24 ช่องนั้น ถือเป็นช่องที่สำคัญ เพราะจะเป็นฟรีทีวี ที่ 22 ล้านครัวเรือนในประเทศไทยจะต้องได้รับชมอย่างเท่าเทียมกัน จากเดิมที่มีฟรีทีวีอยู่เพียง 6 ช่อง ถือเป็นธุรกิจผูกขาดและไม่หลากหลายเพียงพอ

24 ช่องธุรกิจที่จะนำออกประมูลนั้น แบ่งช่องรายการออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ รายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว 3 ช่อง, รายการข่าวสารและสาระ 7 ช่อง รายการวาไรตี้ทั่วไป เอสดี 7 ช่อง และรายการวาไรตี้ทั่วไป เอชดี 7 ช่อง

การเพิ่มช่องทีวี นอกจากจะเพิ่มทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้ชมแล้ว ยังจะทำให้เกิดการแข่งขัน ทำให้ค่าโฆษณาต่อนาทีลดลง คาดว่าจะทำให้บริษัทใหม่ๆที่เดิมไม่มีกำลังซื้อโฆษณาทางทีวี มีโอกาสมากขึ้น ทำให้ธุรกิจเล็กๆหรือ SME ได้เติบโต ขายสินค้าเข้าถึงสายตาผู้ชมโทรทัศน์ ซึ่งถือเป็นสื่อที่มีอิทธิพลและเข้าถึงคนในหมู่มากได้กว้างขวางที่สุด

การเกิดทีวีดิจิตอล จะสร้างปรากฏการณ์ให้กับตลาดผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ให้เข้าสู่ยุคทองอีกครั้ง รายการทีวีจะถูกบังคับให้ออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมงไปโดยปริยายเพื่อแย่งชิง Eyeball และไม่ใช่แค่การแข่งแพลตฟอร์มเท่านั้น แต่ยังต้องแย่งชิงช่วงเวลากลางคืนที่คนส่วนใหญ่ใช้เป็นเวลาเล่นอินเตอร์เน็ทด้วย ทำอย่างไรทีวีจะดึงกลุ่มคนเหล่านี้ที่มีปริมาณมากได้

ทีวีดิจิตอล เปรียบได้กับการเปิดประตูรับน้ำ 24 ประตู ที่ยังไม่มีมาตรวัดว่าน้ำจะไหลไปยังช่องทางใดและปริมาณมากน้อยขนาดไหน ดังนั้น คอนเทนต์จึงมีส่วนสำคัญสำหรับงบโฆษณาที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ผู้ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจสื่อโทรทัศน์มาก่อน โดยเฉพาะจากการบริหารสถานี โทรทัศน์ฟรีทีวี มีคอนเทนต์รายการที่แข็งแรง และมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันในธุรกิจทีวีดิจิทัลเมื่อเทียบกับผู้ประกอบการรายอื่น

ผู้ให้บริการคอนเทนต์ทุกรายจะยังไม่มีกำไรจากการดำเนินงานในช่วง 1–2 ปีแรก เนื่องจากรายได้ค่าโฆษณายังต้องใช้เวลาในการสร้างฐานผู้ชมและรอการวางโครง ข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ในขณะที่คาดว่าจะมีต้นทุนดำเนินงานเพิ่มขึ้นทันที เช่น ค่าตัดจำน่ายเงินประมูล และค่าเช่าโครงข่าย

ผู้ให้บริการช่องทีวี ดิจิตอลจะมีต้นทุนส่วนเพิ่มจากการลงทุนใหม่และมีแนวโน้มขาดทุน 1–3 ปีแรก ขณะที่มูลค่าเพิ่มจากธุรกิจใหม่จะเห็นผลบวกระยะยาว ส่วนบริษัทอื่นๆ ในกลุ่ม ICT ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์และไม่มีต้นทุนเพิ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ให้บริการวางระบบ

ผลตอบแทนจากการลงทุนธุรกิจทีวีดิจิตอลยังมีความไม่แน่นอนสูง ยังต้องติดตามข้อมูลในหลายประเด็น เช่น อัตราค่าโฆษณา แนวโน้มการเติบโตของอัตราการใช้เวลาโฆษณาซึ่งขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้ชม และความสามารถในการเข้าถึงครัวเรือนของทีวีดิจิตอล

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License