Online Privacy Is Dead

By Jose Pagliery @Jose_Pagliery October 17, 2013: 9:07 AM ET

flickr:10647178666

It's getting harder to remain faceless online. Even far-out measures of data encryption are under attack.
NEW YORK (CNNMoney)
These are dark times for online privacy.
The U.S. government is spying on its own citizens' online activities. The FBI was able to suss out and shut down the anonymous black market Silk Road. Even the Internet-within-the-Internet called the Tor network — the most secretive way to browse the Web — is being monitored by the National Security Agency.
Strong passwords and encrypted email services were never truly enough to protect users' online privacy. But recent revelations about government surveillance even throw into doubt the effectiveness of far-out measures of data encryption used by the most careful people surfing the Web.

Silk Road serves as a prime example. It operated as a hidden service on Tor, an anonymizing tool that helps users and sites keep their identities secret. Everyone buying and selling drugs, weapons and other illicit items on the site thought they couldn't be tracked.
But federal agents managed to track down a computer server Silk Road used, and the FBI monitored more than 1.2 million private communications on the site.
Related story: Facebook kills search privacy setting
If online privacy can't stand up to good, old-fashioned police work, it doesn't stand a chance against some of the more potent tools the government uses:
• The NSA figured out how to track down who's who on Tor by exploiting weaknesses in Web browsers, according to documents former NSA contractor Edward Snowden leaked to The Guardian — a bug that was only recently fixed.
• PRISM, the government's hush-hush mass data collection program, lets even low-level NSA analysts access email, chats and Internet phone calls.
The U.S. government issues frequent, secret demands for customer data from telecommunications companies. It's no wonder, then, that many have declared the death of online privacy.

flickr:10647157174

Shopping for LSD and AK-47s online
"Unfortunately, online anonymity is already dead," said Ladar Levison, founder of e-mail service LavaBit that closed its doors in the wake of the NSA's PRISM controversy. "It takes a lot more effort and skill than most have in order to keep your anonymity today."
Remaining unrecognizable and keeping conversations private online is immensely important. It's not just an issue for civil libertarians — online privacy is crucial for crime victims, whistleblowers, dissidents and corporations trying to keep secret the latest high-tech research.

The result has been tantamount to a cryptographic arms race. On one side are independent programmers usually writing free software. On the other are a dozen U.S. intelligence agencies supported by a $52.6 billion black budget.
And while some claim unbreakable encryption is coming, large-scale availability is still years away.
"It's an open question how much protection Tor or any other existing anonymous communications tool provides against the NSA's large-scale Internet surveillance," said Roger Dingledine, Tor's lead developer.
Still, Aleecia McDonald, a privacy expert at Stanford University's Center for Internet & Society, said there's still a benefit to guarding yourself with a network like Tor. At least you make it harder to get spied on.
"The NSA has to attack Tor users one by one, not en masse as they do with non-Tor users," she said.

มันเป็นเรื่องยากขึ้นทุกวันนะ ที่คุณจะกลายเป็นคนไร้ร่องรอยในโลกออนไลน์ ระบบลับทั้งหลายในปัจจุบันและในอนาคตกำลังถูกโจมตี
รัฐบาลของสหรัฐอเมริกากำลังสอดแนมพลเรือนของตนเอง ในกิจกรรมต่างๆในโลกออนไลน์ หน่วยสอบสวนกลางของสหรัฐ(FBI) เพิ่งได้ถอนรากถอนโคนตลาดมืดแห่งหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า SILK ROAD หรือ เส้นทางสายไหม หรือแม้แต่ระบบ Internet ใน Internet ที่มีชื่อว่า Tor Network ที่ได้ชื่อว่าเป็นเส้นทางลับที่สุดที่สามารถจะค้นหาสิ่งต่างๆใน Web ได้ ก็กำลังถูกตรวจ
นี่คือยุคมืดแห่งการควบคุมความลับ
สอบโดนเจ้าหน้าที่ทางด้านความมั่นคงของรัฐ
รหัสผ่านที่ซับซ้อน หรือแม้แต่อีเมล์ที่เข้ารหัสไว้ ก็ไม่สามารถที่จะป้องกันการเจาะข้อมูลได้จริง เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการเปิดเผยเกี่ยวกับ การควบคุมของรัฐบาลเกี่ยวกับการควบคุม ถึงขนาดที่ทำให้เกิดข้อสงสัยในเรื่องประสิทธิภาพของการ สร้างรหัสลับอย่างสุดยอดของข้อมูล ที่ถูกใช้งานโดยผู้ใช้เว็บไซต์ที่ระมัดระวังตัว
Silk Road เป็นตัวอย่างสำคัญที่ทำให้เราได้เห็นว่า ระบบปฏิบัติการของมันที่อยู่บน Tor ระบบที่ใช้ชื่อแฝงในการทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะปกปิดข้อมูลของตัวเอง ทุกคนในระบบจะซื้อขาย ยาเสพติด อาวุธ และของผิดกฎหมายอื่นๆเพราะเขาไม่สามารถจะถูกสะกดรอยตามได้ แต่ หน่วยสืบสวนของรัฐบาลกลาง (FBI) ก็ได้ติดตามคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Silk Road ได้ และใช้สอดส่องเรื่องส่วนบุคคลของคน 1.2 ล้านคนที่ใช้เว็บไซต์
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : Facebook
ถ้าความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ ยังไม่สามารถทำให้ดีได้ กับแค่งานตรวจสอบของตำรวจ มันก็คงไม่เหลือความเป็นส่วนตัวเลย ถ้ารัฐบาลจะใช้เครื่องมือที่มีศักยภาพในการเข้าถึงข้อมูล
“NSA ได้ทราบถึงวิธีที่จะติดตามว่าใครทำอะไร ใครเป็นใคร ในTor โดยค้นหาจุดบกพร่องใน Web browser” Edward Snowden ได้กล่าวไว้ใน The Guardian
PRISM โปรแกรมลับที่ เก็บรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ ของรัฐบาล ซึ่งมาจากการ เข้าถึงโดย NSA ไว้เก็บข้อมูลเช่น E-mail Chat และ การโทรศัพท์ ทาง Internet
รัฐบาลสหรัฐได้ใช้บริษัทสื่อสารมวลชนเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า
สิ่งเหล่านี้เป็นที่แน่ชัดว่า ความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ ได้ตายไปแล้ว
“โชคร้ายนะ ที่ การเป็นคนไม่มีตัวตนในโลกออนไลน์ มันไม่สามารถทำได้อีกแล้ว” Ladar Levinson ผู้ก่อตั้ง Email Service LavaBit ที่ต้องปิดประตูหนีการเกิดขึ้นของ NSA หรือ PRISM “มันต้องใช้ความพยายามและทักษะอย่างมาก ในการที่จะทำให้คุณเป็นคนไม่มีตันตนในโลกออนไลน์”
การที่ไม่เป็นที่จดจำต่อสาธารณะ หรือ การเก็บบทสนทนาไว้เป็นส่วนตัว เป็นเรื่องที่สำคัญมาก มันไม่ใช่แค่เรื่องเสรีภาพของพลเมือง แต่การละเมิดในลักษณะดังกล่าว อาจทำให้เรากลายเป็นเหยื่อทางอาชญากรรมได้ และมีผลกระทบรุนแรง ต่อผู้ที่ต้องการจะแสดงความเห็นของตนเอง(whistleblowers) หรือแม้แต่การแสดงความคิดเห็นที่ไม่ลงรอบกัน หรือแม้แต่บริษัทต่างๆที่ต้องการจะสงวนข้อมูลของตนเอง
ผลที่เกิดขึ้นจากการละเมิดความเป็นส่วนตัวดังกล่าว เหมือนกับการก่อสงครามระหว่างสองฝ่าย ฝ่ายแรกก็คือ นักสร้างโปรแกรม ที่ส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมฟรี!! อีกข้างหนึ่ง ก็คือ เจ้าหน้าที่รัฐบาลที่ได้รับเงินสนุนลับๆประมาณ 52600 ล้านเหรียญสหรัฐ
แต่หลายฝ่ายก็ออกมาบอกว่า กำลังมีระบบที่ไม่มีใครสามารถปลดล็อกได้ พัฒนาขึ้นมาใช้ แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่ยังต้องรออีกหลายปีสำหรับการผลิตในปริมาณจำนวนมาก

“มันเป็นคำถามปลายเปิดนะ ที่จะบอกว่า Tor และบริษัทสื่อสารมวลชนต่างๆ มีการป้องกันทางข้อมูลที่จะถูกเจาะโดย NSA อย่างไร” Roger Dingledine ผู้พัฒนาของ Tor กล่าวไว้
Aleecia McDonald ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความเป็นส่วนตัว จาก Stanford University's Center for Internet & Society กล่าวว่า มันยังเป็นประโยชน์นะ ที่คุณจะใช้บริการของ Tor อย่างน้อยคอมพิวเตอร์ของคุณก็คงถูกเจาะข้อมูลยากขึ้น
“NSA ต้องเจาะข้อมูลของ Tor ที่ละคน ซึ่งยากกว่าพวกที่ไม่ได้ใช้บริการของ Tor” เธอกล่าว
บทวิเคราะห์
ช่วงนี้คงได้ยินข่าวที่ Edward Snowden อดีตลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานความมั่นคงของสหรัฐ ขอลี้ภัยไปอยู่ รัสเซีย พร้อมกับแบกข้อมูลความลับที่ต้องการจะแฉพฤติกรรมล้วงข้อมูลประชาชนของหน่วยข่าวกรองของสหรัฐ (CIA) และสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) ไปแฉให้ทั้งโลกได้รู้ ทำให้สหรัฐอเมริกาถึงกับหนาวๆร้อนๆกันเลยทีเดียว ทั้งนี้ นาย Edward ถูกตราหน้าจากรัฐสภา ว่าเป็นผู้ทรยศและมีโทษร้ายแรง

ที่มาของภาพ http://www.youtube.com/watch?v=5yB3n9fu-rM
นักวิเคราะห์หลายคนต่างประเมิณว่า เหตุการณ์นี้จะเป็นโทษอย่างมหาศาลต่อสหรัฐอเมริกา และมีความเสี่ยงกับระบบติดตามข้อมูลลับ ซึ่ง NSA ได้ใช้ในการติดตาม เพราะผู้ก่อการร้ายที่ทราบข้อมูลจากการที่ Edward นำมาแฉ จะทำให้สามารถรู้ช่องทางหลบหลีกการตรวจสอบของรัฐบาลสหรัฐได้
ในขณะเดียวกัน หลายฝ่ายก็กล่าวสนับสนุนการกระทำของนาย Edward ว่าเป็นการกระทำเพื่อมนุษยชาติ เพื่อปกป้องความเป็นสิทธิมนุษยชน ซึ่งประชาชนชาวลุงแซมหวงแหนยิ่งนัก
มุมมองทางฝ่ายรัฐบาลก็ยืนกรานว่าทำไปเพื่อเป็นการปกป้องอธิปไตยของประเทศ เพราะสิ่งที่ได้รับประโยชน์จากการล้วงข้อมูลประชาชนก็คือ การหยุดการค้าของเถื่อนทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ยาเสพติด อาวุธสงคราม ซึ่งจะเป็นโทษต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งผู้ที่จะได้รับผลกระทบก็คือประชาชนนั่นเอง
นอกจากนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ยังมีพฤติกรรมสอดแนมพันธมิตรของตนเอง ที่เป็นข่าวครึกโครมก็คือการสอดแนมทางโทรศัพท์ของฝรั่งเศสที่ Edward เอามาแฉซะหมดสิ้น ทำให้ความเป็นมิตรระหว่างสหรัฐและฝรั่งเศสถึงกับสะเทือน
ในมุมมองทางธุรกิจ ถือว่าเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับบริษัทที่มีข้อมูลอยู่ในระบบ IT ค่อนข้างมาก เพราะข้อมูลเหล่านั้น เป็นความลับ และไม่สามารถเปิดเผยต่อคู่แข่งได้ แต่รัฐบาลก็สามารถที่จะล้วงข้อมูลเหล่านั้นได้ทั้งหมด ลองคิดดูเล่นๆ ว่า หากรัฐบาลต้องการจะเล่นเกมการเมืองกับนักธุรกิจทั้งหลาย แค่เอาข้อมูลที่ล้วงมาไปขายก็อาจจะก่อให้เกิดผลเสียกับบริษัทคู่แข่งได้
เพราะสังคมโลกออนไลน์จริงๆแล้วเป็นสังคมที่นิรนาม หรืออย่างน้อยก็ควรจะเป็นเช่นนั้น หลายฝ่ายในโลกออนไลน์ต้องการพื้นที่ตรงนี้ ในการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งผิดกฎหมาย และไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งสามารถทำได้ในโลกออนไลน์อย่างไม่มีใครทราบ เป็นสังคม Anonymous แต่ถ้ามีการล้วงข้อมูลอย่างที่สหรัฐได้ทำกับประชาชนของตนเอง Internet จึงดูจะเสียความเป็นประโยชน์ไปมาก ในมุมมองที่ว่า Internet is Privacy หรือ อินเตอร์เน็ท คือ โลกส่วนตัว
ที่มา : http://money.cnn.com/2013/10/17/technology/online-privacy/index.html

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License