Data Group8

การจัดทำฐานข้อมูลบริหารจัดการโรงพยาบาล

1) บทนำ
สังคมสารสนเทศในปัจจุบัน ข้อมูลถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าของทุกๆ หน่วยงานไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่ หน่วยงานที่สามารถจัดการข้อมูลได้ดีกว่าย่อมได้เปรียบกว่าในทุกๆ ด้าน ดังนั้นหลายหน่วยงานจึงได้มีความพยายามนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูล โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลของหน่วยงานมีความถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัยและสะดวกต่อการเรียกใช้งานมากที่สุด หากจะพิจารณาถึงการจัดการข้อมูลย่อมจะหมายถึง การจัดเก็บข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้งาน
จากการศึกษาโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กในต่างจังหวัด ก็ยังต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลคนไข้ที่มารับการรักษา โดยข้อมูลที่ทำการจัดเก็บ ได้แก่ ประวัติส่วนตัวของคนไข้ อาการที่มารับการรักษา วิธีการรักษา และผลการรักษา ซึ่งวิธีที่ใช้ในการจัดเก็บ ก็คือการจดบันทึกข้อมูลทั้งหมดลงบนกระดาษ (Hard Copy) ทำให้เกิดปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อน ไม่มีประสิทธิภาพ และถ้าจำนวนคนไข้มีเยอะมากขึ้นทำให้ยากต่อการค้นหาและข้อมูลเกิดการสูญหาย รวมถึงคลังยาไม่มีการเก็บข้อมูลจำนวนปริมาณการใช้ยาอย่างมีระบบ ทำให้เกิดปัญหาในคลังยา ทั้งยาขาดสต๊อกและยาที่หมดอายุ และในการจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ ทางโรงพยาบาลใช้ตู้เก็บเอกสารขนาดใหญ่สำหรับเก็บแบบฟอร์มและเรียงไว้ในลิ้นชัก เมื่อมีคนไข้ใหม่เพิ่มขึ้นก็เพิ่มแบบฟอร์มแผ่นใหม่เข้าไป และในการเรียกใช้ข้อมูลเมื่อมีคนไข้มาติดต่อ เจ้าหน้าที่ต้องค้นหาข้อมูลเดิมของคนไข้ วิธีหนึ่งที่ทำได้คือตรวจดูข้อมูลบนบัตรคนไข้ทีละใบตั้งแต่ใบแรกจนพบ การค้นหาวิธีนี้อาจเสียเวลามาก ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลจึงได้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งานเพื่อประมวลผลข้อมูล นอกจากอำนวยความสะดวกในการทำงานได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังมีความถูกต้องแม่นยำในการประมวลผลด้วย ซึ่งในการจัดทำระบบฐานข้อมูลจะเข้ามาช่วยเก็บและจัดการข้อมูลประวัติของคนไข้ ข้อมูลการมารับการรักษา ข้อมูลการใช้ยาต่างๆ ช่วยให้แพทย์และเภสัชกรใช้ฐานข้อมูลในการค้นหาข้อมูลและย้อนดูประวัติการรักษา รวมถึงแผนกคลังยาก็สามารถใช้ฐานข้อมูลดูปริมาณการใช้ยาย้อนหลังเพื่อใช้ในการสั่งซื้อยาและสต๊อกยาได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2) การออกแบบ E-R Diagram

flickr:10816808773

2.1 E-R Diagram ของฐานข้อมูลบริหารจัดการโรงพยาบาล ประกอบด้วย Entity ต่างๆดังนี้
1. Doctor: แสดงรายละเอียดหมอในโรงพยาบาล
2. Drug: แสดงรายละเอียดยาที่มีในโรงพยาบาล
3. Patient: แสดงรายละเอียดคนไข้ภายในโรงพยาบาล
4. Pharmacist: แสดงรายชื่อเภสัชภายในโรงพยาบาล
5. Purchase_Order: แสดงใบสั่งซื้อยา

2.2 ความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปแบบ Many-to-Many ประกอบด้วย
1. Medical_Records: แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Patient กับ Doctor
2. Prescription: แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Patient กับ Drug
3. Purchase: แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Drug กับ Purchase_Order

2.3 เงื่อนไขความสัมพันธ์ของ Entity
1. คนไข้ 1 คนสามารถเข้ารับการรักษาจากหมอได้หลายคน ส่วนหมอ 1 คน สามารถทำการรักษาคนไข้ได้หลายคน
2. คนไข้ 1 คนสามารถรับได้หลายชนิด ส่วนยาแต่ 1 ชนิด สามารถจ่ายให้คนไข้ได้หลายคน
3. ยา 1 ชนิด สามารถสั่งซื้อได้หลายครั้ง ส่วนการสั่งซื้อ 1 ครั้ง สามารถซื้อยาได้หลายชนิด
4. คนไข้ 1 คน สามารถรับการจ่ายยาจากเภสัชได้หลายคน ส่วนเภสัช 1 คน สามารถจ่ายยาให้คนไข้ได้หลายคน

3) รายละเอียดของแต่ละ Entity
3.1 Doctor
แสดงรายละเอียดข้อมูลของแพทย์ภายในโรงพยาบาล โดยตารางจะประกอบด้วย รหัสประจำตัวแพทย์ ชื่อแพทย์ และความเชี่ยวชาญ โดยมี Doc_ID เป็น Primary Key

flickr:10816542635

 รายละเอียดข้อมูล

flickr:10816672904

3.2 Drug
แสดงรายละเอียดข้อมูลของยาภายในโรงพยาบาล โดยตารางจะประกอบด้วย รหัสยา ชื่อยา ประเภทของยา และจำนวนยาที่เหลือภายในคลัง โดยมี Drug_ID เป็น Primary Key

flickr:10816672784

 รายละเอียดข้อมูล

flickr:10816672714

3.3 Medical_Records
แสดงรายละเอียดการรักษาที่เกิดขึ้น โดยตารางจะประกอบด้วย รหัสประจำตัวแพทย์ รหัสประจำตัวคนไข้ วันที่เข้ารับการรักษา รายละเอียดการรักษา และค่ารักษาพยาบาลโดยมี Doc_ID, HN และ Date เป็น Primary Key

flickr:10816542385

 รายละเอียดข้อมูล

flickr:10816542195

3.4 Patient
แสดงรายละเอียดข้อมูลคนไข้ โดยตารางจะประกอบด้วย รหัสประจำตัวคนไข้ ชื่อคนไข้ เพศ อายุ วันเกิด ชื่อยาที่แพ้ เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ โดยมี HN เป็น Primary Key

flickr:10816542595

 รายละเอียดข้อมูล

flickr:10816550906

3.5 Pharmacist
แสดงรายละเอียดข้อมูลเภสัชกรของโรงพยาบาล โดยตารางจะประกอบด้วย รหัสประจำตัวเภสัชกร และชื่อเภสัชกร โดยมี Pha_ID เป็น Primary Key

flickr:10816541935

 รายละเอียดข้อมูล

flickr:10816550726

3.6 Prescription
แสดงรายละเอียดข้อมูลการจ่ายยา โดยตารางจะประกอบด้วย รหัสประจำตัวคนไข้ รหัสยา จำนวนยาที่จ่าย วันที่จ่ายยา รหัสเภสัชกรที่จ่ายยา และปริมาณการใช้ยา โดยมี HN, Drug_ID และ Date เป็น Primary Key

flickr:10816541775

 รายละเอียดข้อมูล

flickr:10816807773

3.7 Purchase
แสดงรายละเอียดการสั่งซื้อยา โดยตารางจะประกอบด้วย รหัสยา หมายเลข PO จำนวนยาที่สั่งซื้อ และหน่วยยาที่สั่งซื้อ โดยมี Drug_ID และ PO เป็น Primary_Key

flickr:10816672014

 รายละเอียดข้อมูล

flickr:10816807643

3.8 Purchase_Order
แสดงข้อมูลใบสั่งซื้อยา โดยตารางประกอบด้วย หมายเลข PO และวันที่สั่งซื้อยา โดยมี PO เป็น Primary Key

flickr:10816807493

 รายละเอียดข้อมูล

flickr:10816541525

4) การ Query ข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ จาก ER diagram เราจะทำ query ทั้งหมด 5 query ได้แก่
4.1 ประวัติการรักษาคนไข้ (Patient_Medical_Record) โดยจะแสดงข้อมูลรหัสประจำตัวคนไข้ ชื่อคนไข้ วันที่เข้ารับการรักษา รายละเอียดอาการ ชื่อยา จำนวนยาที่จ่าย และชื่อหมอที่ทำการรักษาของการรักษาแต่ละครั้ง โดยจะเรียงข้อมูลจากรหัสประจำตัวคนไข้ เพื่อที่จะเป็นประวัติการรักษาของคนไข้ทั้งหมด

flickr:10816807213

โดยหากหมอต้องการประวัติการรักษาของคนไข้คนใด ก็สามารถคัดกรองข้อมูลเฉพาะคนไข้นั้นจากการใส่ชื่อคนไข้ที่ต้องการลงในส่วนของ Name.Patient ทำให้หมอสามารถเช็คประวัติการรักษาของคนไข้ได้

flickr:10816550266

4.2 ยอดใช้ยาและจำนวนคงเหลือของยาแต่ละตัว (Drug_Use_Amount) โดยจะแสดงข้อมูลรหัสยา ชื่อยา จำนวนยาที่ใช้ทั้งหมด และจำนวนยาที่เหลืออยู่ภายในคลัง

flickr:10816541325

เนื่องจากในส่วนของการจ่ายยาและการสั่งซื้อยานั้นจะแยกคนละแผนกกัน ดังนั้นเพื่อที่จะให้ฝ่ายจัดซื้อรู้สถานการณ์จำนวนยาในปัจจุบัน จึงต้องการข้อมูลการใช้ยาย้อนหลังและจำนวนยาที่คงเหลืออยู่ในระบบ ณ ขณะนั้น เพื่อทำการวางแผนในการสั่งซื้อยาแต่ละชนิด

flickr:10816671584

4.3 ประวัติการสั่งซื้อยาแต่ละตัว (Purchase_History) โดยจะแสดงรายละเอียดของการสั่งซื้อยาแต่ละครั้ง โดยจะแสดงข้อมูล หมายเลข PO วันที่ซื้อ ชนิดยาซื้อ จำนวนที่ซื้อ และหน่วยของยาที่ซื้อ

flickr:10816671524

ข้อมูลการสั่งซื้อยาจะเป็นตัวช่วยอ้างอิงเบื้องต้นในการจัดซื้อยาในครั้งถัดไป รวมถึงดูความถี่ในการสั่งซื้อยาแต่ละชนิดว่ามีความถี่ในการสั่งซื้อเท่าใด เพื่อนำมาวิเคราะห์หาจุดที่เหมะสมระหว่างต้นทุนการซื้อที่ถูกและต้นทุนการจัดเก็บยา

flickr:10816550026

4.4 รายได้ของโรงพยาบาลแยกตามความเชี่ยวชาญของหมอ (Doctor_per_Patient) โดยจะแสดงจำนวนคนไข้ที่หมอแต่ละคนได้ทำการรักษาในแต่ละวัน

flickr:10816671334

การแสดงข้อมูลจำนวนคนไข้ที่หมอแต่ละคนทำการรักษาในแต่ละวันนั้นสามารถนำมาวิเคราะห์ในด้านของสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างหมอกับคนไข้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาคนไข้ หากหมอมีจำนวนคนไข้ที่ต้องรักษาต่อวันมากเกินไป ก็ส่งผลกับประสิทธิภาพในการรักษา จึงสามารถนำข้อมูลนี้มาใช้ในการบริหารจัดการจำนวนหมอภายในโรงพยาบาลได้

flickr:10816671364

4.5 การจ่ายยาของเภสัช (Pharmacist_Prescription) โดยจะแสดงรายละเอียดการจ่ายยาให้กับคนไข้ของเภสัช โดยจะแสดงข้อมูลรหัสคนไข้ ชื่อคนไข้ รหัสยา ชื่อยา และชื่อเภสัชผู้ทำการจ่ายยา

flickr:10816671194

เพื่อตรวจสอบการแพ้ยาของคนไข้ รวมถึงกรณีที่มีความผิดพลาดจากการจ่ายยาของเภสัช สามารถค้นหาข้อมูลเพื่อรู้ว่าเภสัชคนไหนเป็นผู้จ่ายยา

flickr:10816540875
Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License