52

ชานนท์ วัฒนอุตมเสถียร 5510211052
Sony SmartWatch 2
สรุปเนื้อหา

ในปัจจุบัน เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยแนวโน้มการพัฒนาของเทคโนโลยีสำหรับสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันสิ่งหนึ่งคือ เทคโนโลยีสำหรับการ “สวมใส่” (Wearable) เช่น นาฬิกา รองเท้า แว่นตา ปากกาอัฉริยะซึ่งได้รับความนิยมกันมากขึ้น ทั้งในด้านผู้บริษัท องค์กรผู้ผลิต เช่น กูเกิลอย่าง Google Glass ไปจนถึงรองเท้าอัจฉริยะ และบรรดาอุปกรณ์เพื่อสุขภาพอย่าง Fitbit Flex และหนึ่งในเทคโนลียีสำหรับการสวมใส่คือ “นาฬิกา” ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาการ และมีความเคลื่อนไหวค่อนข้างมากในระยะเวลาไม่เพียงกี่ปี ทั้ง Geak จากประเทศจีน Pebble ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง Toq ของ Qualcomm และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ต้องยอมรับว่าทั้งหมดนี้อยู่ในระยะช่วงเริ่มต้นเท่านั้น และการจะทำให้ “ดี” นั้นถือเป็นเรื่องยาก ตัวอย่างที่ชัดเจนคือกรณีของ Samsung Galaxy Gear ที่โดนเว็บข่าวในต่างประเทศ (เช่น Gizmodo AU หรือ The Verge)โจมตีอย่างหนัก ซึ่งในความเป็นจริงการ พัฒนาการของนาฬิกาอัจฉริยะเองก็มีมาตั้งแต่ช่วงปี 1970 ดังนั้นต้องถือว่า สำหรับนาฬิกาแล้วยังหาจุดที่ลงตัวไม่ได้ และยังมีช่องว่างสำหรับการพัฒนาการทางเทคโนโลยีสำหรับนาฬิกาอัฉริยะ ดังนั้นจึงมีบริษัทต่าง ๆ ให้ความสนใจในการพัฒนานาฬิกาอัฉริยะสำหรับโลกอนาคต (Nrad6949, 2013)

flickr:10673434214

ที่มา : Nrad6949, 2013

บริษัทโซนี่เป็นหนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ พยายามที่จะเข้าสู่ตลาดนาฬิกาอัฉริยะโดย เริ่มต้นด้วย LiveView และ SmartWatch รุ่นแรกที่ไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จ ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 บริษัทโซนี่ตัดสินใจที่จะส่งรุ่นปรับปรุงของ SmartWatch ซึ่งก็คือ SmartWatch 2 เข้าสู่ตลาดดังกล่าว โดนำรูปแบบของการเป็นนาฬิกาที่เป็นส่วนต่อขยายจากโทรศัพท์ มากกว่าที่จะเป็นนาฬิกาซึ่งทำงานได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโทรศัพท์มือถือแต่อย่าง ใด โดยเปิดตัวมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน และเพิ่งจะวางขายในช่วงที่ใกล้เคียงกับ Samsung Galaxy Gear เมื่อเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2556 จึงมักถูกยกขึ้นมาเปรียบเทียบคู่กันอยู่บ่อยครั้งในการทบทวนบทวิเคราะห์หรือรีวิวจากต่างประเทศ และผู้เชี่ยวชาญจากทั่วทุกมุมโลก (Nrad6949, 2013)

ลักษณะโดยทั่วไป (Brian Bennett, 2013)
1. การออกแบบ
Sony SmartWatch 2
สำหรับ SmartWatch 2 ตัวใหม่นี้มีความคล้ายคลึงหรือมีความใกล้เคียงกับ SmartWatch ตัวแรกของ Sony สำหรับการออกแบบ Sony SmartWatch 2 นี้จะมีลักษณะเล็ก ทั้งเบา และที่สำคัญคือออกแบบมาได้น่าหลงไหลมาก นอกจากนี้ Sony SmartWatch 2 มาพร้อมกับสายรัดข้อมือแบบซิลิโคนยืดหยุ่นได้ ซึ่งถือว่ายืดหยุ่นได้เพียงพอที่จะให้ความรู้สึกสบายในการสวมใส่และยึดข้อมือได้อย่างดี แม้ในตอนนี้ Sony จะยังไม่ประกาศโทนสีสำหรับสายนาฬิกาอัฉริยะ SmartWatch 2 นี้ Sony ยังคงออกแบบเหมือนตัวก่อนหน้าเอาไว้ด้วยการใช้สายซิลิโคนและตัวเรือนเครื่องเป็นอลูมิเนียม ด้วยขนาดที่วัดออกมาได้เป็นความยาว 1.65 นิ้ว ตามด้วยความกว้าง 1.61 นิ้ว และความหน้าอีก 0.35 นิ้ว โดย SmartWatch 2 มาพร้อมทรวดทรงที่น่าสนใจมาก และมาพร้อมน้ำหนักที่เบามากมายเพียง 0.8 ออนซ์เท่านั้น (Brian Bennett, 2013)
Samsung Galaxy Gear
หากเปรียบเทียบกับ SmartWatch 2 จาก Sony แล้วต้องถือว่า Galaxy Gear จาก Samsung นั้นมาพร้อมทรวดทรงที่อวบ หรือหนากว่า โดยวัดตามสเป็กหน้ากระดาษได้เป็นยาว 1.45 นิ้ว กว้าง 2.2 นิ้ว และหน้า 0.44 นิ้ว แน่นอนว่าสเป็กแบบนี้เห็นได้ชัดว่า Galaxy Gear นั้นมีขนาดใหญ่กว่า SmartWatch 2 และเมื่อพิจารณาถึงน้ำหนักของตัวนาฬิกาแล้ว Galaxy Gear นั้นหนักกว่า SmartWatch 2 อยู่มากด้วยน้ำหนักตัวที่ 2.6 ออนซ์ และถึงแม้ว่าสายรัดข้อมือแบบยางของ Galaxy Gear จะสวมใส่แล้วไม่เข้าข้อมือเหมือนอย่างสายของ SmartWatch จาก Sony แต่ก็ยังให้ความรู้สึกสบายในการสวมใส่ และมีความหรูหราอย่างมีระดับ เพราะเป็นโลหะชุบเงินที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง (Brian Bennett, 2013)

2. หน้าจอแสดงผล
Sony SmartWatch 2
เมื่อขนาดตัวที่เล็กลงของ SmartWatch 2 ทำให้ขนาดหน้าจอที่เล็กลงไปด้วย ถึงแม้ว่า วัดแนวขวางของนาฬิกา แล้วจะได้ขนาดหน้าจอที่ 1.6 นิ้ว แต่หน้าจอของ SmartWatch 2 ก็ยังดูไม่กว้างพอเมื่อเทียบกับเจ้า Galaxy Gear ที่มีขนาดหน้าจอที่ 1.63 นิ้ว นอกจากนี้พิกเซลหน้าจอยังด้อยกว่านาฬิกาอัจฉริยะของ Samsung อยู่เล็กน้อย โดยความละเอียดของหน้าจอของเจ้า SmartWatch 2 นั้นอยู่ที่ 220×176 พิกเซลเท่านั้น ในขณะที่เจ้า Samsung Galaxy Gear นั้นอยู่ที่ 320×320 พิกเซล สิ่งที่บริษัท Sony ตั้งใจทำ SmartWatch 2 เพื่อขจัดปัญหาสำคัญที่เคยเกิดขึ้นกับ SmartWatch ตัวก่อนหน้า ซึ่งคือปัญหาเรื่องหน้าจอ OLED ที่ยากต่อการมองเห็นภายใต้สภาพแสงอาทิตย์จ้า ซึ่งในเจ้า SmartWatch 2 นี้ Sony เลือกที่จะใช้หน้าจอ LCD แบบพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อความคมชัดแม้ในสภาพแสงอาทิตย์มาก (Brian Bennett, 2013)
Samsung Galaxy Gear
หากพิจารณาในเรื่องของขนาดและความละเอียดของหน้าจอแล้ว ต้องยอมรับว่า Galaxy Gear มีจุดแข็งกว่า SmartWatch ด้วยหน้าจอที่มีขนาดใหญ่กว่าที่ 1.63 นิ้วบนจอ OLED ที่มาพร้อมความละเอียดสูงกว่าในระดับ 320×320 พิกเซล หากมองที่หน้าจอแสดงผลรูปภาพและตัวหนังสีด้วยสีที่คมชัดและมีความเข้มข้นที่สูงทีเดียว นอกจากนี้หน้าจอของ Galaxy Gear ยังสว่างมากกว่าในระดับที่สร้างปัญหากับกล้องถ่ายรูปหากจะจับภาพหน้าจอของ Samsung Galaxy Gear (Brian Bennett, 2013)

3. ฟีเจอร์และหน้าตาของระบบปฏิบัติการ
Sony SmartWatch 2
เมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติทางการใช้งานและอินเตอร์เซฟผู้ใช้ของตัวนาฬิกาแล้ว ต้องบอกว่าการถือกำเนิดใหม่ภายใต้ชื่อ SmartWatch 2 จาก Sony นั้นแทบไม่ได้ต่างจากตัวก่อนหน้าสักเท่าไหร่นัก สิ่งที่คุณจะได้มากับเจ้าตัวนี้คือ UI ที่รองรับหน้าจอสัมผัส เลื่อนวิดเจ็ตไปมาเพื่อการเปิดดูพยากรณ์อากาศ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ อ่านอีเมลหรือข้อความแจ้งเตือนจากโทรศัพท์มือถือข้อความอื่น ๆ ได้เหมือนอย่างที่นาฬิกาอัจฉริยะตัวก่อนหน้าจาก Sony เองก็สามารถทำได้ แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ SmartWatch 2 นั้นสามารถทำงานได้กับอุปกรณ์ Android หลากหลายยี่ห้อ นอกจากใช้ได้เพียงอุปกรณ์ของ Sony ด้วยกันเท่านั้น สำหรับการออกสำสั่งสำหรับการใช้งาน การหุบนิ้วบนหน้าจอจะเป็นการเรียกเอาหน้ารวมแอพพลิเคชั่นขึ้นมาซึ่งจะแสดงแอพพลิเคชั่นเล็กๆ ที่เจ้า SmartWatch 2 ติดตั้งอยู่เอาไว้ และหากคุณต้องการเปลี่ยนหน้าตาของเจ้า SmartWatch 2 ก็สามารถทำได้โดยการเปลี่ยนผ่านแอพพลิเคชั่น SmartWatch Companion บนมือถือสมาร์ทโฟนที่ใช้เชื่อมต่อได้ ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนหน้าตาการแสดงผลของนาฬิกาได้โดยตรง และนอกจากความสามารถในการส่งสัญญาณเตือนจากมือถือของคุณมาที่ข้อมือได้แล้ว SmartWatch 2 ยังมาพร้อมแป็นตัวเลขสัมผัสสำหรับการสั่งโทรออกโดยตรงจากตัวนาฬิกาเองเลยด้วย แต่ต้องเตือนว่า SmartWatch 2 นั้นไม่มีลำโพงหรือไมโครโฟนแยกมากับตัวนาฬิกา ดังนั้นการจะคุยสายได้ ต้องอาศัยความสามารถของหูฟังบลูทูธอีกอันที่เอามาเชื่อมต่อไปควบคู่กับเจ้านาฬิกาตัวนี้หรือไม่ก็ต้องยกโทรศัพท์ออกมาแนบหูแล้วคุยตามปกติ นอกจากนี้ SmartWatch 2 ยังมาพร้อมฟังก์ชั่นการแสดงชื่อผู้โทรเข้าบนตัวเครื่องนาฬิกาและฟังก์ชั่นการปฏิเสธสายโทรเข้าด้วยข้อความผ่านทางนาฬิกาโดยตรงเลยอีกด้วย (Brian Bennett, 2013)

Samsung Galaxy Gear
เนื่องจากตัวเครื่องที่ใหญ่กว่าคู่แข่ง Galaxy Gear สามารถทำการแจ้งเตือนและข้อความต่างๆ ตามที่ SmartWatch 2 สามารถทำได้ต่อย่างหนึ่งที่ต้องจำไว้คือ Samsung Galaxy Gear จะสามารถใช้ได้กับ Galaxy Note 3 เท่านั้น ซึ่งต้องถือว่าสร้างความผิดหวังให้กับกลุ่มรู้ค้าที่มีกำลังซื้อหลักบนระบบ Android ไปอย่างใหญ่หลวงทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้นความสามารถของ Gear ต้องเรียกได้ว่าน่าทึ่งมากทีเดียว เพราะมาพร้อมไมโครโฟนแบบฝังมากับตัวนาฬิกาและลำโพงติดกับตัวเครื่องมาด้วย นั่นทำให้ผู้ใช้งานสามารถโทรศัพท์ได้จริงบนข้อมือของตัวเองเลย ความสามารถของมันมาในแนวทางเดียวกับคู่แข่งตัวสำคัญบนตลาดอย่างนาฬิกา Martian Passport และ Hot Watch และก็ถือเป็นความสามารถที่มีประโยชน์ Galaxy Gear ยังมาพร้อมกล้องถ่ายรูปความละเอียด 1.9 ล้านพิกเซล โดยตัวกล้องนี้จะส่องเข้ามาในตำแหน่งเมื่อคุณยกหน้าปัดนาฬิกาของคุณขึ้นมาในมุมมองที่มองเห็นได้ตรงหน้า และนอกจากจะสามารถถ่ายภาพในแล้ว Gear ยังถ่ายวิดีโอที่ความละเอียดระดับ HD Reader 720p ได้อีก Galaxy Gear สามารถถ่ายรูปได้อย่างรวดเร็วมาก เพียงแค่แตะลงไปที่บนตัวเรือนเครื่องเท่านั้น แต่คุณภาพของรูปที่ถ่ายออกมาจะดูไม่คมชัด และหากคุณไม่พยายามบิดข้อมือให้ตรงหน้าคุณได้ในตำแหน่งที่ไม่ค่อยจะสบายเท่าไหร่ ภาพที่ได้จะเป็นภาพผู้คนที่ถูกถ่ายในมุมมองที่ดูไม่ปกติ แต่สิ่งที่ Galaxy Gear โดดเด้งน่าฟาดออกมาเลยนั้นคือในเรื่องของการออกแบบยูเซอร์อินเตอร์เฟซของมัน ด้วยช่องไทล์ขนาดใหญ่และฟอนต์สวยสะอาด ส่วน UI แบบเมโทรบน Windows Phone 8 ที่การเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ สามารถทำได้เพียงแค่ก้มดูหน้าจอนาฬิกาและสามารถควบคุมตัว UI ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย ซึ่งเมื่อเอาไปเปรียบเทียบกับ UI ของ SmartWatch 2 ที่ออกแนวคร่ำครึ เรียบง่าย (Brian Bennett, 2013)

4. แบตเตอร์รี่
Sony SmartWatch 2
SmartWatch ตัวก่อนหน้าเคยระบุไว้ว่าแบตเตอร์รี่ของตัวเองนั้นอยู่ได้ที่ 3 – 4 วันในการใช้งานแบบปกติทั่วไป และ 14 ชั่วโมงสำหรับการใช้งานแบบต่อเนื่อง SmartWatch 2 ทาง Sony เองก็ยังคงประกาศออกมาเช่นเดิมว่าแบตเตอร์รี่ของเจ้านี่จะอยู่ได้ 3 – 4 วัน ซึ่งสามารถใช้งานได้นาน
Samsung Galaxy Gear
Samsung Galaxy Gear นั้นจะใช้งานได้เพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้นต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง แต่เจ้า Galaxy Gear นี้มาพร้อมการเชื่อมต่อบลูทูธเวอร์ชั่นล่าสุดซึ่งก็คือเวอร์ชั่น 4.0 ซึ่งเป็นอัพเดตที่มาพร้อมคำมั่นสัญญาที่เป็นไปได้จริงว่ามีการเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกอย่างเต็มที่ (Brian Bennett, 2013)

5. ความทนทาน
Sony SmartWatch 2
Sony ทุ่มเทเวลาในการออกแบบอุปกรณ์พกพาของตัวเองมาเป็นระยะเวลานานมากแล้ว Sony ก็เพิ่งจะเปิดตัว Xepria Z และ Z1 ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนที่กันน้ำกันฝุ่นได้ออกมาอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยหาก SmartWatch 2 เองจะสามารถกันน้ำกันฝุ่นได้ดีและจากการที่ตัวนาฬิกาเองได้รับมาตรฐานสากล IP57 นั่นยิ่งเป็นการย้ำเตือนว่าเจ้านี้ไม่เพียงสามารถทนฝุ่นละอองหรือน้ำได้ในราคาคุย ยังสามารถทนการจมน้ำลึกได้ถึง 3 ฟุตหรืออยู่ในน้ำได้ 30 นาทีติดต่อกันโดยไม่มีปัญหา (Brian Bennett, 2013)
Samsung Galaxy Gear
Samsung Galaxy Gear ประกาศว่าเจ้านี่ถูกออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับมาตรฐาน IP55 ซึ่งสามารถทนน้ำทนฝุ่นได้ แต่ก็ยังไม่เท่า IP57 ของ SmartWatch 2 โดยเจ้า Gear นั้นสามารถทนได้เพียงละอองน้ำเท่านั้น ไม่ใช่น้ำแบบทั้งผืนเหมือนอย่างเจ้า SmartWatch 2 (Brian Bennett, 2013)

บทวิเคราะห์ SWOT
Strengths
จุดแข็งของ Sony SmartWatch 2 ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากนาฬิกาอัฉริยะรุ่นก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการพัฒนาที่พยายามตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ เช่น มีแบตเตอร์รี่ที่สามารถใช้ได้ระเวลานาน น้ำหนักที่เบา การออกแบบสายรัดข้อมือที่มีความกระชับและสามารถสวมใส่ได้สบายมากกว่าหากเปรียบเทียบกับ Samsung Galaxy Gear นอกจากนั้นยังสามารถมองเห็นตัวอักษรและสีรูปภาพต่าง ๆ บนหน้าจอได้ชัดเจนมากกว่า ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานสากล IP57 ซึ่งมีมาตรฐานมากกว่าคู่แข่ง นอกจากนั้น Sony SmartWatch 2 ยังสามารถกันน้ำลึกภาในระยะเวลาครึ่งชั่วโมงได้โดยไม่ส่งผลเสียต่อเครื่อง หากเปรียบเทียบกับคู่แข่งแล้วพบว่า สามารถกันน้ำเพียงแต่ละอองน้ำ หรือเพียงแค่ฝนเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วยังใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือที่ใช้ Android ตั้งแต่รุ่น 4.0 ขึ้นไป ซึ่งเป็นจุดแข็งของ Sony SmartWatch 2
หากพิจารณาถึงตัวบริษัทโซนี่ เป็นบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพของสินค้าประเภทต่าง ๆ รวมไปถึงลูกค้าสามารถไว้วางใจกับสินค้าที่ซื้อมา หากบริษัทสามารถสร้าง รักษา พัฒนาการตลาดและคุณภาพของบริษัท จะสามารถเป็นบริษัทที่อยู่ในใจของลูกค้าได้

Weakness
จากการศึกษาพบว่า จุดอ่อนของ Sony SmartWatch 2 หากเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกัน พบว่า หน้าจอมีความกว้างน้อยกว่า มี Application ที่ใช้จำนวนน้อยกว่า ไม่มีลำโพงและไมโครโพนภายในตัวนาฬิกาอัฉริยะ ไม่สามารถสั่งการและควบคุมคำสั่งภายในตัวนาฬิกาอัฉริยะได้เสร็จสิ้นภายในตัวเอง ต้องใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ช่วยสำหรับในการสั่งการและการควบคุม เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งพบว่า สามารถควบคุมและสั่งการภายในตัวนาฬิกาอัฉริยะได้เสร็จสิ้น นอกจากนั้นสำหรับคู่แข่งขันยังสามารถถ่ายรูปและบันทึกวีดีโอได้แม้ว่ายังสามารถบันทึกได้ไม่คมชัดก็ตาม ซึ่งความสามารถดังกล่าวนี้ Sony SmartWatch 2 ยังไม่สามารถที่จะกระทำได้ สำหรับ UI แบบเมโทรบน Windows Phone 8 ยังมีความได้เปรียบมากกว่า UI ของบริษัทโซนี่อีกด้วย
เมื่อพิจารณาถึงการตลาดของบริษัทโซนี่ ซึ่งในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่าบริษัทคู่แข่ง เช่น บริษัทซัมซุง จากประเทศเกาหลี ซึ่งสามารถสร้างและเข้าถึงผู้บริโภคสินค้าได้ในวงกว้างและหลากหลายกลุ่ม ในหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ หากบริษัทโซนี่มีกลยุทธ์ทางการตลาดที่ดีจะสามารถต่อสู้คู่แข่งขันต่อไปในอนาคตได้ เพื่อสร้างความมั่นใจและชื่อเสียงต่อลูกค้า

Opportunities
ในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งอาจก่อให้เกิด cannibalization สำหรับสินค้าอื่น ๆ ของบริษัท แม้ว่าจะในปัจจุบันนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน แต่ถ้าบริษัทโซนี่สามารถสร้างการยอมรับวงกว้างทางสังคมจะส่งผลต่อยอดขายบริษัทโดยรวมเพิ่มมากขึ้น และเป็นการสร้างความหลากหลาย หากนาฬิกาอัฉริยะสามารถสร้าง Two side Network Effect จะสามารถสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมนาฬิกาอัฉริยะได้ (Standardization) ก่อนบริษัทอื่น ๆ และหากการตลาดสามารถสร้างการยอมรับทางสังคมได้จริงบริษัทสามารถใช้ช่องทางจากนาฬิกาอัฉริยะเป็นเครื่องมือในการโฆษณาได้อีกด้วย

Threats
จากการศึกษาพบว่า ผู้ใช้ในปัจจุบันสำหรับนาฬิกาอัฉริยะ ผู้ที่เป็น The First Mover จะเกิดความไม่แน่ใจในการใช้ ซึ่งจะตั้งคำถามเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งในด้านความร้อน ความคงทน ระเวลาในการใช้งานได้จริง ความสามารถของนาฬิกาอัฉริยะ เป็นต้น อย่างไรก็ตามบริษัทโซนี่ซึ่งเป็นบริษัทแรก ๆ ที่เข้ามาพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมไปถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ต้องสร้าง รักษา และพัฒนามิให้คู่แข่งขันตามทัน เช่น Apple, Dell, Motorola, Microsoft, Sony, LG and a world + dog of crowd-funded companies ที่จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นการหลอมรวมเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันก่อให้เกิดการแข่งขันข้ามอุตสาหกรรมได้ง่ายขึ้น (Cross-Industries Competition) รวมไปถึงมีสินค้าทดแทนจำนวนมากขึ้นกว่าในอดีต
หากพิจารณาว่าจะซื้อนาฬิกาอัฉริยะของบริษัทใด ซึ่งต้องถามผู้ซื้อว่าต้องการซื้อเพื่อใช้สำหรับจุดประสงค์ใด เพราะแต่ละบุคคลจะมีความต้องการใช้ที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องเลือกสินค้าแต่ละบริษัทให้สอดคล้องกับความต้องการของตนเอง เช่น หากต้องการใช้งานสำหรับการอ่านอีเมลล์แบบเร็ว ๆ และดูดีสวยงาม สวมใส่กระชับ ภาพคมชัด มีความคงทน ใช้งานได้นาน ก็ต้องใช้ Sony Smartwatch 2 หากผู้ซื้อต้องการใช้นาฬิกาอัฉริยะสำหรับการควบคุมสั่งการ บันทึกเสียง บันทึกภาพและวีดีโอ และสามารถใช้งานควบคู่กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในของบริษัทเดียวกันก็ต้องแนะนำ Samsung Galaxy Gear

อย่างไรก็ตามสำหรับอุตสาหกรรมนาฬิกาอัฉริยะต้องติดตามดูต่อไปในอนาคตเพราะ มีหลายบริษัทที่เข้ามาแข่งขัน สร้างและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับนาฬิกาอัฉริยะจำนวนมาก เช่น Apple, Dell, Motorola, Microsoft, Sony, LG and a world + dog of crowd-funded companies

บรรณานุกรม
Brian Bennett. 2013. Sony SmartWatch vs. Samsung Galaxy Gear: The first big battle in the wearable tech war. [online] available : http://reviews.cnet.com/8301-34900_7-57601585/sony-smartwatch-vs-samsung-galaxy-gear-the-first-big-battle-in-the-wearable-tech-war/?part=pulse&subj=androidatlas&tag=title&utm_medium=referral&utm_source=pulsenews. Accessed 23 October, 2013.
Nrad6949. 2013. รีวิว Sony Smartwatch 2 . [online] available : http://www.blognone.com/node/49761. Accessed 23 October, 2013.

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License