Amazon Apple Facebook And Google
flickr:9652139667

Report Amazon, Apple, Facebook and Google Analysis

Group 1 Last Minute

Production teams

เทิดศักดิ์ คำเจียง 5420211052
ศิรพงศ์ คงแถวทอง 5510211007
ตริตาภรณ์ มั่นศุข 5510211033
ธนันท์ เอื้อศิรินุเคราะห์ 5510211046
เจษฎา เวสสานนท์ 5510211049
ณัฐณิชา สามิตาสิน 5510211064
ปรานทิพย์ นราวัฒนเศรษฐ์ 5510211074

Present to
Asst. Prof.DanuvasinChareon

This report is a part of Information Technology and Management
(BA 5600) Regular MBA National Institute of Development Administration

คำนำ

รายงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหาร (BA 5600) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ซึ่งทำการศึกษาข้อมูลทั่วไปของบริษัท, อุตสาหกรรม, วิเคราะห์การทำธุรกิจและการดำเนินการของ Amazon, Apple, Facebook และ Google ในด้านต่างๆซึ่งปรากฏอยู่ในเนื้อหาด้านใน

โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็น 5 บท ซึ่งในบทแรกจะเป็นการสรุปข้อมูลทั่วไปในอุตสาหกรรม และในบทต่อๆไปนั้นจำแนกการวิเคราะห์ออกเป็นบริษัทๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้นตามลำดับ
สุดท้าย ขอขอบพระคุณ ผศ.พ.ต.ต.ดร.ดนุวศิน เจริญ อาจารย์ผู้สอนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหาร ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลและทำการสอน คณะผู้จัดทำรายงานเล่มนี้เป็นอย่างดี

บทที่ 1 ข้อมูลทั่วไป Amazon, Apple, Facebook and Google

ในช่วงแรกนั้น Internet ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการทำการตลาด (Marketing) แต่ถูกสร้างขึ้นจากโครงการทางการทหาร เกี่ยวกับระบบเตือนภัยจากการถูกโจมตีด้วยอาวุธ Nuclear ในช่วงทศวรรษที่ 1950 และถูกพัฒนาต่อใน Department of Defense’s Advance Research Projects Agency Network(ARPANET.) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม และต่อมามันก็กลายเป็นระบบระดับโลก ที่ใช้กันในแวดวงของมหาวิทยาลัยและวงการวิทยาศาสตร์

ในปี 1995 รัฐสภาของอเมริกัน (Congress ) ก็ผ่านกฎหมายในการทำให้ Internet กลายเป็นของเอกชน(Privatized) ซึ่งส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของนวัตกรรมไปทั่วโลก โดยเฉพาะการใช้งาน Internet ในด้านของการทำการตลาด กลุ่มคนที่มองโลกในแง่ดีเกินจริงเกี่ยวกับศักยภาพของ Internet ในการปฏิวัติวงการการตลาดทำให้เกิดการนำไปสู่วิกฤติฟองสบู่ dot-com ในปี 1997 ถึง 2000 อย่างไรก็ตามในปี 2013 บริษัทที่ทำธุรกิจโดยมีพื้นฐานอยู่บน Internet ก็ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการทำการตลาดอย่างแท้จริง
Amazon, Apple, Facebook และ Google นั้นมีมูลค่าของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์รวมกันเกือบถึง 1ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ดูตารางที่ 1) ทั้งสี่บริษัทนั้นผูกขาดใน 4 sectors ของการทำ Internet Marketing ตลาดการทำโฆษณาทางออนไลน์ (Online advertising) ถูกยึดครองโดย Google, การค้าปลีกออนไลน์ (Online retailing) โดย Amazon, สังคมออนไลน์ (Social Media) โดย Facebook และ Apple ก็เป็นผู้สร้างมาตรฐานให้กับอุปกรณ์การเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ โดยที่สินค้าของบริษัทถูกเรียกว่าเป็น รีโมตคอนโทรลสำหรับ ผู้คนในโลกยุคดิจิทัล

ทั้ง 4 บริษัทนั้นก็มีความต้องการที่จะรุกเข้าไปใน sectors ของรายอื่นๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของตัวเองในช่องทางใหม่ๆ

Google กับ Facebook แข่งขันกันสำหรับการยึดตลาดการทำโฆษณาทางออนไลน์ ในทางด้านการค้าปลีกออนไลน์ Apple ก็มี iTunes และ Google ก็มี Google Play ในการท้าทายผู้นำแห่งธุรกิจค้าปลีกออนไลน์อย่าง Amazon ในขณะเดียวกัน Apple กับ Google ก็แข่งขันกันในด้านระบบปฏิบัติการของ Smartphone ส่วนธุรกิจทีวีดิจิตอล (Digital TV)ก็เป็นการแข่งขันกันระหว่าง Apple Google และ Amazon ดูเหมือนกับว่า Google จะเป็นผู้ริเริ่มในการทำระบบชำระเงินออนไลน์และมีศักยภาพที่จะทำธุรกิจธนาคาร แต่ Apple ก็พยามไล่ตามมาติดๆ
ทุกจุดของ Online Marketing กำลังเกิดการแข่งขัน และทั้งสี่บริษัทก็ต่างที่จะต้องการที่จะเป็นผู้ครอบครองตลาด online Marketing ทั้งหมด

The Modern Era Begins: Amazon Becomes Profitable

ตอนที่ Netscape, AOL, หรือ Yahoo! เริ่มเปิดตัวในช่วงทศวรรษที่ 1990 อาจจะถือว่าเป็นช่วงแรกที่Internet ถูกใช้งานในเชิงพาณิชย์ แต่มันเริ่มที่จะเป็นรูปมันร่างจริงๆก็เมื่อตอนที่ Amazon เริ่มดำเนินการในปี 1995 ด้วยธุรกิจการขายหนังสือออนไลน์ โดยที่บริษัทขาดทุนอยู่ถึง 6 ปีติดต่อกัน และเริ่มพลิกกลับมามีกำไร 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ในช่วงเดือนธันวาคม 2001 ในขณะที่สิ้นปี 2012 บริษัทมีรายได้ถึงประมาณ 57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแบ่งเป็นรายได้จากการขายหนังสือและ digital media 37% ,สินค้าทั่วไป(General merchandise) มีสัดส่วนเป็น 59% และ ค่าธรรมเนียมจาก Amazon Web Services และค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตสร้างรายได้รวมกัน 4%

ถึงแม้ว่ารายได้จาก Amazon Web Services จะยังมีสัดส่วนที่น้อยก็ตาม แต่มันก็ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการสร้างรายได้ของธุรกิจค้าปลีกออนไลน์แบบเดิมไปอย่างสิ้นเชิง โดยมันถูกสร้างขึ้นในปี 2002 เพื่อให้บริการ cloud computing ให้กับผู้ผลิตสินค้าที่ขายสินค้าผ่านทาง Amazon หลังจากนั้นไม่นานนัก Amazon Web Services ก็ได้ให้บริการ cloud computing กับองค์กรหลายๆองค์กรที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ Supply chain ของ Amazon ตัวอย่างของลูกค้าที่มาใช้บริการ ก็เช่น Dropbox, Reddit, และ New York Times
อย่างไรก็ตามธุรกิจ Web Services นั้นก็ไม่ใช่ธุรกิจที่จะสร้างรายได้ขนาดใหญ่ได้ง่ายๆ แต่ทาง Amazon ก็ได้ประโยชน์จากธุรกิจนี้อย่างมากอยู่ดี เนื่องจากมันช่วยให้ Amazon เพิ่มความหลากหลายของสินค้าของตัวเองได้อย่างมาก เพราะมันทำให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าของพวกร้านค้าปลีกที่ใช้บริการ Amazon Web Services ได้ ตัวอย่างเช่น ในสินค้าหมวดกล้องดิจิตอล Amazon ก็มีความหลากหลายของสินค้ามากกว่าคู่แข่งที่เป็นทั้ง Offline หรือ Online ด้วยกัน โดย Walmart stores มีสินค้าอยู่เฉลี่ย 30 SKUs,Target.com มี 210 SKUs,Walmart.com มี 408 SKUs ในขณะที่ Amazon มีมากถึง 8,010 SKUs (โดยเป็นสินค้าที่ขายตรงผ่าน Amazon 450 SKUs)

ในปี 2013 Amazon ก็ยังคงความเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีกออนไลน์ โดยรายได้ในประเทศสหรัฐอเมริกามีมากถึง 31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากเป็น 1 ใน 5 ของรายได้รวมของบริษัทค้าปลีกออนไลน์อีก 100 บริษัทถัดไป แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจด้านค้าปลีกออนไลน์ก็ยังไม่ได้เติมโตเต็มที่ในสหรัฐ เพราะถ้ารวมยอดขายรถยนต์เข้าไปด้วย ตลาดค้าปลีกในสหรัฐ ทั้งที่เป็นแบบออฟไลน์กับออนไลน์รวมกันจะมีมูลค่ามากถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในปี 2013 มีการคาดการณ์กันว่า Amazon จะทำการเปิดตัว Smartphone ของตัวเอง เพื่อที่จะได้สนับสนุนธุรกิจการค้าออนไลน์ของตัวเองได้อย่างเต็มที่
Then Came Google

ก่อนปี 1998 ผู้ใช้ web เริ่มต้นเล่น internet ด้วยการไปที่ webที่เป็น portal เช่น Yahoo, AOL, Microsoft’s MSN พวกเขาเลือกดู web site จาก content ของ web ที่เป็น home page ของ web portal หรือใช้เครื่องมือค้นหาที่เป็นของ web portal ในการไปดู web site อื่น web portal มีรายได้จากการแสดง display ads (โฆษณาที่แสดงตามที่ผู้ search สนใจ) ให้แสดงลำดับตามจำนวนการเข้าชม มีการจัดลำดับ content โดยจัดตามจำนวนการเข้าชม ในขณะนั้น การ search ในขณะนั้น เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการติดตาม จำนวนการเข้าชมให้กับ portal เพราะว่ามันไม่ stick มันจึงถูกพิจารณาว่าไม่สำคัญ

Google ถูกมองว่าไม่ปกติ เมื่อได้เริ่มให้บริการในปี 1998 มันเป็น web site ที่ไม่มีอะไรนอกจากการ search และแน่นอนว่าไม่ได้สร้างรายได้ แต่เมื่อ Google ได้แสดงให้เห็นถึงพลังของการ search แบบ algorithm (อัลกอริธึม คือ กระบวนการ ลำดับขั้นตอนการทำงาน ประมวลผลที่จำเป็นต้องใช้การตัดสินใจ โดยนำหลักเหตุผลตรรกศาสตร์ และทางคณิตศาสตร์ มาช่วยเหลือในการเลือกหาวิธีการ หรือขั้นตอนการดำเนินงานที่รวดเร็ว และเป็นระบบที่สุด อีกทั้งต้องเป็นลำดับขั้นตอนที่แยกย่อยออกมาง่ายที่สุด) ซึ่งมันหวังว่าจะเป็น license ให้กับ portal เมื่อเดือน มิถุนายน ปี 2000 กลยุทธ์ของ Google ได้ประสบความสำเร็จ โดย Yahoo ได้เลือกให้ Google เป็น search engine ของ Yahoo ชัยชนะในครั้งนั้นทำให้เกิดข้อสงสัยมากมายกับ search แบบ algorithm ของ Google มันได้สะกิดให้ Google ได้รู้ถึงวิธีที่จะทำกำไรจากมัน จากการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชม web site ไม่ใช่จากค่าธรรมเนียม license

ในเดือน พฤศจิกายน 2000 Google ได้เริ่มที่จะขายโฆษณาตัวอักษรทางด้านขวามือของ web page ซึ่งเป็นผลที่มาจากที่ได้ทำการ search ไปขายให้กับนักโฆษณาผู้ที่ต้องการหาลูกค้าที่กำลัง search keyword นั้นๆ Google ได้ให้ชื่อว่า service AdWorlds และคิดค่าใช้จ่ายจากจำนวนการ click เข้าชมบนข้อความที่ได้โฆษณา บริการนี้ทำเงินจากจำนวนผู้ที่เข้าชม มันทำให้ Google หาจำนวนผู้เข้าชมเพิ่มต่อไป

ในเดือน มิถุนายน 2003 Google ได้เริ่มแนะนำ AdSense ที่สามารถโฆษณาไม่เฉพาะแต่ web ของ Google เท่านั้น แต่รวมถึง web ของ partner ด้วย แต่มีเพียงแค่ข้อความโฆษณาเท่านั้นที่สามารถแสดงข้าม web site ในทันที Google ไม่ได้โตขึ้นเพียงแค่ในส่วนของ market share ของ search engine เท่านั้น แต่ยังรวมถึง content ใน web ด้วย จากนั้นได้ออก free webmail service คือ Gmail ซึ่งได้กลายเป็นสื่อกลางในการจับคู่โฆษณากับเนื้อหาโดยการส่งข้อความทาง Email ในเดือน ธันวาคม 2004 Google มีเป้าหมายที่จะสแกนและทำดัชนีหนังสือทั่วโลก Froogle, Blogger, Picassa, a Calender service, a translator และ content อีกเป็นโหล เริ่มต้นจากการรวมกันของการพัฒนา product ของ Google กับ team งานที่ถูก Google เข้าซื้อกิจการ

การซื้อกิจการครั้งใหญ่ได้เกิดขึ้นเมื่อ ตุลาคม ปี 2006 เมื่อได้เข้าซื้อ Youtube คลังเก็บข้อมูล file VDO เผยแพร่ ด้วยเงิน 1.65 พันล้านเหรียน Youtube ไม่ได้เก็บเงินทั้งผู้ upload และผู้ดู แต่มีรายได้มาการการโฆษณา ต่อมาได้แนะนำ ช่องที่เป็น premium content นั้นได้ทำให้ Youtube กลายเป็นคู่แข่งกับ cable TV

ในเดือน เมษายน ปี 2007 ได้เข้าซื้อกิจการที่แพงมาก เพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพของการโฆษณา โดยการเข้าซื้อ DoubleClick ซึ่งผูกขาดการโฆษณา online มูลค่า 3.1 พันล้านเหรียน ภายหลังก็ได้ซื้อ AdMob ซึ่งผูกขาดการโฆษณาบนมือถือ

ในไม่ช้ายอดรายได้ของ Google search ไม่ใช้เฉพาะแค่ค่าโฆษณาทางด้านขวามือของ web page เท่านั้น แต่ยังรวมถึงทางด้านซ้ายมือด้วย หลังจากที่ Google ได้ซื้อกิจการของ ITA ซึ่งมี software สำหรับค้นหาที่นั่งบนสายการบิน Google ได้ให้บริการเกี่ยวกับเที่ยวบินและข้อมูลที่ ยุติธรรมสำหรับผู้ที่ต้องการบินและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เมื่อคนได้ click จองตั๊ว ส่วนที่ไม่ได้เกิดขึ้นจาก search algorithm ได้เริ่มปรากฏขึ้นบนรายการ search: finance, health, movie, maps, news

Google ก็ได้เริ่มที่จะมองหา…. Google ได้เริ่มออกระบบปฏิบัติการAndroid ในเดือนพฤศจิกายน 2007 เพราะว่ามันฟรี เลยไม่มีรายได้ จากนั้น เดือนสิงหาคมปี 2011 Google ได้ซื้อ Motorola ด้วยเงิน 12.5พันล้าน นั้นได้ทำให้ Google สามารถที่จะผลิตโทรศัพท์มือถือแน่นอนว่าภายใต้ระบบAndroid

ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2011 ได้ออก Google play ซึ่งเป็น คลังเก็บ Music และสามารถซื้อได้คล้ายกับ iTunes ขณะเดียวกันก็ได้ออก Google Wallet ที่สามารถใช้ smart phone ในการชำระเงินได้ มันเริ่มต้นใช้งานกับผู้ค้าปลีกเพื่อแข่งขันกับ Amezon ใช้ในการหาลูกค้าผ่านการ search และส่งสินค้าภายในวันเดียวกัน จากนั้นก็ได้ออก Google+ ซึ่งเป็น social network ที่รวม search รูป VDO หนึ่งปีให้หลังมันมีผู้ใช้แค่เพียง 20% ของ facebook และมีผู้ใช้แค่ 4 นาทีต่อเดือน เมื่อเทียบกับ facebook 400 นาทีต่อเดือน ผู้ใช้ส่วนใหญ่สมัครก็เพราะว่า Google ต้องการ account ของ Google+ ซึ่งใช้ account ร่วมกับ Gmail, Youtube, Zagat, Google+ มีประวัติ รวมถึงชื่อ ที่อยู่ ความสนใจ จำนวนเพื่อน ซึ่งเป็นข้อมูลให้แก่ผู้โฆษณาได้อย่างดี

ในสินปี 2012 ผ่านไป 10 กว่าปี Google ยังทำกำไรส่วนใหญ่มาจากการ search การโฆษณาเป็นรายได้ 97% ของรายได้รวม 43 พันล้านเหรียน รายได้ 69% ของการโฆษณามาจาก ads web site ของ Google เอง ส่วนอีก 28% มาจาก web ของบุคคลที่ 3 รายได้ ads บน web ของ Google รับรู้เป็นรายได้ของ Google ส่วนรายได้ 60% ของ ads ของ web ของบุคคลที่ 3 นั้นจ่ายให้กับบุคคลที่3 ดังนั้นรายได้ส่วนใหญ่ของGoogleมาจากการโฆษณาบน search engine รายได้ครึ่งหนึ่งของ Google มาจากการโฆษณาใน US

Apple Enters the Internet Economy

Apple ก่อตั้งในปี 1976 ในปี 2004 มันมีมูลค่าตลาด 4 พันล้านเหรียน ตั้งแต่ มกราคม ปี 2009 ถึง ปี 2011 มันโตขึ้นจาก 75 พันล้านเหรียน เป็น 600 พันล้านเหรียน กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดตลอดกาล มันได้เปลี่ยนจากบริษัทผู้ผลิต Hardware ในยุคก่อน internet ไปสู่บริษัทที่ประดิษฐ์ นวัตกรรมที่เป็นผู้นำใน ยุค internet economy

เป็นที่ถกเถียงกันบ่อยมาก ในช่วงเวลาที่ ไม่มีการเปลี่ยนในการบริหาร เปลี่ยนรายได้ การนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้ขยายตัวอย่างเต็มที่ในปี 2009 หลังจาก steve jobs ได้กลับมานำบริษัทในปี 1997 หลังจากที่ได้ถูกให้ออก iTune software และ อุปกรณ์ที่ใช้เล่นเพลง ipod ได้ออกขายในปี 2001 แต่ไม่ทำให้รายได้มากขึ้น iphone ได้ออกขายในปี 2007 ipad ได้ออกขายในปี 2010 ขณะที่รายได้ในปี 2012 ขึ้นอยู่กับการขายปลีกของ 2 ผลิตภัณฑ์หลัง ด้วยความเล็งเห็นถึงความสำคัญของยุค Digital กับการเชื่อมต่อ internet นั้นเป็นความสำเร็จของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์

ขณะที่ระบบปฏิบัติการ Android ของ Google ได้ยึดครองระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่ของอุปกรณ์มือถือ คือ72%ของโทรศัพท์ที่ขายได้ในไตรมาสสามของปี 2012 Apple ได้นำ Google ในด้านการเข้าถึง e-commerce ระบบปฏิบัติของ Apple iOS คือระบบที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้ในการเข้าถึง web ทางโทรศัพท์มือถือ ขณะที่ Android มีไม่ถึง 20% การค้าปลีกทาง e-commerce หลักๆ ได้แก่ Amazon และ Target มีคนเข้าใช้บริการ 10% จากอุปกรณ์มือถือ ระบบ iOS ได้แสดงให้เห็นถึงความยั่งยืนมากกว่าระบบปฏิบัติการ Android

การปะทะอื่นๆ ในการควบคุม e-commerce มีให้เห็นระหว่าง Kindle ของ Amezon ที่ใช้สำหรับกระจาย digital content และ Apple ที่รวมระหว่าง iTune และ iPad ขณะที่ Kindle เหมาะสำหรับหนังสือ iPad ก็หวังว่าจะดีพอสำหรับ การดู Digital content กับ Google นั้นเป็นการปะทะกันระหว่าง google search กับ การ search ด้วยเสียงของ tool ของ Apple Siri

online มัน Application ของ smart phone สำคัญมากในการทำตลาด มี application มากมาย รวมถึง store ต่างๆ ให้กับผู้ใช้ internet ให้ทำการค้าได้หลากหลาย กว้างขวาง เช่น Banking, ท่องเทียว, ข่าว, VDO, กีฬา, blogs, game, social media, maps, music นี่เองที่ Apple นำ Google Apple และ Google ได้เริ่มกระจาย App ต่างๆ ในกลางไตรมาส 2 ปี 2008 Apple มี App อยู่ 60% จากทั้งหมด

Facebook Transforms the Internet Experience

Facebook เปิดให้บริการกับบุคคลทั่วไปอย่างแพร่หลายในปี 2005 โดยก่อนหน้านี้ได้มีการใช้ในอเมริกามาก่อน ในช่วงเริ่มต้นผู้ใช้บริการ Facebook มีไม่มากนัก จนกระทั่งปี 2009 จำนวนผู้ใช้ก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลาแค่ 2 ปี Facebook มีอัตราการเติบโตของผู้ใช้เพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 20% ของเวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตของคนอเมริกัน โดยเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนผู้ใช้และเวลาที่ใช้บริการ เมื่อถึงปี 2013 จำนวน 3ใน 4 ของคนอเมริกันหรือประมาณ 153 ล้านคนที่ใช้งานอินเตอร์เน็ต จะต้องเข้า Facebook อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ค่าเฉลี่ยผู้ใช้งาน Facebook ในแต่ละเดือนอยู่ที่ประมาณ 6 ชั่วโมง 41 นาที ส่วนผู้ใช้ Google นั้นมีจำนวนมากกว่า แต่ระยะเวลาที่ใช้งานนั้นน้อยกว่ามากโดยใช้เวลาเพียงแค่ 1 ชั่วโมง 54 นาที

ในแต่ละเดือนจะมีคนอเมริกันใช้อินเตอร์เน็ต 212 ล้านคน และแต่ละคนจะใช้งานอินเตอร์เน็ต 28 ชั่วโมงต่อเดือน หากเปรียบเทียบกับการดูโทรทัศน์ จะมีชาวอเมริกัน 292 ล้านคนที่ดูโทรทัศน์และแต่ละคนจะใช้เวลาไปกับการดูโทรทัศน์ถึง 168 ชั่วโมงต่อเดือน

หากนับเวลาการใช้งาน Facebook รวมกับการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กอื่น ๆ ด้วย จะคิดเป็น 1 ใน 4 ส่วนของการใช้งานอินเตอร์เน็ตทั้งหมด และคิดเป็น 2 เท่าของเวลาที่ใช้เล่นเกมออนไลน์ และจะมากกว่านั้นหากนำไปเทียบกับการเช็คอีเมลล์ ใน 1 เดือน 97% ของผู้ใช้จะเข้าโซเชียลมีเดียผ่านทางคอมพิวเตอร์ ส่วนอีก 37% เข้าทางโทรศัพท์มือถือ ถือได้ว่าคนที่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวแทนของคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งหมดได้เป็นอย่างดี โดยส่วนใหญ่ของผู้ใช้งานจะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18 – 34 ปี แต่จะมีอายุไม่เกิน 65 ปี

แม้ว่า Facebook จะครอบครองเวลาใช้อินเตอร์เน็ตของคนส่วนใหญ่ แต่ Facebook กลับดึงดูดโฆษณาได้น้อยกว่า Google Facebook สามารถสร้างรายได้จากการโฆษณารวมแล้วถึง 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งคาดการณ์กันว่า ในปี 2012 โฆษณาจะสามารถสร้างรายได้ให้กับ Facebook 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับ Google ที่สามารถสร้างรายได้ได้ 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 5 ของโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตทั้งหมด แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่มีผลต่อ search market ที่มูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 16 พันล้านเหรียญ และเป็นของกูเกิลถึง 12 พันล้านเหรียญ

Facebook มีบริการแอพพลิเคชั่นผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถรับข้อมูลที่เกี่ยวกับธุรกิจท้องถิ่นผ่านทางการแชร์ประสบการณ์จากกลุ่มเพื่อนของเขาเอง ซึ่งถือว่าเป็นของขวัญสำหรับผู้ที่ต้องการที่จะเริ่มต้นธุรกิจในรูปแบบ E-Commerce

รายได้ส่วนมากของ Facebook มาจากการรับลงโฆษณา ผู้ใช้ Facebook จะประกาศตัวเองว่าเขาเป็นแฟนของสินค้าตัวไหนหรือดาราคนไหนโดยการกด Like ในหน้าเพจของสินค้าหรือดาราคนนั้น ๆ นักโฆษณาจะซื้อสิทธิที่จะลงโฆษณาในเพจของเพื่อนของผู้ที่เป็นแฟนคลับของสินค้าโดยการ Tag ชื่อของแฟนคลับลงไปในโฆษณาที่จะปรากฏอยู่บนหน้าเพจของเพื่อน โดยทั่วไปแล้วผู้เล่น Facebook จะมีเพื่อนประมาณ 229 คน ซึ่งเพื่อนของพวกเขาเหล่านั้นมักจะเข้าไปดูโฆษณาที่มีการ Tag ชื่อของเพื่อนมากกว่าโฆษณาที่ไม่มีการ Tag ถึง 2 - 3 เท่า นอกเหนือจากค่าโฆษณาที่จะต้องจ่ายแล้ว ผู้โฆษณาสามารถที่จะเผยแพร่โฆษณาของตัวเองผ่านทางการแชร์ระหว่างผู้ใช้ Facebook ด้วยกัน

ในปลายปี 2012 Facebook เริ่มทำโครงการ Facebook Exchange ซึ่งเป็นการเปิดประมูลพื้นที่โฆษณา (Ad-bidding) และมีบริการเครือข่าย Retargeting ด้วย websiteที่เป็นสมาชิกในเครือข่าย Facebook Exchange จะส่ง Tracking Cookie ของเว็บไซต์ตนเองไปยัง Internet Browser ของผู้ที่เข้ามาดูเว็บไซต์ ต่อจากนั้น เมื่อผู้ที่เข้ามาดูเว็บไซต์ล็อกอินเข้าสู่ Facebook ระบบก็จะเชื่อมต่อไปยัง Tracking Cookie นั้น และส่งข้อความโฆษณาของเว็บไซต์ดังกล่าวขึ้นมาบนเพจของผู้ใช้งาน ด้วยเหตุที่ว่าผู้ใช้ Facebook มีแนวโน้มที่จะเข้าใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คบ่อยครั้ง จึงเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าการใช้บริการ Retargeting กับ Facebook มีประสิทธิภาพสูงกว่าไปใช้บริการ Retargeting กับผู้ให้บริการรายอื่น ยกตัวอย่างเช่น ช่วงระยะเวลาที่คนเข้าไปดูสินค้าในเว็บไซต์ Drugstore.com แล้วล็อกอินเข้าสู่เว็บไซต์ Facebook มีแนวโน้มระยะเวลาที่สั้นลงเป็นต้น แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานยืนยันในความสามารถในการทำ Retargeting ของ Facebook แต่ Facebook ก็มีศักยภาพที่จะดำเนินการระบบ Retargeting สูงดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

flickr:9655492468

ในทางกลับกัน เมื่อสมาชิก Facebook โพสความคิดเห็นหรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าตัวใดตัวหนึ่งลงใน Facebook พวกเขาก็อาจจะได้รับ Cookie ที่ส่งจาก Facebook และเมื่อมีการตรวจพบ Cookie ดังกล่าวในขณะที่กำลังใช้งานอินเตอร์เน็ตในเว็บไซต์อื่น ๆ หน้าต่างโฆษณาสินค้านั้น ๆ ก็จะปรากฏขึ้น จากสถิติแล้ว ผู้ใช้ Facebook ประมาณ 50% เข้าใช้ Facebook ผ่านทางสมาร์ทโฟน ซึ่ง Facebook ไม่สามารถแสดงโฆษณาในแอพพลิเคชั่นของสมาร์ทโฟนได้ ดังนั้นระบบ Reverse Retargeting จึงช่วยให้ Facebook สามารถทำกำไรจากการโฆษณาบนเว็บไซต์อื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

ตลาดของสื่อโฆษณา

ในทุกๆ ปีผู้โฆษณาในสหรัฐอเมริกามีการทำสื่อโฆษณาโดยไม่ผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตอยู่ที่ประมาณ 174 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ส่วนตลาดของการตลาดทางตรง (ซึ่งรวมไปถึงการตลาดผ่านทางอีเมลล์และการตลาดฐานข้อมูล) มีมูลค่าอยู่ที่ 169 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ แต่ในทางกลับกันการตลาดผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตอยู่ที่ 37 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
ผู้สังเกตการณ์หลายคนได้ตั้งข้อสังเกตว่าการทำสื่อผ่านทางออนไลน์ยังดูไม่ได้รับความสนใจจากนักท่องอินเตอร์เน็ตมากนัก ชาวอเมริกันได้ใช้เวลาชมสื่อต่างๆผ่านทางออนไลน์อยู่ที่ 26% ส่วนผู้โฆษณามีการใช้งบประมาณในการทำสื่อโฆษณาผ่านทางออนไลน์ที่ 20% ซึ่งข้อขัดแย้งระหว่างเวลาที่ใช้ในการท่องอินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่กับสื่อโฆษณาผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่ยิ่งเห็นได้ชัด คือ เวลาที่ใช้ในการท่องอินเตอร์เน็ตอยู่ที่ 10% แต่มีสื่อโฆษณาเพียง 1% เท่านั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติของอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาทางออนไลน์ โดยอาจอ้างอิงได้จาก Kevin Kelly (บรรณาธิการผู้ก่อตั้ง Weired Magazine) เคยกล่าวไว้ และสามารถบอกได้ว่าตลาดของสื่อออนไลน์มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างมา

ตลาดของโฆษณาผ่านระบบ Search Engine

ทั่วโลกมีผู้ใช้search engine มากกว่าซอฟท์แวร์รูปแบบอื่นๆ โดยผลในปี 2011แสดงให้เห็นว่า 85%ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลก (และ 94% ของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา) ใช้ search engine ซึ่งหากทำการเปรียบเทียบการใช้อีเมลล์จะอยู่ที่ 64% ของผู้ใช้ทั่วโลก (80%ของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา) ตัวเลขของการค้นหาผ่านทางคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในสหรัฐอมริกา (ไม่รวมพวกการค้นหาที่จำเพาะเจาะจงบนนามานุกรมท้องถิ่นและแผนที่) มีการเติบโตจาก 7 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ไปถึงเกือบ 18 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าความนิยมเหล่านี้จะค่อนข้างเริ่มทรงตัวในปีล่าสุดนี้ก็ตาม

ในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงปี 2009 - 2012 google ก็ยังคงเป็นผู้นำในด้านของการค้นหาผ่านทางคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะมากที่สุด โดยครองส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 66% Yahoo เสียส่วนแบ่งทางการตลาดไปเหลือเพียง 12% ส่วน Microsoft’s Bing ได้มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 16% Ask อยู่ที่ 3% และAOL อยู่ที่ 1.5%

ตลอด5ปีที่ผ่านมา การเติบโตของระบบการค้นหาโดยทั่วไปจะพบว่ารายได้หลักๆมาจากในส่วนของการซื้อพื้นที่โฆษณาบน search engine และยังมีการเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในทุกๆปี ซึ่งรวมถึงในปี 2012 นี้ด้วยที่ยังมีการเติบโตอยู่ที่ 17% โดยที่สัดส่วนรายได้ของ google แทบจะทั้งหมดมาจากการโฆษณาบนระบบการค้นหา(PPC)

การเติบโตของระบบการค้นหาผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆในขณะที่การค้นหาผ่านอุปกรณ์ตั้งโต๊ะนั้นลดลง เนื่องมาจากการปล่อย iphone ของ apple ในปี 2007 ทำให้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและlaptops ไม่ใช่อุปกรณ์เพียงอย่างเดียวที่จะสามารถเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้

ในปี 2012 พบว่า 15% ของระบบการค้นหามาจากการใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยกว่า 30%ใช้ในการค้นหาร้านอาหาร และกว่า 50% ใช้ในการเข้าสู่ social network

Google เป็นผู้ครองตลาดการโฆษณาผ่านทาง mobile search แทบทั้งหมดแต่การเข้าถึงผู้โฆษณาผ่านทาง mobile search ยังต่ำกว่าการเข้าผ่านพวกคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แต่ในทางออฟไลน์นั้นเช่น การไปที่ร้านโดยตรงหรือโทรศัพท์ติดต่อก็ยังทำได้ดีอยู่

ในปี 2007 การค้นหาแบบจำเพาเจาะจง (มีการจัดเป็นหมวดหมู่) ได้เริ่มกลายเป็นปัจจัยสำคัญของการตลาดในระบบการค้นหา จากการเกิดขึ้นของ Yelp (ระบบที่มีการเก็บข้อมูลไว้เป็นหมวดหมู่ รวมถึงมีการรีวิวถึงการบริการต่างๆ), TripAdviser ซึ่งนำเสนอเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและโรงแรม, Zagat, Opentable และ Urbanspoon ที่สำหรับการรีวิวร้านอาหาร ซึ่งจากการเกิดแหล่งการเข้าถึงเหล่านี้เป็นการรวมหมวดหมู่ของข้อมูลที่ครอบคลุมกว้างขวางรวมเข้ากับการรีวิวจากลูกค้าที่เป็นตัวสะท้อนถึงแนวโน้มตลาดขณะนั้น และทำให้ผู้คนได้รู้จักการใช้งานของระบบการค้นหาสถานที่ต่างๆได้

จากการเข้ามามีบทบาทของผู้บริโภคในการใช้บริการต่างๆได้เป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่เว็บไซต์ อีกทั้งยังเป็นการทำให้เกิดสังคมย่อยๆ ภายในเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งจากสิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้ผู้สังเกตการณ์มีการคาดเดาว่า social network จะมีบทบาทที่สำคัญต่อผู้ใช้ และนั่นเองทำให้มีการเกิดขึ้นของเฟสบุ๊คในช่วงเวลาต่อมา

ตลาดของโฆษณาออฟไลน์

ผู้ที่ทำสื่อทางออฟไลน์ เลือกที่จะทำโฆษณาผ่านบน Premium Content ที่ผู้อ่านสามารถอ่านได้ก็ต่อเมื่อเป็นสมาชิกหรือต้องเสียค่าธรรมเนียมในการอ่าน) โดยเลือกที่จะโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของผู้บริโภค ดังนั้นบริษัทที่ให้บริการทางด้านการเงินอาจเลือกโฆษณาบนหน้าของ wall street journal และพวกสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือนก็จะโฆษณาผ่านทางโทรทัศน์ในช่วงเวลากลางวัน เจ้าของเว็บไซต์หลายๆแห่งอย่าง Yahoo และ AOL ก็เลือกที่จะทำตามหลักการตลาดทางออฟไลน์ โดยพวกเค้าเลือกที่จะสร้างเว็บไซต์ที่มีContent คุณภาพสูงๆให้ตรงกับหมวดหมู่ทางออฟไลน์ เช่น Ivillage and slate.com เป็นผู้ชำนาญในเรื่องของรายละเอียดข้อมูลและลักษณะพื้นฐานของประชากรผู้บริโภค

ส่วนเจ้าของเว็บไซต์อื่นๆให้ความสำคัญในไอเดียของนักโฆษณาที่จะสามารถดึงดูดลูกค้าได้มากกว่าการโฆษณาผ่านทาง premium content โดยการที่จะสามารถดึงดูดลูกค้าได้ในที่นี้หมายถึงการติดตามดูจากพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตในอดีต ดังนั้นเมื่อผู้ชมเข้ามาเล่นอินเตอร์เน็ตเมื่อใด ผู้โฆษณาก็จะส่งโฆษณาไปยังผู้ชม โดยโฆษณาลักษณะนี้จะทำการเชื่อมต่อให้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์หลักของตัวสินค้านั้นได้โดยตรง

ผู้ที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ก็ยังได้คำนึงในแง่ของต้นทุนโดยระบุว่าในการทำพวกแบนเนอร์โฆษณาแล้วส่งไปตามหน้าที่มีผู้ชมอยู่นั้น มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการทำ premium content เพราะการที่มีการโฆษณาแบบอัตโนมัติและเครือข่ายของการโฆษณาในลักษณะนี้อาจเป็นการทำให้ได้รับความสนใจจากผู้ชมโดยไม่ต้องใช้มีการลงทุนในการจูงใจลูกค้ามากมายแต่อย่างใด บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้ทำการโฆษณาในลักษณะนี้ให้คือบริษัท AdX ซึ่ง google เป็นเจ้าของอยู่ โดยในปี 2012 ค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาเมื่อครบ 1,000ครั้ง มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้โฆษณาต้องการได้รับความสนใจจากลูกค้ามากกว่าการทำpermium site

ตลาดของการทำการค้าปลีกบนโลกอินเตอร์เน็ต

ร้านค้าปลีกส่วนใหญ่ในอเมริกาก็ยังนิยมทำการค้าผ่านทางออฟไลน์ โดยขึ้นอยู่กับว่าจะมีการแบ่งหมวดหมู่แบบใดโดยถ้ารวมทั้งหมดการค้าปลีกผ่านระบบออนไลน์อยู่ที่เพียง 5% ส่วนถ้าไม่นับรวมพวกสินค้าในกลุ่มประดับยนต์, อาหารและเฟอร์นิเจอร์ สัดส่วนจะอยู่ที่ 10%

อย่างไรก็ตามพวกธุรกรรมทางการค้าปลีกทีความเกี่ยวข้องกับการค้นหาผ่านทางออนไลน์ โดยอาจเป็นไปได้ว่า 15%ของการค้าปลีกมีการเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ทผ่านการจับจ่ายใช้สอย

ในปี 2011 นี้ผู้ค้าปลีกบนออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดคือ Amazon ทีมูลค่าอยู่ที่48พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ที่สองคือ Apple ด้วยมูลค่าที่ 15.8พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ อันดับสามคือ Staples Walmart มาในอันดับสี่ และอันกับห้าคือ Dell

ในที่นี้ไม่นับรวมบริษัท E-Bay เพราะนับว่าเป็นแค่สื่อกลางระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ ซึ่งถ้านับรวมบริษัทก็จะอยู่ในอันดับสอง

ถ้าแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ จะเห็นได้ว่าการค้าปลีกยังเป็นพวกการขายแบบทั่วไปและมีแนวโน้มที่จะทำการตลาดผ่านทางออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ โดยผู้ที่ทำการขายของทั่วๆไป 4 แหล่งใหญ่ ได้แก่ Amazon, eBay, wal-mart ละ sears มีการทำการค้าผ่านระบบออนไลน์อยู่ 50% ของร้านค้าปลีกทั้งหมดที่ทำผ่านออนไลน์ โดยในหมวดที่ มาเป็นอันดับสองได้แก่ พวกสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิก โดยอยู่ที่ 18% และสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องใช้ในสำนักงานมาเป็นอันดับสาม ส่วนในกลุ่มสินค้าประเภทอื่นๆ ยังมีการใช้ทางออฟไลน์มากกว่า

การแผ่ขยายของการค้าขายของผู้ค้าปลีกและการทำการค้าปลีกผ่านทางออนไลน์ทำให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นโดยกว่า 95% ของผู้ค้าปลีกทั้งหมดที่ทำการค้าผ่านทางออนไลน์ยังมีขนาดบริษัทที่เล็กอยู่ ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้สินค้าเลยยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ดังนั้นเราควรต้องสร้างลักษณะพิเศษอะไรที่ทำให้คนจดจำได้ เช่น Groupon, Etsy, และ GiltGroup สามตัวนี้เป็นเสมือนแม่แบบที่ประสบความสำเร็จในการทำการค้าปลีกผ่านทางระบบออนไลน์

สรุป

ในด้านเศรษฐกิจ บรรณาธิการท่านหนึ่งได้บอกไว้ว่า 4 ยักษ์ใหญ่ในยุคของโลกแห่งอินเตอร์เน็ตอย่าง Google, Apple, Facebook และ Amazon เป็นเสมือนกับสิ่งมีชีวิตที่วิเศษสุดๆเท่าที่โลกใบนี้จะเคยมีมา โดยสร้างให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆมากมายและมีการแผ่ขยายออกไปในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ทำให้เกิดการเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคและธุรกิจอย่างมากมาย นอกจากนี้ยังเป็นการเอื้อให้เกิดการกล่าวสุนทรพจน์อย่างเสรีภาพ และช่วยให้เกิดการแพร่กระจายความเป็นประชาธิปไตย, สิทธิเสรีภาพที่ควรจะมี แต่ในทางกลับกันสิ่งเหล่านี้ก็อาจเป็นตัวยั่วยุให้เกิดทั้งความกลัวและความสงสัยอีกด้วย

ด้วยขนาดและความเร็วในการเติบโตของบริษัททั้ง 4 นี้ ย่อมทำให้คู่แข่งเกิดความสั่นไหวได้ บริษัทเลยยิ่งมีการสร้างบริการต่างๆให้สะดวกต่อการใช้งาน ตอบรับต่อความต้องการของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเหล่านี้ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนไปใช้สิ่งอื่นได้

ในด้านของการทำการตลาดของบริษัทที่มุ่งเน้นในการทำสื่อผ่านทางระบบออนไลน์ หรือการทำการค้าผ่านทางนี้ ก็ยังมีข้อโต้เถียงกันอยู่ว่าสรุปแล้วมัยดีจริงหรือ

ซึ่งจากการเกิดขึ้นของโทรศัพท์มือถือ แหล่งช๊อปปิ้งและพวกเครือข่ายโทรทัศน์ในทศวรรษที่ 20 นี้เอง ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งรูปแบบเหล่านี้ก็ได้ช่วยให้การตลาดของบริษัทต่างๆประสบความสำเร็จอย่างมากและเป็นเหมือนตัวกำหนดผู้แพ้หรือผู้ชนะในธุรกิจได้เลย

Search Engine ได้ทำการปฏิวัติการทำการตลาดโดยทิ้งการใช้การโฆษณารูปแบบเก่าๆอย่างพวกหนังสือพิมพ์หรือแค๊ตตาล๊อก แต่มามุ่งให้ความสนใจกับการทำการตลาดผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างโทรศัพท์มือถือแทน

การเกิดขึ้นของธุรกิจ e-commerce ก็ได้แสดงให้เห็นว่าผู้ขายยอมที่จะจ่ายเงินหรือค่าธรรมเนียมต่างๆให้แก่ Google หรือ Yahoo เพื่อให้ผู้คนสามารถเข้าถึงและรู้จักร้านค้าของตัวเองมากขึ้น ซึ่งก็ทำให้เกิดคำถามต่อมาว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่อเมซอนจะยอมให้ระบบการค้าขายแบบนี้เกิดขึ้นเพราะอเมซอนเป็นผู้บุกเบิกการทำธุรกิจแบบพึ่งพาตัวเองผ่านระบบดิจิตอลมาก่อน

ดังนั้นในทุกๆรูปแบบของธุรกิจจะต้องมีการทดลองหาแนวทางใหม่ๆในการตอบโจทย์ผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา เพราะอนาคตของตลาดและการทำการตลาดจะไม่มีวันหยุดนิ่ง เราจึงต้องปรับตัวให้ทันเสมอ

Amazon Business Model Analysis

Sources: http://businessmodelhub.com/photo/amazon-business-model-canvas

1. Customer Segments

1.1. Mass Market ผู้คนที่ต้องการซื้อสินค้าทางออนไลน์ทั่วโลก

1.2. Web services สำหรับธุรกิจที่ต้องการเช่าบริการ Could computing

2. Value Propositions

2.1. Trusted brand ความน่าเชื่อถือของบริษัท ในการจัดส่งสินค้าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และตรงเวลา ลูกค้าจะได้สินค้าที่ตัวเองสั่งอย่างแน่นอน

2.2. Easy to find merchandises ช่วยเหลือให้ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย ด้วยระบบการค้นหาที่มีประสิทธิภาพ

2.3. A lot of details and open source of information ให้ข้อมูลลูกค้าอย่างละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ขายผ่านช่องทางของตัวเอง โดยมีการเปิดให้ลูกค้ารายอื่นๆเข้ามาเขียน comment เกี่ยวกับสินค้าตัวนั้นๆ เพื่อทำให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่เป็นจริงจากผู้ใช้รายอื่นๆ

2.4. Variety of products นำเสนอคุณค่าในแง่ความหลากหลายเนื่องจากไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่เหมือนร้านค้าทั่วไป ทำให้ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบสินค้าแบบต่างๆได้อย่างครอบคลุม และมีโอกาสเลือกสินค้าที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง

2.5. Lower Prices สามารถนำเสนอราคาที่คุ้มค่าเนื่องจากมีความได้เปรียบในแง่ cost structure โดยเกิดจากการที่กิจการไม่ต้องลงทุนหน้าร้าน ทำให้สามารถลดต้นทุนส่วนนี้ได้มหาศาลทำให้เกิดข้อได้เปรียบคู่แข่งที่เป็นร้านค้าปลีกทั่วไป นอกจากนี้บริษัทยังมีความได้เปรียบในเรื่องของภาษี เนื่องจากหลายๆรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายไม่เก็บภาษี sales tax ของร้านค้าออนไลน์

3. Channels
ช่องทางการติดต่อ,จัดจำหน่ายสินค้า,ทำการตลาดของบริษัทเป็นช่องทาง Online ทั้งหมด ได้แก่
• www.amazon.com
• Mobile Application
• Affiliate sites

4. Customer Relationships

4.1. Automated services จะคล้ายคลึงกับระบบบริการตนเอง แต่จะเพิ่มเติมการเก็บข้อมูลการซื้อสินค้าในอดีตของลูกค้าแต่ละคนและจะนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างระบบ Business intelligence เพื่อที่จะเข้าใจความต้องการหรือพฤติกรรมความชอบของลูกค้าคนนั้น เพื่อที่ระบบจะได้นำเสนอสินค้าในการซื้อครั้งถัดไปได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าคนนี้โดยอัตโนมัติ

4.2. Co-creation การที่บริษัทเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถวิพากษ์วิจารณ์สินค้าที่ขายผ่านเว็บของบริษัทได้โดยเสรีนั้น จะทำให้ลูกค้าคนอื่นๆมีความเชื่อมั่นในตัวบริษัทมากขึ้นว่าบริษัททำเพื่อลูกค้าอย่างแท้จริง ทำให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือสูงในสายตาของลูกค้า ถือเป็นการร่วมกันสร้างมูลค่านั่นเอง

5. Revenue Streams

5.1. Sales margin ได้ส่วนต่างราคาจากสินค้าที่ขายเหมือนกับร้านค้าปลีกทั่วไป

5.2. Fee from web services ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ Amazon Web Services ซึ่งเป็นบริการทางด้าน Could computing

5.3. Fee from business associates ค่าธรรมเนียมจากการที่ให้บริการด้าน Affiliate Marketing

6. Key Resources

6.1. IT infrastructure คงปฏิเสธได้ยากว่าระบบ IT ที่ยอดเยี่ยมมีความสำคัญอย่างยิ่งในธุรกิจ e-commerce เนื่องจากต้องตอบสนองความต้องการที่รวดเร็วและมีจำนวนมากของลูกค้า

6.2. Talented human resources บริษัทให้ความสำคัญกับพนักงานที่เป็นคนเก่ง (Talent ) เป็นอย่างมากเนื่องจากบริษัทอยู่ในธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา เพราะฉะนั้นทรัพยากรบุคคลจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งของบริษัท เพราะบริษัทต้องการ Innovation ในด้านกระบวนการและBusiness Model ตลอดเวลา โดยที่บริษัทเสนอความเป็นเจ้าของกิจการให้กับพนักงานด้วยโครงการ stock option plan เพื่อรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้นั่นเอง

6.3. Branding มันเป็นเพียงของไม่กี่อย่างในโลกธุรกิจที่ลอกเลียนแบบได้ยาก มันคือ perception ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท ไม่ว่าจะเป็นในแง่คุณภาพ,ความน่าเชื่อถือ,ความสะดวกรวดเร็ว Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

7. Key Activities

7.1. International Merchandising fulfillment การหาพันธมิตรและผู้ร่วมขายเพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาความเป็นผู้นำด้านการค้าปลีกออนไลน์ของบริษัทเนื่องจากความหลากหลายของสินค้าเป็นหนึ่งในความได้เปรียบของบริษัทที่มีเหนือคู่แข่งอื่นๆ

7.2. Software development and maintenance บริษัทจำเป็นที่จะต้องรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มความสามารถทางด้าน software ของบริษัทตลอดเวลาเนื่องจากข้อมูลจำนวนมหาศาลใน business process ของบริษัทมีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกวัน

7.3. Hardware development and manufacturing เน้นพัฒนาไปที่เครื่อง kindle ซึ่งหลักๆแล้วเอาไว้ใช้อ่าน e-book เพื่อเสริมกับธุรกิจ online retailer ของ Amazon นั่นเอง ในระยะหลังๆก็เริ่มพัฒนา Kindle ออกมาหลายรูปแบบเพื่อจับกลุ่มตลาดอื่นๆเช่น ตลาด tablet ระดับกลาง

8. Key Partnerships

8.1. Business associates ผู้คนทั่วโลกที่ต้องการเป็นผู้ร่วมขายสินค้าผ่านช่องทางของ Amazon

8.2. Participating retailer บริษัทด้านค้าปลีกรายใหญ่ต่างๆที่เป็นพันธมิตรกับ Amazon เช่น Best Buy ,CVS Pharmacy, Office Depot, Toys R Us, etc.

9. Cost Structure

9.1. Logistics and supply chain management บริษัทให้ความสำคัญกับกระบวนการในห่วงโซ่อุปทานอย่างมากตั้งแต่ขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้าจนไปถึงกระบวนการจัดส่งสินค้าไปสู่มือลูกค้าอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพราะฉะนั้นต้นทุนในส่วนนี้จึงมีสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก

9.2. IT maintenance and upgrades เป็นต้นทุนหลักตัวหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้าน online อยู่แล้ว

9.3. Marketing Cost จะเกี่ยวกับกิจกรรมพื้นฐานทางการตลาดต่างๆเช่น public relations
expenditures, business development, traditional advertising, etc
flickr:9655550870
ภาพ Amazon business model

Apple Business Model Analysis

1. Customer segment
ในปัจจุบันสินค้าของบริษัท Appleทั้งหมดโฟกัสที่ตลาด mass market ซึ่งApple โดยไม่แบ่งแยกระหว่างกลุ่มลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น อายุ , เพศ , การศึกษา โดยอีกความหมายคือเจาะตลาดไปที่ลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่มีความต้องการและปัญหาคล้าย ๆ กัน เช่น ต้องการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต้องการความทันสมัยชอบความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ๆอย่างยกตัวอย่างเช่นวงการ การศึกษา , ธุรกิจ , การแพทย์, นัก creative และในปัจจุบันรวมไปถึงอุตสหกรรมการบิน ซึ่งสินค้าของบริษัท Appleสามารถตอบโจทย์ได้ทั้งหมด ซึ่งสามารถวัดได้จาก ยอดขาย, จำนวนผู้ใช้งาน และ การคาดการณ์ในอนาคต

2. Value Proposition

บริษัท Apple ได้มีการปรับปรุงค้นคว้าพัฒนาอยู่ตลอดเพื่อสร้างคุณค่ากับสินค้าของตนเองทั้งในด้านของคุณภาพและปริมาณ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุดมากที่สุด สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้

2.1. Design
Apple ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ทุกชนิด โดยมีหลักกลยุทธ์คือ ความเรียบง่ายคือความสุข กล่าวโดย Jonathan lves ซึ่งเป็น designer ของบริษัท Apple โดยมีหลักคือ พยายามตอบโจทย์ของมนุษย์ที่ต้องการความเรียบง่ายชัดเจนแต่แฝงไปด้วยคุณค่า

2.2. Hardware & Software
Apple ได้มีการออกแบบ พัฒนา รวมไปถึงการปรับปรุงแก้ไขผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้มีคุณสมบัติที่ดียิ่งขึ้น เช่น ปรับปรุงระบบปฏิบัติการ IOS , การพัฒนา I tunes และ application ต่าง ๆ ให้ทันสมัยและสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน

2.3. Brand
Apple ได้สร้าง Brandขึ้นมาเพื่อให้เกิดความมีเอกลักษณ์พร้อมทั้งมีมูลค่าทางจิตใจไม่ว่า Apple จผลิตสินค้าอะไรก็ตามโดยที่ลูกค้าจะไม่สนใจสิ่งใดอื่น ๆ เพราะ Apple ให้ลูกค้ารับรู้ว่า Apple’s brandนั้นให้ความเชื่อมั่น , ความประทับใจ , ความพอใจ , ความไว้วางใจรวมไปถึงทัศนคติที่ดีต่อสินค้านั้น ๆ

2.4. Convenience / usability
ความสะดวกสบายที่ Apple ที่สร้างขึ้นมานั้นมีหลากหลาย เช่น ระบบ touch screen , การใส่สิ่งต่าง ๆ หลาย ๆ อย่างเข้าไปในอุปกรณ์เดียวทั้ง โทรศัพท์ , คอมพิวเตอร์ , กล้องถ่ายรูป และนอจากนั้นก็ได้ผลิตสินค้าและบริการที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น Ipod , Ipad

3. Channels

ช่องทางการจัดจำหน่ายของ Apple หลัก ๆ สามารถแบ่งได้ 4 ช่องทางใหญ่ ๆ คือ
1. www.apple.com
2. Apple retail store
3. A reseller
1. Awareness
2. Evaluation
3. Purchase
4. Delivery
5. After sales

4. Customer Relationship

จากการวิเคราะห์ส่วนในด้านการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าของ Apple นั้นเกิดมาจากแรงจูงใจ 2 ข้อคือ

4.1. Customer Retention คือเป็นการรักษาลูกค้าเดิมให้คงอยู่กับ Apple ให้นานที่สุด ในฐานะเจ้าของสินค้าต้องมีการตอบสนองความต้องการลูกค้าอย่างรวดเร็ว ตรงประเด็น ตรงใจ ให้บริการที่เป็นเฉพาะตัวลูกค้าให้ผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการลูกค้า ผ่านทาง การพัฒนาของตัวผลิตภัฒฑ์ และ software ให้ดียิ่งขึ้นและล้ำสมัย

4.2. Add on selling คือ Apple ได้มีการผูกพันธ์โดยนัยกับสินค้าที่ลูกค้าได้ซื้อไปยกตัวอย่างเช่น I phone เมื่อลูกค้าได้ซื้อสินค้าไปแล้วก็จำเป็นต้อง download application ต่าง ๆ ซึ่งที่ต้องมีค่าใช้จ่ายทางด้านลิขสิทธ์อยู่ด้วย
ช่องทางที่ Apple สร้างสายสัมพันธ์ลูกค้าประกอบไปด้วย 2 ช่างทางคือ

1) Personal Assistance
เป็นการให้ความช่วยเหลืออำนวยความสะดวกส่วนบุคคลทั้งก่อนการขายและหลังการขายโดยให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า โดยพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์และสามารถให้คำแนะนำแก่ลูกค้าได้ผ่านทาง Apple store และ Reseller Store นอกจากนั้น Apple ยังมีการบริการ Apple care+ และ AppleCare protection plan เพื่อเป็นการรับประกันสินค้าด้วย

2) Self – Service

Apple สร้างบริการนี้มาเพราะต้องการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่มีความต้องการซื้อสินค้าผ่าน internet ที่ไม่ต้องเสียเวลามาซื้อผ่าน Apple store หรือ Reseller โดยที่ website ก็มีการอธิบายคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ทุกตัวอยู่แล้ว

5. Revenue Streams

รายได้ของ Apple นั้นสามารถแบ่งได้หลายช่องทาง ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
5.1. Sale of product i phone / i pod / i pad / Mac
5.2. Media sales / licensing Application and Music in i tune
5.3. Rental and subscription fees Movie / Software

6. Key Resources
ทรัพยากรหลักที่สำคัญที่สุดขององค์กรในการทำธุรกิจ โดย Apple ให้ความสำคัญ 3 สิ่งด้วยกันคือ

6.1. Human เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนขององค์กรว่าไปจะในทิศทางไหนและเป็นปัจจัยที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุด โดยบริษัท Apple ให้ความสำคัญกับความสร้างสรรค์โดยพนักงานที่มาจากหลากหลายอาชีพ โดยที่ Apple ต้องการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง โดยมี Steve jobs เป็น role model ให้กับบริษัท ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้เป็นตัวสนับสนุนให้เกิดทีมที่ดีในการพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ

6.2. Intellectual เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ Apple ได้ใช้ทรัพยากรบุคคลสร้างขึ้นมา อย่างเช่น software ระบบปฏิบัติการ ios ของ i phone และ I pad หรือจะเป็น ระบบปฏิบัติการ os x ของ MAC โดยเป็นที่รู้กันดีว่าระบบของ Apple เป็นระบบที่ป้องกันความเสี่ยงได้ดีที่สุดจากไวรัสและมีความเสถียรของระบบที่มากกว่าคู่แข่งอย่าง Android และในส่วนของรูปแบบการออกแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะโดยที่มีความเรียบง่ายลึกล้ำและสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ตรงจุดและกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป

6.3. Physical assets ในที่นี้หมายถึง บรรดาเครื่องจักรทั้งหลายที่ใช้ในการผลิตสินค้าทั้งหมดของ apple และยังรวมไปถึงสถานที่ทำงานซึ่งออกแบบให้รู้สึกเหมือนอยู่บ้านและผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน

7. Key Activities
คือกิจกรรมหลักที่ Apple ต้องทำเพื่อที่จะทำให้บริษัทมีการดำเนินงานได้อย่างประสบความสำเร็จ จากข้อมูลที่ศึกษามาสามารถแบ่งได้ 4 ข้อ

7.1. Production เป็นกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผน ออกแบบ การผลิต การขนส่ง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุดและเพื่อตอนสนองความต้องการของลูกค้าให้ตรงจุดที่สุด

7.2. Software development ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของ Apple ที่ต้องคอยดูแลอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงและพัฒนาต่าง ๆ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาตอบสนองลูกค้าได้ดีที่สุด นอกจากนั้นก็เพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้และยังรวมไปถึงการรักษาส่วนแบ่งของตลาดไว้ให้ได้

7.3. Marketing การตลาดนั้นก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีความสำคัญมากในการที่จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้และยังรวมไปถึงการแข่งขันในด้านส่วนแบ่งทางการตลาดด้วย โดยล่าสุด Apple ได้มีการใช้กลยุทธ์การตลาดแบบ Ecosystem คือ บริษัทจะเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยการที่ทำให้ลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของ Apple นั้นเมื่อใช้อันหนึ่งก็จะมีแนวโน้มที่จะไปใช้ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของ Apple ด้วย การที่ Apple ทำแบบนี้เพราะเพื่อต้องการรักษาลูกค้าเดิม ดึงลูกค้าใหม่ และเพิ่มการต่อยอดของลูกค้า

7.4. Quality control
เป็นสิ่งที่ถือว่าสำคัญมากที่ขาดไม่ได้เพราะ Apple ต้องการควบคุมคุณภาพของระบบการผลิตทั้งหมดเพื่อที่ให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ถูกผลิตออกมากให้มีคุณภาพมากที่สุดและลดของเสียให้ได้มากที่สุด

8. Key Partnership
Appleได้มีการร่วมพันธมิตรธุรกิจอยู่หลาย ๆ แบบซึ่งมีเหตุผลคือเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ลดความเสี่ยง , เพิ่มรายและกำไร และเกิดการประหยัดต่อขนาด
1. Manufacturers < OMEs >
2. Media industries
3. App store developers
4. Microsoft
5. AT&T
6. Yahoo!

9. Cost Structure
ส่วนนี้เป็นด้านของโครงสร้างของต้นทุน คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการภายใต้โครงสร้างธุรกิจ การสร้างสรรค์ การขนส่ง รวมไปถึง การรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้า และ การสร้างรายได้
ทางด้าน Apple ได้มุ่งเน้นไปที่ 4 ข้อหลักๆ คือ

1. Cost driven
Apple ได้มีการโยกย้ายการผลิตผลิตภัณฑ์ไปสู่ประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่าเพื่อให้เกิดต้นทุนการผลิตที่ลดลง เช่น i phone ได้มีการผลิตชิ้นส่วนอยู่ที่สิงคโปร์และไต้หวันและนำไปประกอบขั้นสุดท้ายที่ประเทศจีน เป็นต้น

2. Economy of scale
โดยที่ Apple ได้ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีจำนวนมากพอที่ทำให้เกิดความประหยัดต่อหน่วยเพิ่มขึ้นหรือมองในอีกด้านคือ Marginal cost < Marginalrevenue
โดยที่จะมีความสำคัญในการแข่งขันในระยะยาว

3. R&D
เนื่องจากบริษัท Appleเป็นบริษัทที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ IT ที่ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้
ต้องมีต้นทุนในการค้นคว้าและวิจัยเพื่อให้เกิดการพัฒนายิ่งขึ้นไป

4. Marketing and Advertising cost
เมื่อผลิตภัณฑ์ได้ถูกผลิตออกมาแล้วก็จำเป็นต้องมีต้นทุนทางด้านการตลาดและโฆษณาเพื่อที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปหรือกลุ่มของฐานลูกค้าเดิมของ Apple อยู่แล้ว

Facebook Business Model

1. Customer Segments

- Internet Users คือ กลุ่มผู้ใช้งาน internet ทั่วไป

- Advertisers and Marketers คือ กลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้ Facebook เป็นเครื่องมือทางการตลาดในการนำเสนอสินค้าและบริการ

- Developers คือกลุ่มนักพัฒนาที่เขียนโปรแกรมเชื่อมต่อกับ Facebook เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่อยอดต่างๆ มากมาย

2. Value Propositions
คุณค่าที่ Facebook นำเสนอแก่ผู้ใช้ทั่วไป คือ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสาร เชื่อมโยงกับเพื่อนๆได้สะดวกยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าจะอยู่กันคนละสถานที่ก็ตาม ผู้ใช้สามรถทราบข่าวและติดตามความเคลื่อนไหวของเพื่อนหรือคนรู้จักได้ตลอดเวลา

คุณค่าที่ Facebook นำเสนอแก่นักการตลาดและนักโฆษณา คือ ช่วยเป็นช่องทางในการสื่อสาร โฆษณาถึงลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายได้ โดยผู้โฆษณาสามารถสร้างเพจและเนื้อหาที่กลุ่มลูกค้าสนใจและช่วยให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกับผู้ขายได้

ในส่วนของนักพัฒนา Facebook ช่วยทำให้นักพัฒนาสามารถนำโปรแกรมต่างๆมาใช้ร่วมกันกับ Facebook ได้โดยมีข้อมูลผู้ใช้เฉพาะกลุ่มตามความสนใจ รวมถึงยังมีช่องทางการชำระเงินที่ทำให้ผู้ใช้แอพพลิเคชั่นสะดวกในการชำระเงิน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่านักพัฒนาจะสร้างสรรค์แอพพลิเคชั่นบน Facebook อย่างไรให้น่าสนใจ

3. Channel
ช่องทางที่สามารถเข้าถึง Facebook และช่องทางที่สามารถสร้างรายได้ให้กับ Facebook ได้แก่

- Website www.facebook.com เป็นช่องทางที่ทาง Facebook สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ใหม่เข้ามาสมัครเป็นสมาชิกและใช้สำหรับ login เข้าไปในหน้า Facebook profile ของผู้ใช้ได้

- Mobile Applications Applications ต่างๆบนโทรศัพท์มือถือที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบ Facebook ได้อย่างรวดเร็ว เช่น Facebook Camera Facebook Messenger Facebook สำหรับ ipad เป็นต้น

- Facebook Ads. Facebook Ads. สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นการเปิดช่องทางให้ผู้ประกอบการที่สนใจจะนำเสนอสินค้าหรือบริการของตนเองมาลงโฆษณาบนหน้าเพจของผู้ใช้ Facebook

- Facebook Pages เป็นการเปิดช่องทางให้บุคคล บริษัท หน่วยงาน หรือร้านค้า เข้ามาสร้างหน้าเพจของตนเองเพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลหรือเรื่องราวของตนเองให้ผู้ใช้ Facebook คนอื่นได้รับรู้

- APIs Facebook ได้สร้าง API ( Application Programming Interface) ขึ้นมาเพื่อรองรับการเรียกขอข้อมูลจากโปรแกรมอื่น ๆ เพื่อให้ผู้พัฒนา Application หรือ websiteอื่น สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับ Facebook ได้

4. Relationship

- Facebook ได้สร้าง Facebookforbusiness ขึ้นมาเพื่อสร้างสายสัมพันธ์กับกลุ่มผู้โฆษณาและนักการตลาด โดยทำให้คนกลุ่มนี้มีความเข้าใจและสามารถสร้างโฆษณาในระบบ Facebook ได้ง่ายยิ่งขึ้น

- สำหรับนักพัฒนาโปรแกรม หรือ Application ต่างๆ Facebook ได้สร้าง Faceboook developers ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการจะเชื่อมต่อ โปรแกรม Website หรือ Applications เข้ากับระบบ Facebook

- สำหรับผู้ใช้ทั่วไป Facebook ได้สร้างหน้าเพจของ Facebook เอง เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร หรือกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับบริษัท โดยผู้ใช้ Facebook สามารถติดตามความเคลื่อนไหวและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นได้

5. Revenue Streams

รายได้ของ Facebook ส่วนใหญ่นั้นมาจากค่าโฆษณา โดยการคิดค่าโฆษณานั้นจะแบ่งเป็น
- Pay for Impressions (CPM) คือจะคิดค่าโฆษณาเมื่อโฆษณาถูกแสดง 1,000 ครั้ง

- Pay for Clicks (CPC) คือจะคิดค่าโฆษณาเมื่อมีคนคลิกโฆษณา
นอกจากนี้ Facebook ยังมีรายได้จากค่าธรรมเนียมจากการชำระเงินบนแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ทางนักพัฒนามาต่อยอดบนระบบ
6. Key Resources

- Facebook Platform คือ รูปแบบของระบบโปรแกรมที่ Facebook สร้างขึ้นเพื่อให้บริการทางด้าน social network สำหรับนักพัฒนาโปรแกรม โดยนักพัฒนาโปรแกรมสามารถที่จะนำแอพพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นมาเชื่อมต่อเข้ากับ Facebook ได้

- Technology Infrastructure คือ ปัจจัยต่างๆทั้งที่เป็น ฮาร์ดแวร์ หรือ ซอฟแวร์ ที่ช่วยในการส่งเสริมการรับส่งข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการกระจายข้อมูล จากผู้ให้บริการไปยังผู้รับบริการ ทำให้ผู้บริการและผู้รับบริการสามารถที่จะเชื่อมโยงกันได้

7. Key Activities

- Platform Development เน้นการพัฒนารูปแบบโปรแกรมของ Facebook ให้มีประสิทธิภาพและมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการออกแบบเครื่องมือต่างๆเพื่อช่วยให้นักพัฒนาแอพพลิเคชั่น สามารถนำโปรแกรมมาใช้ร่วมงานกับ Facebook ได้ง่ายขึ้น เช่นการสร้าง Graph API ซึ่งเป็นระบบที่ผู้พัฒนาใช้เรียกข้อมูลใน Facebook เพื่อเชื่อมต่อแอพพลิเคชั่นเข้ากับระบบ การสร้าง Authentication เพื่อที่จะทำให้ผู้ใช้ Facebookสามารถเข้าถึง Application ได้ หรือการสร้าง Social plugins (Like button) เป็นต้น

- Data Center Operation Management เนื่องจาก Facebook เป็นผู้ให้บริการทางด้าน social network ดังนั้นศูนย์ข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญมาก เนื่องจากต้องรองรับข้อมูลมหาศาลจากผู้ใช้นับพันล้านคน ดังนั้นจึงต้องมีระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ดีและมีระบบการจัดส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทและทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

8. Key partner

Key Partner ของ Facebook คือ นักพัฒนาที่เขียนโปรแกรมแล้วนำมาเชื่อมต่อกับ Facebook เช่น เกมออนไลน์ โปรแกรมดูหนัง ฟังเพลง โปรแกรมอ่านหนังสือออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งการที่นักพัฒนาได้เชื่อมต่อโปรแกรมเข้ากับ Facebook ทำให้ผู้ใช้ Facebookเห็นความเคลื่อนไหวจากการที่เพื่อนแชร์ประสบการที่ได้ใช้โปรแกรมนั้นๆบนหน้า News Feed เช่น ฟังเพลงจาก Deezer, Spotify, Pandora หรือดูหนังจากบริการของ Hulu เป็นต้น จึงทำให้ Facebook มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาและมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น

9. Cost Structure

- Research and development เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่รวมทั้งการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆออกมาตอบสนองให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง Facebook ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น และพัฒนาให้Facebookสามารถทำงานร่วมกับระบบต่างๆได้ไม่ว่าจะเป็น ios Androidหรือ website อื่นๆ

- Marketing and sales เป็นค่าใช้จ่ายในการขายและการส่งเสริมการตลาด

- Data Center Cost ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบบริการและการกระจายข้อมูลของ Facebook ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูล รวมไปถึงค่าสถานที่ ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ ค่าใช้จ่ายพลังงานและแบนด์วิดธ์ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ค่าตอบแทนและเงินเดือนของพนักงานในทีม รวมทั้งบัตรเครดิตและค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลการทำธุรกรรมของลูกค้า

- General Administrative ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพนักงานบริหาร รวมถึงค่าปรึกษาทางด้านกฎหมายและการบัญชีและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
flickr:9652347139
ภาพ facebook business model

Google

การทำงานของ Google search

เมื่อ Page เขียนโปรแกรมเล็กๆ ประเภท Crawler ขึ้นมาตัวหนึ่ง ในห้องนอน ตอนที่ Page เริ่มเขียน crawler นี่ จำนวนหน้าเว็บทั่วโลกก็มีอยู่ประมาณ 10 ล้านหน้าเห็นจะได้ แต่จำนวนลิงค์ที่เชื่อมกันอยู่นี่คงนับไม่ถ้วน โดยหวังจะให้เจ้า Crawler ไต่ไปเก็บข้อมูลมาสร้างเป็นกราฟโดยอัตโนมัติ ในตอนนั้น เค้าอาจจะยังไม่รู้หรอก ว่าโปรแกรมเล็กๆที่เค้าเริ่มเขียนในห้องนอน จะเป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก ต่อจาก Internet

Crawler เป็นโปรแกรมเล็กๆโปรแกรมนึง ที่ทำหน้าที่ไปดึงเว็บเพจต่างๆมา ซึ่งปกติแล้วข้อมูลแสดงหน้าเว็บไซท์ที่เราเห็นนี่ เป็นแค่ text file หรือ ข้อมูลตัวอักษรธรรมดาๆนี่เอง (ลองกดที่เมนู view->source ดูนะครับ นั่นแหละคือข้อมูลของหน้าเว็บที่แท้จริง) พอโปรแกรมประเภท บราวเซอร์ เช่น IE หรือ FireFox ได้รับข้อมูลพวกนี้แล้วมันก็ทำการแปล และแสดงให้เป็นสิ่งที่คุณเห็นบนหน้าจอตอนนี้อีกที)

หลังจากที่โปรแกรมประเภท crawlwer ได้รับข้อมูลมาแล้ว มันก็จะทำการแยกข้อมูล และลิงค์(ที่จะไปหน้าอื่น) ออกมา

สมมุติว่าหน้าที่คุณอ่านอยู่ตอนนี้นี่ มีลิงค์ออกจากมันไป อีกประมาณ 30 ลิงค์ เจ้าตัว crawler ก็จะทำการจัดการเอาลิงค์เหล่านี้มาเข้าคิวเรียงกันไว้ แล้วก็ไล่ไต่ไปทีละลิงค์ตามคิว แล้วก็ไปดึงข้อมูลหน้านั้นมา แล้วแยกลิงค์แบบเดิมอีก แล้วลิงค์ที่ได้จากหน้าถัดไปนี้ก็จะเอามาเข้าคิว เรียงต่อกันไป เรื่อยๆ เพื่อจะทำการไปดึงข้อมูลมาในเวลาถัดๆไป เพราะฉะนั้นมันก็เลยให้ความรู้สึกคล้ายๆกับว่า เจ้า crawler มันค่อยๆคืบคลานออกจากจุดเริ่มต้นไปทีละน้อย ทีละน้อย

และแล้ว ในเดือนมีนาคม 1996 (เพียงแค่ไม่ถึงปีจากที่เค้าเริ่มศึกษา) Page ก็ปล่อยเจ้า crawler ตัวแรกให้เริ่มทำงาน โดยไต่จากหน้าเว็บเพจของเค้าเอง ที่อยู่บนเว็บไซท์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เจ้า crawler เวอร์ชั่นแรกของ Page ไต่ไปตามเว็บเพื่อเก็บแค่ ชื่อเว็บ และ ข้อมูลใน header เท่านั้นเอง แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มอย่างเป็นรูปธรรมของ Google (ที่ในปัจจุบันกลายเป็น ซุปเปอร์อภิมหาอมตะนิรันดร์กาล crawler ไปแล้ว เพราะมันไต่ไปเก็บข้อมูลทุกอย่าง ของทุกหน้าเว็บ) เพราะตอนนั้นขืนเก็บทุกอย่าง ทรัพยากรของระบบ เช่น memory หรือ ฮาร์ดดิสต์ ที่จะต้องใช้ในการจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ ก็คงต้องมีขนาดใหญ่มหึมา และมันก็มากเกินกว่าจะเป็นโปรเจ็คของเด็กนักเรียนคนนึง

โปรแกรมเล็กๆ ที่ถูกปล่อยออกจากห้องนอนที่หอพักนักศึกษาคนนึง ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ ที่ใหญ่ที่สุด รองจากการคิดค้นอินเตอร์เน็ต

Page และ Brin ได้ร่วมกันคิดหาสูตร หรือ วิธีคำนวณว่า จะให้คะแนนแต่ละหน้าเว็บเพจอย่างไรดี
เว็บเพจหนึ่งหน้า ถ้ามองให้ดีมันก็เป็นเหมือนผลงานวิชาการชิ้นนึง ภายในผลงานวิชาการนี้ ก็จะมีการอ้างอิงผลงานคนอื่น (หรือลิงค์ไปหาคนอื่นนั่นเอง) (แต่บ้านเราอาจจะไม่เป็นแบบนั้น เพราะบ้านเรา ถ้าเห็นว่าเรื่องไหนดี ก็ใช้วิธี cut-paste เนื้อหานั้นไปเลย โดยไม่ได้อ้างอิงที่มา นอกจากจะละเมิดลิขสิทธิแล้ว ยังถือว่าเป็นการเสียมารยาทอย่างรุนแรงด้วยครับ แม้ว่าจะนำไปใช้ในทางไม่ก่อรายได้ ที่อาจจะไม่ผิดลิขสิทธิในบางกรณี แต่ก็น่าจะมีมารยาทในการอ้างอิงถึงที่มาของเนื้อหานั้นด้วย ช่วยๆกันผลักดันให้มันไปในทางถูกต้องมากขึ้นนะครับ) เพราะฉนั้นหากหน้าเว็บใดมีคนอ้างอิงถึง (ลิงค์) ถึงหน้านั้นเยอะ ก็น่าจะแสดงว่าหน้านั้นมีข้อมูลที่ดี หรือ น่าเชื่อถือ ซึ่งหากมีการให้คะแนนแต่ละหน้าเว็บ Page คิดว่าการอ้างถึงจากเว็บอื่นก็จะมีส่วนสำคัญต่อคะแนน

ภายหลังเค้าตั้งชื่อเล่นระบบคิดคะแนนของเค้า ว่า Pagerank (ซึ่งล้อคำ 2 ความหมาย คำแรกคำว่า Page หมายถึงได้ทั้งหน้าเว็บ หรือ หมายถึงชื่อของเค้าเอง) ซึ่งก็ล้อเลียนการคิดคะแนนมาจากการอ้างอิงกันของผลงานวิชาการ เพราะเค้ารู้ว่า การอ้างอิงกันของเอกสารทำอย่างไร มีการให้คะแนน Citation Index อย่างไร และเค้าก็ได้เพิ่มเรื่องของการให้และลดคะแนนพิเศษด้วย หากว่าลิงค์ที่ลิงค์มาหาหน้าใดหน้าหนึ่ง เป็นลิงค์ที่มีคะแนนสูง เป็นเว็บที่มีความน่าเชื่อถือ เว็บที่ถูกลิงค์ ก็จะย่อมได้คะแนนสูงด้วย และหากนำเว็บมาเรียงลำดับกัน เว็บที่ได้คะแนนสูงกว่า ก็จะอยู่ลำดับต้นๆ ส่วนเว็บที่มีคะแนนต่ำก็จะอยู่ท้ายๆ

สมมุติว่าตอนนี้มีคนลิงค์มาหา เว็บ วิชาการ.คอม อยู่ 1000 ลิงค์ ในขณะเดียวกัน มีคนลิงค์ไปที่เว็บ ของเด็กชาย ก. จากจังหวัดสงขลา เพียง 10 ลิงค์ ทำให้ ณ ตอนนี้ ถ้าดูแค่จำนวนลิงค์เฉยๆ เว็บของ วิชาการ.คอม จะมีคะแนน สูงกว่า เว็บของ เด็กชาย ก และ ต่อจากนั้น ถ้า เว็บ วิชาการ.คอม มีลิงค์ไปยังเว็บของ สสวท. และ เว็บของเด็กชาย ก ก็ลิงค์มายังเว็บของ สสวท เช่นกัน ดังนั้น เว็บของ สสวท ก็จะไ้ด้คะแนน จาก เว็บของ วิชาการ.คอม มากกว่า จากเว็บของ เด็กชาย ก. ด้วยนั่นเอง (คือไม่ได้นับเฉพาะจำนวนของลิงค์) ซึ่ง Google ก็ทำการให้คะแนน แต่ละหน้าของเว็บ แบบนี้ไปเรื่อยๆ ไปเรื่อยๆ ไปเรื่อยๆ จนวนเกือบครบทั้งโลก คะแนนของแต่ละหน้า ก็ขึ้นอยู่กับคะแนนของหน้าทีลิงค์มาหามัน คะแนนของหน้าทีลิงค์มาหามัน ก็ขึ้นกับ คะแนนของหน้าทีลิงค์มาหามันก่อนหน้านี้ คะแนนของหน้าทีลิงค์มาหามันก่อนหน้านี้ ก็ขึ้นกับ คะแนนของหน้าทีลิงค์มาหามันก่อนหน้านี้ก่อนหน้านี้ ไปเรื่อยๆ

จินตนาการออกมั้ยครับว่า คณิตศาสตร์สำหรับคำนวณคะแนนของ Google Pagerank จะซับซ้อนขนาดไหน นั่นหล่ะของเล่นของนาย Surgey Brin เค้าหล่ะ

ตอนที่ทั้งสองคนคิดระบบให้คะแนนนี้ขึ้น ทั้งสองคนไม่ได้คิดถึงเรื่องของการค้นหาข้อมูลบนเว็บเลย ที่คิดอยู่ในหัวก็มีแต่เรื่องที่ว่า จะค้นหาให้ได้ว่าใครลิงค์มาที่เว็บเพจหน้าหนึ่งๆบ้าง (Backlinks) โดยที่ทั้งสอง ทำโปรเจ็ค Backrub นี้ มาจนถึงขั้นที่ รับ ลิงค์ (URL) มาหนึ่งลิงค์ มันก็จะให้ ผลลัพธ์ มาเป็น ลิงค์ที่ลิงค์มาหา (backlinks) ทั้งหมดที่ลิงค์มาหาหน้าที่กำหนด โดยเรียงลำดับตามความสำคัญ (เช่นถ้าใส่ เว็บ สสวท ไป ก็จะได้ทั้งเว็บ วิชาการ.คอม และ เว็บเด็กชาย ก. และเว็บอื่นๆ ที่ลิงค์มาหา สสวท เป็น ผลการค้นหา แต่เว็บ วิชาการ.คอม จะอยู่ด้านบนกว่า เว็บของ เด็กชาย ก. เป็นต้น)

ซึ่งเค้าก็พบว่าจริงๆแล้ว มันสามารถประยุกต์ ไปทำเป็น Search Engine น่าจะได้ หลังจากเล่นไปเล่นมากับ กราฟของเว็บ ที่ทั้งคู่สร้างขึ้นมา พบว่า การค้นหาข้อมูลทำได้รวดเร็ว และ ถูกต้อง อย่างไม่น่าเชื่อ ชนิดที่ทั้งสองคนยังงงว่าทำไม ไอเดียที่จะใช้เรื่องนี้ทำ Search Engine ถึงไม่ผุดมาในหัวตั้งแต่ต้น เพราะมันชัดเจนเหลือเกิน

หลังจากทดลองปรับแต่ง Backrub ให้กลายเป็น โปรแกรม Search engine ทำการค้นหาข้อมูล บนหน้าเว็บหน้าใดหน้าหนึ่ง (ผมละเชื่อเค้าเลย สองคนนี้ ปกติแล้วเรื่อง การค้นหาข้อมูลใน document นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่ได้ค้นกันแบบ เอาคำเทียบคำ แต่ต้องมีการแปลงรูปแบบของ ข้อมูลให้เป็นเมตริกซ์ ทั้ง SVM กับ LSI (Latent Sematic Indexing - เป็นวิธีการที่กำลังมาแรง) ก็สุดหิน ที่อยู่ในวิชา Information Retrieval - แต่สองคนนี้เล่นเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ชนิดที่ประมาณว่า ชั่วข้ามคืน) เค้าพบว่าผลการค้นหา ดีกว่า search engine ที่มีอยู่ในตอนนั้น เช่น AltaVista หรือ Excite มาก โดย Search Engine ที่มีอยู่นั้นมักจะให้ผลการค้นหา ที่ไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการหาจริงๆ เพราะอาศัยเพียงแค่การจับคู่คำ ไม่คำนึงถึงสัญญาณ หรือข้อมูลอื่นๆที่ใกล้เคียง search engine ใหม่ของพวกเค้า ไม่เพียงว่าผลการค้นหาจะดี แต่ ระบบการให้คะแนนนี้จะดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเว็บโตขึ้นเรื่อยๆ กราฟของเว็บโตขึ้นเรื่อยๆ ผลการค้นหาก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะจะมีตัวให้คะแนนซึ่งกันและกัน เยอะขึ้น ตรงนี้นี่เองที่

Google Business Model Analysis

1. Customer Segment
ในที่นี้ให้นิยามลูกค้าว่าคือผู้ที่มาใช้บริการ จะสามารถแบ่งได้ดังนี้

1.1. Internet user คือ กลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการฟรีของ Google
ลูกค้ากลุ่มนี้ไม่ต้องเสียค่าบริการใดให้กับ Google แต่เป็นเหมือนฐานข้อมูลให้กับลูกค้ากลุ่มที่ 2 ใช้ ยิ่งมีผู้มาใช้บริการมากขึ้นเท่าไร Google ก็จะมีรายได้จากการโฆษณาเพิ่มขึ้นเท่านั้น เพราะGoogle คิดค่าโฆษณาจากจำนวนผู้ที่เข้ามาชม web site จริงจากผู้ที่ติดต่อขอโฆษณา เช่น ผู้ใช้งาน Internet ทั่วไป, ผู้ใช้งาน email, youtube, web ต่างๆของ Google
flickr:9652404457

1.2 Advertisers คือ กลุ่มลูกค้าที่โฆษณากับ Google
บริษัทที่ต้องการโฆษณา, Agent โฆษณา, ตลอดจนเจ้าของ web site ที่ต้องการให้คนที่มีความต้องการในสินค้าของตนได้รู้จัก ลูกค้ากลุ่มนี้เป็นผู้สร้างรายได้ให้กับ Google โดยจ่ายค่าโฆษณาที่เกิดขึ้นจริง เช่น Google จะคิดค่าโฆษณาก็ต่อเมื่อมีผู้ Click ดู web site ที่ได้ทำการโฆษณา โดยรายได้จากการโฆษณา 50% มาจากใน USA โดยลูกค้ากลุ่มนี้Google จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษโดยมี team งานคอย service และ support ให้
flickr:9652425967

2. Value Propositions

1. Free search Google มี search engine ที่คู่แข่งอย่าง Yahoo เทียบไม่ได้และใช้บริการฟรี จากการใช้ระบบการค้นหาแบบ algorithm ของ Google

2. Global user Google มีฐานลูกค้าที่ใช้งานบน internet จำนวนมาก การโฆษณานั้นจะแสดงบนหน้าจอก็ต่อเมื่อผู้ใช้ได้ทำการ search คำที่ต้องการ ทำให้การโฆษณาทำได้ตรงความต้องการของผู้ search การโฆษณาจึงมีประสิทธิภาพมากกว่าที่จะโฆษณาแบบ Mass media ทั่วไป ประกอบกับการที่มีผู้ใช้ search engine ของ Google ทั่วโลก จึงสามารถโฆษณาได้อย่างกว้างขวาง

3. Own many Traffic Google ไม่ได้มีเพียงแค่ search engine เท่านั้น แต่ยังรวมถึง web site อื่น ๆ เช่น Youtube ที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ทำให้ Google มีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายทั่วโลก ทำให้โฆษณาได้อย่างกว้างขวาง

3. Channels

ช่องทางการขายโฆษณา อยู่ที่
3.1. web site ของ Google นั่นเอง สามารถรับสมัครผู้ที่ต้องการโฆษณา ผ่าน website ของตัวเอง มีการอธิบายรายระเอียดมากพอสมควรใน web ที่รับสมัครผู้ที่ต้องการทำโฆษณา ซึ่ง Googleสามารถทำการโฆษณาผ่าน software ของตัวเองที่มีชื่อว่า AdWord, Adsense
flickr:9652452723flickr:9652425967
3.2. Sale and support team ของ Google ที่ทำการservice ลูกค้าที่ต้องการโฆษณาให้ตรงกับความต้องการ ทั้งยังมี solution ให้ลูกค้าเลือกได้หลากหลาย

4. Customer Relationships

4.1. Take care large Advertisers Google sales team จะเน้นในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้โฆษณารายใหญ่และบริษัท internet ชั้นนำ เพราะลูกค้ากลุ่มนี้สร้างรายได้ให้บริษัท

4.2. Improve efficiency กลุ่มลูกค้าทั่วไปที่ใช้บริการฟรีของ Google นั้น Google ต้องพัฒนาระบบให้ใช้ได้ดี มีประสิทธิภาพ ก็สามารถสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้อย่างยาวนาน

5. Revenue Streams

รูปแสดงรายได้ของ Google จากรายงานไตรมาส 2 ปี 2013
ในปี 2012 รายได้ 97% ของ Google มาจากการโฆษณา
1.การโฆษณา Ads on Google site ทำรายได้ให้ Google 69%
2.การโฆษณา Ads on other site ทำรายได้ให้ Google 28%
3.Other อีก 3% เช่น App ของ Google และสินค้าต่างๆ ที่ขายโดย Google รวมทั้งอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ Motorola
flickr:9655833620flickr:9652602429

6. Key Resources

6.1. Data center เนื่องจากเป็นผู้ให้บริการ search engine รายใหญ่จึงต้องมีเครื่องมือในการดำเนินงานที่พร้อม

6.2. Programmer & staff พนักงานผู้พัฒนา software ตลอดจนเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของบริษัท

6.3. Global Sales and Support infrastructure teams เนื่องจากการขายโฆษณาเป็นรายได้หลักของ Google จึงต้องมีพนักงานที่ให้บริการในการกระตุ้นและสนับสนุนการสร้างรายได้

7. Key Activity

7.1. R&D การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีทำให้ Google ต้องทำการผลิตสิ่งใหม่ๆ มาสู่ผู้คน ทั้งด้านสินค้าที่เป็นอุปกรณ์ และsoftware ที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Google

7.2. Data center operations เป็นกิจกรรมหลักของ Google ในการให้บริการผู้ที่ search ข้อมูลจาก Google

7.3. Traffic Acquisition เป็นการสร้างรายได้ทางอ้อม คือ เมื่อมีผู้เข้ามาดูมากเท่าไร Google ก็มีรายได้จากการโฆษณาเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ที่ click เข้าชมโฆษณาที่ Google ได้ทำไว้ให้กับลูกค้าที่มาให้ Google ทำโฆษณาให้

7.4. Sales & Marketing เป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้ให้โดยตรงจึงขาดไม่ได้

8. Key Partnerships

8.1. Acquisition Company บริษัทที่ Google ได้เข้าซื้อ

8.2. Owner Web site Attend Adsense program เจ้าของ web page ที่ร่วมโครงการ Adsense ในการให้โฆษณาของ Google ไปปรากฏบน web site ของตนเอง โดยได้รับค่าโฆษณาส่วนใหญ่ 60% จาก Google ในส่วนของรายได้ที่มาจากการโฆษณาบน web site ของคนอื่น

8.3. Big Company Yahoo, UOL, AOL, CHINA MOBILE, IBM เป็นบริษัทที่เป็นแรงผลักดันให้ Google ประสบความสำเร็จ

9. Cost Structure

9.1. R&D Google ได้ลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้ นวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกมา

9.2. General & Admin การดำเนินงานปกติ เช่น Data center เป็นกิจกรรมหลักของ Google ในการให้บริการผู้ที่เข้ามาใช้งาน โดยมี process ในการ search ถึง 1 billion ครั้งต่อวัน

9.3. Traffic Acquisition ค่าใช้จ่ายที่ Google จ่ายให้กับเจ้าของ web site ที่เป็น partner ในโครงการ Adsense และการเข้าซื้อกิจการต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้

9.4. Sales & Marketing ค่าใช้จ่ายของพนักงานในการดูแลและ service ลูกค้า

อ้างอิง

แหล่งข้อมูล: Bloomberg, Company 10-k and 10-Q reports, The Economist

Assembled from Wall Street Journal December26,2012,and case writer analysis
Q2 2013 Google Quarterly report
http://businessmodelhub.com/photo/amazon-business-model-canvas
http://phx.corporate-ir.net/phoenix.zhtml?c=97664&p=irol-irhome
http://www.preibusch.de/documents/PreibuschS_FleckensteinM_Amazon.pdf
http://en.wikipedia.org/wiki/Amazon_tax
http://www.kambil.com/accenture/cocreation2.pdf
http://incquity.com/articles/business-model-canvas-perspectives
http://www.money.cnn.com/magazines/fortune/most-admired/
http://commetrics.com/articles/branding-versus-reputation-jeff-bezos-richard-branson-josef-ackermann-and-pat-russo-to-the-rescue/
http://www.wikinvest.com/stock/Amazon.com_(AMZN)/Marketing
http://www.makewebeasy.com/article/Google%20Penguin%20,%20MWE.html
http://www.google.co.th/intl/th/about/
https://adwords.google.co.th/
http://bmimatters.com/2012/03/29/understanding-google-business-model/
http://www.google.co.th/?gws_rd=cr
http://www.seabrookdevelopment.co.uk/testarea/corridor/wp-content/uploads/2012/03/Google-the- evolution-of-a-business-model.pdf
http://www.businessinsider.com/chart-of-the-day-in-case-you-had-any-doubts-about-where-googles-revenue-comes-from-2010-2
http://investor.google.com/earnings/2013/Q2_google_earnings.html
http://www.jauhari.net/google-third-quarter-2011-financial-results-which-get-q3-earnings-9-72-billion-in-revenue
http://www.wordstream.com/blog/ws/2013/04/18/q1-google-earnings-call-google-fiber
http://www.zazana.com/History-/google-(The-birth-of-Google)-id2270.aspx
http://www.seotutor9.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A-google-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88/
http://globalbhasin.blogspot.com/2013/02/global-internet-usage.html
http://stephenslighthouse.com/2012/01/15/consumer-search-engine-market-share/
http://stephenslighthouse.com/2012/01/15/consumer-search-engine-market-share/
http://thumbsup.in.th/2013/08/business-model-canvas-case-study-facebook/
https://developers.facebook.com/showcase/apps/
https://www.facebook.com/business/
http://www.technologycreek.com/facebook-costs-per-mau/
http://en.wikipedia.org/wiki/Facebook_Platform http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=132270.0 http://www.com5dow.com

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License