Scribe Book1

องค์ประกอบของ IT


1.Hardware
Hardware คือ กลุ่มอุปกรณ์ที่จับต้องได้ มีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
1. Input device อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ เช่น คีบอร์ด, เมาท์, กล้องถ่ายรูป scanner, barcode reader, RFID reader
2. Processing device อุปกรณ์ใช้ในการประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ CPU
3. Output device อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลของข้อมูล เป็นได้ 2 รูปแบบ
3.1) Hard copy เช่น printer
3.2) Soft copy เช่น การแสดงผลในรูปแบบ digital
4. Storage device อุปกรณ์เก็บข้อมูล
4.1) ระหว่างใช้งานอยู่ หรือเรียกว่า Primary storage ได้แก่ RAM,Catche, ROM
4.2) ข้อมูลเก็บได้แม้ปิดเครื่องแล้วก็ตาม เรียกว่า Secondary storage ได้แก่ harddisk, CD ROM, DVD, BLUE RAY
Moore Law ความเร็วการประเมินผล CPU จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกๆสองปี แต่ราคาจะลดลงอย่างน้อยครึ่งนึง
ตัวอย่างเช่น เมื่ออดีต 2GHz ถ้ารออีก 2 ปีจะได้ 4GHz ในราคาที่ถูกกว่า
Integrated circuit(IC) องค์ประกอบของ IC ได้แก่ transistor เมื่อในอดีต 1 transistor ราคาเท่ากับ 1 dollar และมีขนาดเทียบเท่ากับแบคทีเลีย ปัจจุบัน นักวิทยาศาตร์ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า Nano technology โดย 1 transistor นั้นมีขนาดเทียบเท่ากับไวรัส ทำให้จุได้มากขึ้น และราคา 10 ล้าน transistor คือ 1 dollar.
Lagacy technology อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่เคยใช้งานแพร่หลายมาก ในอดีต และในปัจจุบันหยุดใช้งานไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น กล้องถ่ายรูปแบบฟิล์ม, เทป, แผ่นดิส
ความเห็นของเพื่อนในห้อง ได้ยกตัวอย่างของ legacy technology ดังต่อไปนี้ เช่น คอมพิวเตอร์แบบ PC เพราะอาจจะมีแต่ laptop แทน, thumb drive อาจจะใช้ external hard disk แทน, Keyboard อาจจะใช้ในรูปของการปล่อย wireless แทนแป้นคีบอร์ด
Disruptive technology คือ technology ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจและอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น e-book, mp3,PC

ความเห็นของเพื่อนในห้อง ได้ยกตัวอย่างของ Disruptive technology ดังต่อไปนี้ เช่น
- NFC (e-wallet), mobile payment
- มือถือแทนกล้องถ่ายรูปแบบ DSLR
เมื่ออดีต 5 ปีก่อน มีมาตรฐาน hi-definition ซึ่งบริษัท Sony ได้ผลิต blue ray และ Toshiba ได้ผลิต HD-DVD โดยที่สองมาตรฐานนี้นั้นไม่ compatible กัน ปรากฏว่าในที่สุด Blue ray ก็กลายมาเป็นมาตรฐาน โดยที่บริษัท Microsoft ได้เลือกเดินผิดทาง กลับไปเลือก HD-DVD มาไว้กับ X-box


2. Software
Software คือชุดคำสั่งควบคุม hardware โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1.ระบบปฏิบัติการ (Operation system:OS) ยกตัวอย่างเช่น Window, Mac, Linux, Android ระบบปฏิบัติการนั้น เสมอกับเป็นตัวควบคุมทุกอย่างตั้งแต่เปิดเครื่องจนกระทั่งปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจำเป็นต้องมี
OS นั้น ควบคุมการทำงานของ hardware เช่นการ format, copy file.

Operation system มี market share สูงที่สุดได้แก่ระบบปฏิบัติการ Window. แค่ความปลอดภัยต่ำและไม่ค่อยเสถียร โดยที่เพิ่งจะมาพัฒนาใน window 7 และ 8 ภายหลัง ในขณะที่ Mac จะมีความปลอดถัยสูงกว่า ไม่มีไวรัสเนื่องจากคนใช้น้อยกว่า และการใช้งานจะเน้นไปด้านกราฟฟิก
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการอื่นๆมีดั้งนี้ Mac, Linux, Blackberry, IOS, Android, Palm

ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์เป็นแบบ Single user – multi task คือการใช้งานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
หน้าที่ของ OS ได้แก่ การให้บริการ User interface ปัจจุบันได้ใช้ GUI
GUI เป็น interface ด้วยกราฟฟิกของผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เว็บบราวเซอร์ คำนี้เกิดขึ้น เนื่องจากการ interface กับคอมพิวเตอร์ในรุ่นแรกไม่ได้ใช้กราฟฟิค แต่เป็นการใช้ตัวอักษรและแป้นพิมพ์ ปกติจะเป็นคำสั่งที่จำได้ เช่น ระบบปฏิบัติการ DOS ในขั้นกลางการ interface ของผู้ใช้เป็นการอ่านอินเตอร์เฟซแบบเมนู (Menu-based Interface) ซึ่งยอมให้ใช้เมาส์คลิกคำสั่งได้ นอกจากการพิมพ์แป้นพิมพ์
ระบบ Virtualization คือการมีหลาย Operation system ในเครื่องเดียว เป็นการจำลองบน hardware
Application software เป็นการพัฒนาโปรแกรมเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ERP- ควบคุมการปฏับัติงานภายในองค์กร
โดย application แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. Package (Off the shelf application) เป็นมาตรฐานในตลาด ตัวอย่างเช่น Microsoft, Adobe, ERP โดยจะมีราคาถูก ความเสี่ยงต่ำ และ มี support ที่ดี
2. Customize คือโปรแกรมที่สร้างมาเพื่อตอบสนององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ต้องจ้าง programmer เป็นคนเขียนโปรแกรมให้เรา โดยที่จะมีค่าใช้จ่ายสูงว่า มีความเสี่ยงมากกว่า และมี support ที่น้อยกว่า แต่สามารถตอบสนองความต้องการหลักขององค์กรได้เป็นอย่างดี

Software แบ่งเป็นสองประเภทได้แก่แบบ
1. Close source คือ software ที่ไม่มีการเปิดเผย source code ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมนั้นๆ ถ้าเป็น programmer เราสามารถจะทำการเข้าไปแก้ไข code นั้นๆไม่ได้
2. Open source เป็นการเปิดเผย source code ที่สามารถปรับเปลี่ยนในส่วนของ program ได้ เช่นระบบปฏิบัตการ Linux, โปรแกรม Open office, Firefox, Wikipidia
Software beta version คือการให้ทดลองใช้โปรแกรมฟรี ก่อนที่จะมีตัวโปรแกรมจริงออกมา
Software suite เช่น Microsoft office ทำการ bundle(รวม) เอา softwareที่ทำงานใกล้เคียงกันเอามารวมกันโดยที่จะมีราคาที่ถูกว่าซื้อแยก ยกตัวอย่างเช่น Adobe.
3. Data แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1. Software – ใช้เพื่อการบริหารข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น DBMS
2. Storage Device

4. Network
Network เป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไป โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
1. Internet เป็นการเชื่อมต่อที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
2. Intranet เป็นการเชื่อมต่อที่ใช้ภายในองค์กร
3. Extranet เป็นการเชื่อมต่อระหว่างองค์กร เช่นคู่ค้าใช้กับบริษัท

Network แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
@1. WAN – Wire Area Network เครือข่ายระดับประเทศ หรือ ทวีป @2. MAN – Metropolitan Area Network เครือข่ายระดับเมือง
@3. LAN – Local Area Network มีระยะเพียง 100-200 เมตร @4. PAN – Personal Area Network เช่น barcode, RFID, Bluetooth
Network แบ่งตามการนำส่ง
@1.มีสาย ใช้สายเคเบิล Fiber Optic @2.ไร้สาย



Management Information Systems (MIS)

@@ @ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ คือ ระบบบริหารที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้งสารสนเทศจากภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งที่คาดว่าจะเป็นอนาคต นอกจากนี้ระบบ MIS จะต้องให้สารสนเทศภายในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
แม้ว่าผู้บริหารจะได้รับประโยชน์จากระบบ MIS สูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบ MIS แล้วจะเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือ ผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบ MIS จะให้รายงานที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้มและภาพรวมขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของสารสนเทศและจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบแสดงสถานะการเงิน รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวการณ์หรือเหตุผิดปกติ
ซึ่งในการเรียนครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาในหัวข้อดังต่อไปนี้
-IT คืออะไร
-องค์ประกอบของ IT ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
-บทบาทของ IT ในการทำธุรกิจ
-ทิศทาง (Trend) ของ IT จะมีแนวโน้มไปในทางใด

The Three Waves of Change : สามคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงของโลกแบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่
1.โลกยุคกสิกรรม (Agriculture Age) ยุคนี้นับตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1800 ถือว่าเป็นยุคที่การดำเนินชีวิตของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการทำนา ทำสวน ทำไร่ โลกในยุคนี้ยังมีการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน แต่ก็ถือว่าเป็นสินค้าเกษตรกรเป็นหลัก มีการนำเครื่องมือเครื่องทุ่นแรงมาใช้ให้ได้ผลผลิตดีขึ้น ในระบบหนึ่งๆ จะมีผู้ร่วมงานเป็นชาวนา ชาวไร่เป็นหลัก

2.ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ยุคนี้นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800 เป็นต้นมา โดยในประเทศอังกฤษได้นำเครื่องจักรกลมาช่วยงานทางด้านการเกษตร ทำให้มีผลผลิตมากขึ้นและมีผู้ร่วมงานในระบบมากขึ้น เริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรม เริ่มมีคนงานในโรงงาน ต่อมาการนำเครื่องจักรมาใช้งานนี้ได้ขยายไปสู่ประเทศต่างๆ และได้มีการแปรรูปผลิตผลทางด้านการเกษตรออกมามากขึ้น และเครื่องจักรกลก็เป็นเครื่องมือที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ และเริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งทำให้โลกของเรามีทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรมควบคู่กันไป
3.ยุคสารสนเทศ (Information Ago) ยุคนี้นับตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1957 จากที่การทำงานของมนุษย์มีทั้งด้านการเกษตรและด้านอุตสาหกรรมรม ทำให้คนงานต้องมีการสื่อสารกันมากขึ้น ต้องมีความรู้ในการใช้เครื่องจักรกล ต้องมีการจัดการข้อมูลเอกสาร ข้อมูลสำนักงาน งานด้านบัญชี จึงทำให้มีคนงานส่วนหนึ่งมาทำงานในสำนักงาน คนงานเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้และต้องทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง ฝ่ายผลิตและลูกค้า ทำให้มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ มาช่วยในการประมวลผล จัดการให้ระบบงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้เกิดการใช้เครื่องมือทางสารสนเทศขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อเข้าสู่ยุคสารสนเทศ องค์กรต่างๆ ที่นำเทคโนโลยีสื่อสารมาใช้ในการจัดการงานประจำวัน จะทำงานได้สำเร็จเร็วขึ้น การผลิตทำได้เร็วขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตสามารถประมวลผลข้อมูลต่างๆได้รวดเร็วขึ้น มีการนำระบบอัตโนมัติด้านการผลิตมาใช้ มีระบบบัญชี และมีโปรแกรมที่ทำงานเฉพาะด้านมากขึ้น โดยยุคนี้ถูกเรียกว่าอีกชื่อหนึ่งว่า “The Knowledge Society” หรือยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่สำคัญพอๆกับที่ดิน แรงงาน และแหล่งทรัพยากร ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ The Knowledge Worker หรือว่าบุคคลที่ทำหน้าที่สร้างข้อมูลข่าวสารให้เกิดในองค์กร โดย Peter Drucker บิดาแห่งการบริหารยุคใหม่ กล่าวไว้ว่า โลกแห่งอนาคตข้อมูลข่าวสาร คนที่เข้าถึงข้อมูลได้จะได้เปรียบมากกว่าคนอื่น ดังนั้น ในองค์กรจะต้องมี knowledge worker ซึ่งมีหน้าที่สร้างองค์ความรู้ให้แก่องค์กร
อย่างไรก็ตาม การที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไป สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ดังนี้
Globalization: 0.1 เน้นเกษตรกรรม
Globalization: 0.2 การติดต่อสื่อสารเริ่มสะดวก ทำได้ง่าย
Globalization: 0.3 ยุคข้อมูลข่าวสาร มีการนำเอาระบบ Network มาใช้ ทำให้ยุคนี้กลายเป็นยุค Global Village หรือ Digital Village
ในยุคที่ 3 นี้ก่อให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก สังคมโลกถูกทำให้เล็กลงในขณะที่ Network กลับมีมากขึ้น จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Digital Economy หรือเศรษฐกิจดิจิตอล

Digital Economy หรือเศรษฐกิจดิจิตอล เป็นคำที่กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาใช้ โดยเน้นให้เห็นว่า ระบบเศรษฐกิจ ยุคใหม่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีไอทีอย่างมากมาย ตั้งแต่ระบบการให้บริการออนไลน์ การซื้อขายสินค้าและบริการ การศึกษาแบบทางไกล การโอนย้ายสื่อแบบต่าง ๆ เช่น ดิจิตอลบุค หนังสือพิมพ์ดิจิตอล การให้บริการห้องสมุดดิจิตอล ตลอดจนระบบการพิมพ์หรือการจัดทำ เอกสาร ล้วนแล้วแต่เป็นดิจิตอลหมด เรามีกล้องถ่ายรูปดิจิตอล ทีวีดิจิตอล ของเล่นดิจิตอล ระบบทุกอย่างที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์จะใช้ เทคโนโลยีดิจิตอล โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบปนอยู่ด้วย

เศรษฐกิจดิจิตอลจึงเป็นระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ไร้พรมแดนอย่างแท้จริง เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเชื่อมคนทุกคนในโลกให้อยู่บน เครือข่ายเดียวกัน สามารถติดต่อสื่อสาร พูดคุยกันผ่านทางเครือข่ายนี้ สังคมโลกจึงเป็นสังคมที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีไอทีเป็นสำคัญ บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เติบโต ขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคหลัง ล้วนมีธุรกิจเกี่ยวข้องกับไอทีทั้งสิ้น

ระบบเศรษฐกิจดิจิตอลทำให้แนวโน้มของโลกเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการเปลี่ยนแนวคิดจากระบบรวมศูนย์ มาเป็นแบบการกระจายให้บริการ เช่น การบริการของธนาคารผ่านเอทีเอ็ม การสร้างร้านค้ากระจายไปทุกหนทุกแห่ง โครงสร้างของ องค์กรมีลักษณะติดต่อประสานรายได้สองทิศทาง ทั้งให้การจัดองค์กรมีขนาดกะทัดรัด และรูปแบบองค์กรจะแบนราบ หรือมีลำดับ ชั้นการบังคับบัญชาน้อยลง แต่จะมีรูปแบบลักษณะเครือข่ายเพื่อการทำงานร่วมกัน การดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ จะตัดคนกลางหรือ กิจกรรมที่อยู่ตรงกลางออกไป ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ มีลักษณะจากปลายสู่ปลาย เช่น จากผู้ผลิตสู่ผู้ใช้โดยไม่ต้องมีคนกลาง
IT Investment การลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

พบว่าการลงทุนใน IT ในปัจจุบันมากกว่า 50% ของการลงทุนทั้งหมดภายในบริษัท ดังนั้น ในฐานะผู้บริหารจึงต้องมีความรู้ในการตัดสินใจในการลงทุนในแง่ของ IT
การใช้เงินมูลค่าหนึ่งดอลลาร์ต่อต้นทุนการลงทุนทางด้าน IT อาจจะไม่ง่ายเท่ากับที่มันจะเป็น ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการจัดสรรต้นทุนคงที่ให้กับโครงการ IT ต่างๆ ที่แตกต่างกัน ต้นทุนคงที่คือต้นทุนที่เหมือนกันโดยรวม โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนระดับของกิจกรรม สำหรับ IT ต้นทุนคงที่รวมทั้งต้นทุนสิ่งที่อำนวยความสะดวกพื้นฐาน ต้นทุนการบริการ IT และต้นทุนการบริหารจัดการ IT ต.ย. เช่น เงินเดือนของผู้อำนวยการฝ่าย IT นั้นจะคงที่ และการเพิ่มการปฏิบัติการเข้าไปอีกอย่างหนึ่ง ก็จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

ความเป็นจริงที่ว่าองค์กรต่างๆ ที่ใช้ IT สำหรับวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน ทำให้กระบวนการด้านทุนซับซ้อนมากยิ่งขึ้น มีมูลค่ามากมายหลายชนิด (ต.ย. เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพ การปรับปรุงความสัมพันธ์ ของลูกค้าและคู่ค้า) การวัดการคืนทุน จะวัดเป็นรูปแบบตัวเลข (ต.ย. เช่น ดอลลาร์หรือเปอร์เซ็นต์) คือหนึ่งในมูลค่าเหล่านี้เท่านั้น นอกจากนั้น ความเป็นไปได้ของการได้รับการคืนทุนจากการลงทุนทางด้าน IT จะขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ของความสำเร็จในการนำไปประยุกต์ใช้ก็ได้เช่นกัน ความเป็นไปได้เหล่านี้ สะท้อนความจริงที่ระบบต่างๆ ไม่ได้ถูกนำไปตามเวลาที่กำหนด ภายในงบประมาณ และ/หรือ ด้วยลักษณะต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นที่พวกเขาได้ตั้งเป้าไว้ ท้ายที่สุด การยกเว้นมูลค่า การคืนทุนลงทุน IT โดยกรณีส่วนมากจะได้น้อยกว่าที่ทำนายไว้ในตอนแรก ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้เห็นว่า ผู้จัดการจะลงทุนมหาศาลต่อโครงการเหมือนกับโกดังข้อมูล โดยการพึ่งพาความนึกคิดจินตนาการเพื่อประเมินข้อเสนอเพื่อการลงทุนมากกว่าประเมินที่แข็งแกร่งเป็นไปได้


++ สาเหตุที่เราต้องมาเรียนวิชานี้ ทำไม IT ถึงมีความสำคัญ?


เพราะ ปัจจุบันการลงทุนด้าน IT นับเป็นสัดส่วนที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของการลงทุน จากเดิมเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ลงทุนด้าน IT 30% แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่ 50% หรือมากกว่ครึ่งหนึ่งของบริษัท เป็นการลงทุนด้าน IT ดังนั้นในฐานะผู้บริหาร เราจะต้องมีความรู้ที่จำเป็นต่อการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เราจะต้องสามารถรู้ได้ว่าอะไรคือผลกระทบหรือบทบาทของIT


ความแตกต่างระหว่าง IT กับ IS?

Information System ถ้าแปลเป็นความหมายคือ กลุ่มขององค์ประกอบ ที่ประกอบไปด้วย IT , Hardware , Software , Data , Network , คนที่ใช้ , องค์กรที่ใช้ และบริบทที่ใช้ เพื่อเก็บรวบรวม ประมวลผล กระจายข่าวสารข้อมูลในองค์กร เพื่อประกอบการตัดสินใจ การทำงาน และการควบคุมภายในองค์กร กล่าวสั้นๆคือ IT เป็นเหมือนกับ Tool ส่วน IS เป็นบริบทที่ ITนั้นๆ ถูกนำมาใช้ นั่นเป็นสาเหตุที่ว่า IT ถูกลอกเลีบนแบบได้ง่าย แต่ IS ลอกเลียนแบบได้ยาก เพราะ ISเป็นบริบทของการนำ ITนั้นๆ เข้ามาใช้ในองค์กร
ปีที่แล้วมีนักศึกษากลุ่มหนึ่ง Term paper ศึกษาเรื่อง e-bankingของ 2 ธนาคาร HSBC และ Citi Bank ลงทุนในเรื่อง e-banking ใกล้เคียงกัน แต่รูปแบบการจัดการต่างกัน ผลออกมาแตกต่างกัน


ความแตกต่างของ Data กับ Information? (ออกสอบ*)

+ Data คือ ข้อมูลดิบ ข้อเท็จจริง
- คุณนก อายุ 27 ปี รู้ข้อมูลนี้แล้ว ไม่รู้จะนำไปทำอะไร
- คุณกวิ้น อายุ 23 ปี
- น้ำดื่มเนสเล่ราคา 20 บาท
- ราคากับสินค้า เป็น Data

+ Information (สารสนเทศ) คือ Data ที่ถูกรวบรวมมาแล้วนำมาประมวลผลแล้ว เพื่อจะตอบคำถามใดคำถามหนึ่ง ตัวอย่างเช่น
- อายุเฉลี่ยของนักศึกษา RMBA รุ่น 70 อายุ 25 ปี เริ่มมีประโยชน์ขึ้นมาในฐานะที่เราเป็นผู้บริหารจะสามารถรู้ได้ว่า Target groupของนักศึกษาเป็นอย่างไร แล้วนำมาจัดการในการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นไปในอายุช่วงนี้
- ยอดขายของสินค้า เป็น Information เราสามารถควบคุมการสั่งซื้อสินค้าได้

  • จุดประสงค์ของระบบสารสนเทศ คือ แปลง Data ให้เป็น Information เพื่อใช้ในการตัดสินใจ การควบคุม ตอบสนองการตัดสินใจของผู้บริหารในองค์กร

องค์ประกอบของ System? อย่างน้อยต้องมี 3 องค์ประกอบ

1. กระบวนการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) เช่น Scan Barcode
2. กระบวนการประมวลผล (Process) เช่น คำนวณราคาสินค้ากับปริมาณสินค้า
3. กระบวนการนำเสนอผล (Output) เช่น ใบเสร็จ
4. กระบวนการให้Feedback กลับมาที่ Input

Management Information Systems
ศึกษาบทบาทหรือบริบทของการนำ IT เข้ามาใช้ในการบริหารองค์กร

บทบาทของ IS ในธุรกิจ?
1. การสร้างประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นแก่องค์กร การสร้างผลผลิตที่เกิดขึ้นต่อองค์กร นำ IT/IS มาสร้างกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ เช่น การนำ RFID เข้ามาใช้ตัดสินค้าต่างๆใน Supply Chain
2. การนำ IT เข้ามาใช้ในกระบวนการให้เป็นระบบอัตโนมัติ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และสร้างความถูกต้องในกระบวนการ
3. การนำเสนอสินค้า/บริการ หรือ Business Model ใหม่ๆ หลายบริษัทไม่ว่าจะเป็น Google , Facebook , e-bay ไม่มีทางเกิดขึ้นได้หากไม่มี IT ตัวอย่าง ร้านขายหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไม่ได้มีหน้าร้านอีกต่อไป Amazon
, ร้านขายเพลงที่ใหญ่ที่สุดในโลก itune , ร้านขายดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย Miss Lily
ทุกคนเข้าถึง IT ได้หมด แต่การนำไปใช้นั้นแตกต่างกัน ตัวอย่าง Business Modal นักศึกษาในวิชานี้ เขียนแผนธุรกิจ สร้างเว็บไซต์ติดต่อร้านอาหารในเขตบึงกลุ่ม ให้ลูกค้าเข้าไปที่เว็บ แล้วสั่งอาหารได้โดยตรงบนเว็บไซต์ รายได้มาจากค่า Commission เว็บไซต์เสมือนเป็นตัวกลางระหว่างลูกค้ากับร้านอาหาร
แต่ละ Case จะมี Business Modal ใหม่ๆที่มีการนำ IT เข้ามาใช้ IT เข้าไปเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้า คือการเกิดขึ้นของสินค้าดิจิตอล รวมไปถึงการให้บริการต่างๆ อีกตัวอย่างหนึ่ง ที่แปลกแต่ก็ประสบผลสำเร็จ ธุรกิจหาคู่ Online Dating
4. สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและ Supplier มี Software เรียกว่า CRM เริ่มจากเก็บข้อมูลลูกค้าและรวบรวม แล้วศึกษาความต้องการของลูกค้าจากข้อมูลที่มีอยู่ แล้วนำเสนอสินค้าให้ตรงกับความต้องการ
5. IT สามารถเชื่อมโยงกับ Supplier ผ่านระบบ Supply Chain Management System ในกรณีของ Wall Mart ให้เติม shelf โดยทันที โดยไม่ต้องมีการ order
6. สนับสนุนการตัดสินใจที่ดี มีข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ และทันสมัย (ที่ไม่ดีคือ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคาดเดาหรืออารมณ์) เช่น อาจารย์ไปประชุมที่ True ไปเจอ CEO ทางบริษัทมี Mobile App ใช้แบบInternalผู้บริหารสามารถรู้ได้ทันทีถึงยอดขายของบริษัท , จำนวนยอดขายiphone , จำนวนเบอร์ , จำนวนลูกค้า ซึ่งถ้าผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ ก็จะสามารถตัดสินใจได้ดีกว่าการคาดเดา
7. สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

ประเด็นถกเถียงจากนักศึกษา : อะไรคือความหมายของการได้เปรียบทางการแข่งขัน?
ว่าน: เป็นสิ่งที่เรามีเหนือคู่แข่ง ระบบการจัดการ เช่น Wall Mart
น้ำหอม: สร้างแบรนด์ และสร้างความแตกต่าง เช่นกรณีของ Apple เน้นดีไซต์
น๊อต: ยากต่อการลอกเลียนแบบ เช่น คน วัฒนธรรมองค์กร
หนู: ที่เพื่อนพูดมารวมกัน และถึงแม้มีความแตกต่างและเหนือกว่า แต่ก็ต้องสร้างสิ่งที่ลูกค้าต้องการด้วย
จั้ว: มอง 2 แบบ 1. ด้านต้นทุน คือ ด้านการลดต้นทุน โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ ลดคน 2. ด้านความรวดเร็ว ถ้าเกิดเราออกเทคโนโลยีมาก่อน
สุรนาท: ความได้เปรียบในแบบยั่งยืน
อ๊อค: แบบยั่งยืนคือ สามัคคีกันในองค์กร ทุกคนต้องยั่งยืนไปพร้อมกัน จะไม่มีผู้แพ้ในอุตสาหกรรม
เก้า: คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ มีสิทธิบัตร สร้างความคุ้มครองทางกฎหมาย
โบ้: ความเก่าแก่ ชื่อเสียง แบรนด์ ไม่สามารถตามทันได้(อาจารย์ให้ความเห็น: เครื่องใช้ไฟฟ้า SONY บ่งบอกถึงคุณภาพ แต่ปัจจุบัน เรื่องQuality อันดับแพ้ Sumsung แล้ว ทั้งๆที่ SONY เกิดก่อน Sumsung แต่ก่อน Sumsung ของห่วย ของไม่มีคุณภาพ ดังนั้น ไม่จำเป็นเสมอไปที่บริษัทที่เกิดก่อนจะสามารถชิงความได้เปรียบ)
สรุป สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นด้าน มิติของราคา เรื่องคุณภาพสินค้า/บริการ การแข่งขันที่ไม่ยั้งยืนคือ คู่แข่งสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย หรือเอาไปได้ ใครบอก “คน” ยั่งยืน คนก็สามารถถูกซื้อไปได้ เทคโนโลยีก็สามารถถูกลอกเลียนแบบได้ การแข่งขันที่ยั่งยืนคือ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย เช่น สิทธิบัตร วัฒนธรรมองค์กร ก็ยากที่จะลอกเลียนแบบ ….ทำไม Apple ถึงเป็นผู้นำมาตลอดในด้านนวัตกรรม ทั้งๆที่ทุกคนเข้าถึง IT ได้เหมือนกันหมด หลายคนก็บอกว่า ตัว Core competency ของ Apple จริงๆแล้ว ก็เป็นเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร ที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ การออกแบบ การดีไซน์
บทบาทของ IT ต่อความสามารถในการแข่งขัน ITเวลาออกมาจะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้กับผู้ที่นำมาใช้ในช่วงแรกๆ จนกระทั่งคู่แข่งมีผู้ลอกเลียนแบบ ความสามารถในการแข่งขันนั้นจะหมดไป เช่น MK เป็นร้านสุกี้ร้านแรกที่นำ PDA เข้ามาใช้ สร้าง Turnover ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว , Citi Bank เป็นธนาคารแรกที่นำ ATM เข้ามาใช้ แต่ทุกวันนี้ทุกธนาคารมี ATM หมด …เมื่อใดก็ตามที่บทบาทของITเปลี่ยนจากความสามารถในการแข่งขันไปสู่ที่ทุกคนมีหมด ก็จะเปลี่ยนเป็น Competitive necessity คือ ความจำเป็นต่อการแข่งขัน ก็คือ ในช่วงแรก เราจะเห็นได้ชัดเลย คือในช่วงที่มีนวัตกรรมเกิดขึ้นใหม่ จะมีกลุ่มบริษัทที่นำมาใช้แรกๆ เกิดเป็น Competitive advantage แต่เมื่อใดก็ตามที่ความได้เปรียบในการแข่งขันนั้นถูกใช้อย่างแพร่หลาย หรือเทคโนโลยีนั้นถูกใช้อย่างแพร่หลาย มันจะถูกแปลงเป็น Competitive necessity ความหมายว่า มันกลายเป็นความจำเป็นต่อการแข่งขัน …. ปัจจุบันมีธนาคารไหนบ้างที่ไม่มี ATM และ e-banking สิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นมาตรฐานในการทำธุรกิจ , มีมหาวิทยาลัยไหนบ้างไม่มี E-learning สิ่งนี้กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นต่อการศึกษา ประเด็นคือ ความสามารถในการแข่งขันที่เกิดจาก IT บริษัทส่วนใหญ่มีระยะเวลาค่อนข้างสั้น iphone touch screen ออกมารุ่นแรกๆในปี 2007 มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง จนกระทั่งมี Android ออกมา ทำให้บริษัทต้องพัฒนาตลอดเวลาเพื่อความยั่งยืน นำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้

Survival เพื่อความอยู่รอด Technology กลายเป็นมาตราฐานในการทำธุรกิจ ถ้าเราไม่มีเทคโนโลยี ก็จะเสียความได้เปรียบในการแข่งขัน ในบางครั้งกฎหมายกำหนดว่าเราต้องมี เช่น ในการที่ทำตามพรบ.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ที่จำเป็นต้องมีการเก็บSoft file ย้อนหลังอย่างน้อย 90 วัน หากเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบแล้วเราไม่มี ก็จะถูกปรับครั้งละ 500,000 บาท

The Interdependence between Organizations and Information Technology
การพึ่งพาอาศัยกันระหว่างการจัดการภายในองค์กรและข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี

ระบบที่เกิดขึ้นร่วมกันนั้นเกิดขึ้นจากการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างข้อมูลระบบขององค์กร และ ความสามารถของธุรกิจนั้น การเปลี่ยนแปลงในส่วนของกลยุทธ์ บทบาท และ กระบวนการเปลี่ยนแปลงไปของ Hardware, Software, Database และ Telecommunication นั้นด้วยและนอกจากนี้อะไรที่เป็นส่วนที่องค์กรของบริษัทต้องสนใจและคำนึงถึงนั้นก็คือ IS
Variations in ROI of IT

ปัจจัยที่ส่งผลมีดังนี้
1.การลงทุนในเรื่องของระบบเทคโนโลยีไม่สามารถบ่งบอกถึงผลตอบแทนที่ดีได้
2.ความสามรถที่หลากหลายของผลที่ตอบแทนที่รับจากระบบการลงทุน
3.การรับมาของโมเดลทางธุรกิจ
4.การลงทุนของสินทรัพย์ที่ครบสมบูรณ์ระหว่างการจัดการองค์กร และการลงทุนเชิงการจัดการ

Complementary Asset (ทรัพย์สินขององค์กร)
1.การลงทุนเชิงองค์กร
- โมเดลธุรกิจที่เหมาะสม
- กระบวนการทางธุรกิจที่มีประสิทธิ์ภาพ
2.การลงทุนเชิงการจัดการ
-ปัจจัยกระตุ้นเกี่ยวกับนวัตกรรมเชิงการจัดการ
-การร่วมมือกันเป็นกลุ่ม และร่วมมือกันกับสิ่งแวดล้อม
3.การลงทุนเชิงสังคม
-ระบบอินเตอร์เน็ท และโครงสร้างพื้นฐานของระบบการติดต่อสื่อสาร
-มาตรฐานของเทคโนโลยี

MIS Graduate
ขอบเขตเนื้อหา รายละเอียด
ความรู้และทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยี
1.Hardware รูปแบบฮาร์ทแวร์ ,ปัจจัยพื้นฐาน,
2.software ระบบปฏิบัติการ,ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ,ไดร์เวอร์
3.networking ระบบปฏิบัติการเชื่อมต่อ

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับธุรกิจ
1.การผสมผสานทางด้านธุรกิจ กระบวนการทางธุรกิจ
2.โครงการ และ การจัดการมนุษย์ การวางแผน,การจัดการ,การควบคุม
3.สังคม การติดต่อระหว่างบุคคล
4.การติดต่อสื่อสาร วจนภาษา, การเขียน,การติดต่อสื่อสารทางเทคโนโลยี และการนำเสนอ

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับระบบ
1.การทำงานร่วมกันของระบบ การติดต่อสื่อสาร,ระบบ
2.หลักการเชิงพัฒนา ลำดับขั้นระบบการวิเคราะห์ ,ระบบการพัฒนาของ วัฐจักร,ทางเลือกการพัฒนาระเบียบวิธีวิจัย
3.การคิดเชิงวิเคราะห์ ความท้าทายของสมมติฐานและความคิด
4.วิธีการแก้ปัญหา การบ่งชี้ถึงปัญหา,ข้อมูลในการแก้ไขปัญหา


IS Personal

การเข้าถึงข้อมูลของระบบ (Contemporary Approaches to Information Systems)

แนวโน้มปัจจุบันของ IT
Internet of Things
อุปกรณ์ต่างๆ มีความสามารถคล้ายคอมพิวเตอร์และสามารถเชื่อมโยงเข้ากันได้อาทิเช่น นาฬิกาที่เชื่อมโยงกับ mobile application สามารถวัด calories ของคนไม่ว่าจะเป็นอาหารที่กินหรือจำนวนก้าวในแต่ละวันหรือ Google Glass แว่นอัจฉริยะที่สามารถเห็นข้อมูลต่างๆ ของสถานที่นั้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น

Digital Convergence เป็นการหลอมรวมของเทคโนโลยีดิจิตอล ประกอบด้วย 3 รูปแบบหลักๆ คือ
1. Device Convergence
การหลอมรวมอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน กล้องถ่ายรูปในอดีตสามารถทำหน้าที่ได้เพียงถ่ายรูปหรือโทรศัพท์ที่ใช้เพียงโทรติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นเท่านั้น แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้สามารถรวมคุณสมบัติหน้าที่ต่างๆ ไว้ในชิ้นเดียว อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทดแทนกันได้มากขึ้น ส่งผลต่ออย่างยิ่งต่อความรุนแรงทางการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นจากการแข่งขันกันข้ามอุตสาหกรรม (Cross industry) อาทิเช่น บริษัท Apple ที่ในอดีตทำธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์แต่ปัจจุบันมีการออกโทรศัพท์มือถือ Iphone ซึ่งต้องเข้าไปแข่งขันกับ Nokia บริษัทมือถือรายใหญ่ที่มีอยู่เดิม
2. Data Convergence/Content Convergence
การหลอมรวมของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง หรือวิดีโอ animation ต่างๆ ให้มาอยู่ในข้อมูลเดียวกัน
3. Network Convergence
การหลอมรวมของระบบเครือข่ายที่เคยแยกส่วนกันในอดีตไม่ว่าจะเป็น ระบบโทรศัพท์บ้าน ระบบโทรศัพท์มือถือ ระบบโทรทัศน์ ระบบวิทยุ มารวมเป็นเครือข่ายเดียวกัน สารต่างๆ จากเครือข่ายหนึ่งสามารถนำไปใช้ในอีกเครือข่ายหนึ่งได้ ทำให้ปัจจุบันสามารถรับชมโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือโทรศัพท์จากทางอินเทอร์เน็ตเข้าสู่โทรศัพท์บ้าน
อีกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นแต่ยังไม่ถูกบรรจุลงในทฤษฏีคือ Lifestyle Convergence ซึ่งเป็การหลอมรวมระหว่างโลกออนไลน์และโลกออฟไลน์เข้าด้วยกัน


Cloud Computing


Cloud Computingเป็นเทคโนโลยีที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างยิ่งเนื่องจาก Cloud Computing จะเป็นการเข้าถึงข้อมูลหรือซอฟท์แวร์ต่างๆ ผ่านระบบ Cloud หรืออินเทอร์เน็ต จากเดิมที่การเข้าถึงข้อมูลหรือซอฟท์แวร์นั้นจะต้องมีการติดตั้งซอฟท์แวร์หรือโปรแกรมต่างๆ ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพที่สูงอีกต่อไป

Mobile Computing
@@ @@ แนวโน้มในปัจจุบันมีจำนวนคนใช้โทรศัพท์มือถือ smartphone มีมากกว่าจำนวนคนใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) และ Tablet ซึ่งในอนาคตการใช้งานหลักๆ จะทำผ่านโทรศัพท์มือถือ Smartphone และ Tab นอกจากนี้ Mobile Application เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทุกองค์กรจะต้องมีในอนาคต


Social Media
เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมากโดยเฉพาะรูปแบบการทำการตลาดและการโฆษณา โดยเฉพาะเว็บไซต์ Facebook YouTube Twitter และล่าสุดคือ Instagram เป็นอีกแนวโน้มหนึ่งที่จะมีบทบาทระยะยาวในอนาคตข้างหน้า

Green Computing
รูปแบบการใช้ IT ซึ่งคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเช่น การประหยัดพลังงานต่างๆ มีการนำเทคโนโลยี virtualization เข้ามาใช้ หลายองค์กรมีการใช้เทคโนโลยี Tele-computing ซึ่งรูปแบบที่พนักงานสามารถทำงานได้ทุกที่ทุก
เวลาโดยไม่ต้องเดินทางมาทำงาน เป็นการลดการใช้ทรัพยากรและลดมลพิษที่สามารถเกิดขึ้น



Radio Frequency Identification (RFID)
แนวโน้มหนึ่งซึ่งปัจจุบันถูกใช้งานในการติดตามและตามรอยวัตถุหรือบุคคล ถูกใช้งานเป็นอย่างมากในระบบสายโซ่อุปทาน (Supply Chan) ซึ่งในอนาคตอันใกล้อาจจะมีการนำไปใช้งานกับสิ่งของต่างๆ ซึ่งทำให้ไม่ต้องมีแคชเชียร์อีกต่อไป
Digital Crimes
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ซึ่งประเด็นโด่งดังที่ถูกพูดถึงในปัจจุบันคือการแชร์หรือคลิก Like เพื่อแพร่กระจายข่าวลือต่างๆ ผ่านสังคม Social Network ปัจจุบันข้อมูลสำคัญต่างๆ ของทั้งบริษัทและบุคคลถูกเก็บในรูปแบบดิจิตอลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข้อมูลทางการเงินหรือข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของอาชญากรคอมพิวเตอร์ อาชญากรรมอีกสิ่งหนึ่งที่มีความรุนแรงในปัจจุบันคือการ Phishing คือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลที่สำคัญเช่น รหัสผ่านหรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมล์หรือข้อความออนไลน์ อีกทั้งมีการปลอมแปลงบัญชีผู้ใช้บน Social Media (Social Media Phishing) อีกด้วย


_

+ BUSINESS MODEL


ทุกหน่วยงานที่มีต้นทุนและกำไร (ไม่เว้นแม้แต่องค์กรการกุศล) ล้วนต้องเกี่ยวข้องกับการจัดจ้างพนักงาน การจ้างผู้บริหาร การจัดซื้อข้าวของและอุปกรณ์เพื่อทำกิจการนั้นๆ หรือแม้แต่การเข้าถึงลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายทั้งด้วยข่าวสารหรือการขนส่งเคลื่อนย้าย ฯลฯ มาประกอบกัน ซึ่งแน่นอนว่าตลอดอายุการทำธุรกิจนั้นเราจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปไม่ได้เลย ด้วย Business Model Canvas นั้นจะเริ่มจากการร่างภาพ 9 ส่วนที่สำคัญในทุกธุรกิจ นั่นคือ อุปกรณ์ งานที่ทำ คุณค่าของงาน การนำส่งสู่ลูกค้า การตอบรับ กลุ่มลูกค้าของเรา คู่ค้าทางธุรกิจ ต้นทุน และกำไรที่คาดหวังในธุรกิจของเราลงในกระดาษแผ่นหนึ่ง (ทำได้ทั้งแบบพอสังเขปหรือลงรายละเอียดจริงจัง) และใช้มันเป็นแผนที่นำทางเพื่อตอบคำถามสำคัญๆ ต่อไปนี้
• ธุรกิจนี้กำลังทำอะไร? ทำให้ใคร? และทำอย่างไร? ด้วยต้นทุนเท่าไร?
• สถานการณ์ปัจจุบัน จุดแข็งของโมเดลธุรกิจนี้ในปัจจุบันอยู่ที่ไหน? ตรงกับที่ลูกค้าอยากได้หรือไม่? มีจุดเด่นอื่นที่ดีกว่านี้ได้หรือไม่?
• จุดอ่อนของธุรกิจ ณ ขณะนี้คือเรื่องใด? และแก้ไขหรือเสริมทัพได้อย่างไรบ้าง?
• เป้าหมาย (หรือวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ) ใดน่าจะเป็นเป้าหมายดีที่สุดที่คาดหวังได้ของธุรกิจนี้ในระยะยาว?

9 Basic Building Block นั้น ครอบคลุม 4 ส่วนของธุรกิจคือ ลูกค้า,ผู้เสนอ,โครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจ, การเติบโตของการเงินในบริษัท




1.Customer Segments
คือกลุ่มคนหรือกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะแตกต่างกัน ที่บริษัทของเราจะเข้าไปทำตลาด
ลูกค้าคือส่วนประกอบหลักในหัวใจของการทำธุรกิจ ถ้าไม่มีลูกค้า(ที่สามารถทำกำไรให้กับบริษัท) บริษัทนั้นคงอยู่ได้ไม่ยาวนาน ถ้าเราอยากจะทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น เราอาจจะจัดกลุ่มของลูกค้าออกเป็นกลุ่มต่างๆโดยแบ่งตามความต้องการ, พฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน หรือองค์ประกอบอื่นๆ Business Model อาจแบ่ง หนึ่งหรือหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่ต้องเป็นการจัดสินใจที่เฉียบคมว่าเราจะเข้าไปทำตลาดในกลุ่มไหน และกลุ่มใดที่เราจะไม่สนใจในการเข้าไปทำตลาด ถ้ามีการตัดสินใจแล้ว Business Model จะถูกออกแบบให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการได้อย่างชัดเจน ปัจจัยในการแบ่งกลุ่มลูกค้า (Segmentation) เช่น
• ความต้องการที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
• ช่องทางการจัดจำหน่ายแตกต่างกันอย่างชัดเจน
• ต้องการความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน
• ทำกำไรแตกต่างกัน
• มีความต้องการที่จะจ่ายในข้อเสนอที่แตกต่างกัน
กลุ่มลูกค้า (Segment) มีหลายชนิด ตัวอย่างเช่น :
I. Mass market ถ้าเราโฟกัสที่ตลาด Mass Market ไม่ได้แยกระหว่างกลุ่มลูกค้า แปลว่า Value Propositions, Distribution Channel (ช่องทางการจัดจำหน่าย), และ Customer Relationship (ความสัมพันธ์กับลูกค้า) โฟกัสไปที่กลุ่มใหญ่ที่มีความต้องการและปัญหาคล้ายกัน เช่น อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์
II. Niche market ตลาดเฉพาะนั้นเป็นกลุ่มลูกค้าที่เจาะจงเป็นพิเศษ คือ Value Propositions, Distribution Channel (ช่องทางการจัดจำหน่าย), และ Customer Relationship (ความสัมพันธ์กับลูกค้า) ได้รับการออกแบบให้เหมาะกับเงื่อนไขกลุ่มเฉพาะนั้นๆ พบมากในลักษณะความสัมพันธ์แบบ Supplier-Buyer เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
III. Segmented บาง Business Model แบ่งโดย Market Segment ที่มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในความต้องการและปัญหาของลูกค้า เช่น บ.Credit Suisse แบ่งลูกค้าที่มีทรัพย์สิน $100,000 กับ $500,000 ที่ดูเหมือนไม่ค่อยมีความแตกต่างกัน แต่สองกลุ่มนี้มีความต้องการที่ต่างกันมากพอสมควร ทำให้การออกแบบ Building Block ส่วนอื่นๆต้องแตกต่างกันไปด้วย Value Propositions, Distribution Channel (ช่องทางการจัดจำหน่าย), Customer Relationship (ความสัมพันธ์กับลูกค้า) และ Revenue Stream (ยอดขายที่ต่อเนื่อง) หรือบริษัท Micro Precision Systems ที่ทำตลาดกับลูกค้า 3 Segment ใหญ่ๆคือ อุตสาหกรรมนาฬิกา, อุตสาหกรรมการแพทย์, อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล โดยทำการนำเสนอ Value Propositions ที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยให้แก่แต่ละกลุ่ม
IV. Diversified องค์กรที่มีลูกค้าหลากหลาย เช่น มีสองกลุ่มลูกค้าที่มีปัญหาและความต้องการที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เช่น ปี 2006 Amazon.com ตัดสินใจที่จะเปลี่ยนกลุ่มของลูกค้า Retail Business ของเขาเป็นการขาย “Cloud Computing Service” เช่นการเก็บข้อมูลออนไลน์ และยังคงทำธุรกิจกับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการทำเว็บไซต์ของตนเอง แต่เนื่องจากมีโคงสร้างพื้นฐานทาง IT ที่แข็งแรงทำให้ Amazon สามารถดูแลลูกค้าทั้งสองกลุ่มได้เป็นอย่างดี แม้ลูกค้าหลากหลายแต่ใช้โครงสร้างเดียวกันได้
V. Multi-sided Platforms (Multi-sided markets) บางองค์กรมีกลุ่มลูกค้าที่แยกกันอย่างชัดเจนสองกลุ่ม เช่น บริษัท บัตรเครดิตที่ต้องมีทั้งกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้บัตรเครดิต และกลุ่มร้านค้าที่รับบัตรเครดิตในการใช้จ่ายเป็นต้น ลูกค้าหลากหลาย และใช้โครงสร้างธุรกิจคนละส่วนกัน ต้องใช้ Business Model คนละส่วน

2.Value Propositions



คือการนำเสนอกลุ่มของสินค้าหรือบริการ เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้า (Customer Segment) และนี่คือสิ่งที่ลูกค้าจะเปลี่ยนจากบริษัทหนึ่งไปซื้ออีกบริษัทหนึ่งที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการได้มากกว่า หนึ่ง Value Proposition ต้องการสินค้าและบริการกลุ่มหนึ่ง ไปตอบสนองในกลุ่มลูกค้ากลุ่มหนึ่ง ( Segment ) บาง Value Propositions อาจต้องคิดค้นการนำเสนอขึ้นมาใหม่ หรือบางทีมีการนำเสนออยู่ในตลาดอยู่แล้ว เราก็สามารถเพิ่ม Features และ Attribute เข้าไป
Value Proposition สร้าง คุณค่าให้กับกลุ่มลูกค้าของเราผ่านส่วนผสมของปัจจัย (Element) ต่างๆ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการได้ตรงจุด อาจเป็นเชิงปริมาณ (ราคา,ความเร็ว) หรือคุณภาพ (การออกแบบ ฯลฯ) ซึ่งปัจจัยที่กล่าวถึงคือปัจจัยดังต่อไปนี้
• ความใหม่ เป็นการนำเสนอความต้องการใหม่ให้กับตลาด เป็นสิ่งที่ลูกค้าไม่เคยได้รับมาก่อน ไม่มีใครเหมือน เช่นตลาดมือถือ หรือ อุตสาหกรรมใหม่ที่ต่อยอดจากตลาดมือถือ ในทางตรงกันข้ามบางตลาดอาจไม่ต้องการปัจจัยนี้เลย เช่นตลาดการลงทุนแบบมีจริยธรรมเป็นต้น
• การดำเนินการ การพัฒนาสินค้าเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นคือทางที่ใช้กันบ่อยที่สุด เช่นคอมพิวเตอร์มักเพิ่มประสิทธิภาพความเร็ว การเก็บข้อมูลที่มากขึ้น แต่ในบางครั้งการมีการพัฒนาที่ช้าของบางส่วนที่ไม่ตอบสนองกันเช่น การประมวลผลกราฟฟิกที่ยังพัฒนาช้าอยู่ นี่คือสิ่งที่ต้องแก้ไข
• การปรับแต่ง การออกแบบสินค้าและบริการให้เป็นไปตามความต้องการของแต่ละกลุ่มลูกค้า หรือแม้แต่ลูกค้าเฉพาะบุคคล นั้นช่วงหลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก โดย Concept ของ Mass Customization และ Customer Co-Creation (ผู้ซื้อมาส่วนร่วมในการออกแบบ) แนวคิดนี้ทำให้เราออกแบบได้ตรงกลุ่มและยังคงได้ประโยชน์จากจำนวนลูกค้าที่มาก เกิด Economy of Scale
• ทำงานให้บรรลุผล คุณค่าถูกสร้างได้ง่ายๆโดยทำให้หนึ่งความต้องการของลูกค้าบรรลุผล เช่น บ.Roll-Royce ที่ผลิตเครื่องยนต์ของเครื่องบินเจ็ท ได้อย่างน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจ ทำให้ธุรกิจการบินส่วนใหญ่เชื่อใจและใช้บริการสินค้าและบริการหลังการขายของ Roll-Royce ในการทำสายการบิน ผลลัพธ์คือสายการบินต่างๆก็ต้องจ่ายเงินให้กับ Roll-Royce เป็นรายชั่วโมงที่ใช้เครื่องยนต์เลยทีเดียว
• การออกแบบ เป็นส่วนที่สำคัญในการสร้างคุณค่า แต่วัดผลเป็นตัวเลขยาก ในธุรกิจอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและธุรกิจแฟชั่น การออกแบบเป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้เกิดคุณค่าแก่ลูกค้า
• แบรนด์/สถานภาพ การเลือกตราสินค้าเป็นการบ่งบอกถึงรสนิยม หรือ กลุ่มลูกค้าที่เล่นกีฬาเสก็ตบอร์ดก็อยากที่จะใส่ตราสินค้า underground เพื่อให้คนอื่นรู้ว่าเขาอยู่ในกลุ่มของผู้เล่นสเก็ตบอร์ด
• ราคา เป็นเรื่องง่ายที่สุดที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจคือการทำราคาให้ต่ำกว่าท้องตลาด เช่น ธุรกิจสายการบิน Low-Cost หรือ ธุรกิจรถยนต์ราคาถูกของบริษัท Tata ที่สามารถตอบสนองกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ของอินเดียที่มีรายได้น้อย โดยการนำเสนอรถยนต์ที่มีราคาถูกจนน่าเหลือเชื่อ ทำให้ตลาดกลุ่มนี้โตอย่างรวดเร็ว อีกทั้งบางครั้งการแจกสินค้าให้ “ฟรี” ก็อาจเป็นอีกช่องทางหนึ่งเช่น หนังสือพิมพ์ฟรี ให้มือถือใช้ฟรี แต่เก็บรายได้จากค่าบริการ เป็นต้น
• ลดต้นทุน การช่วยลูกค้าให้ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง เช่น Saleforce.com มี Application CRM กับลูกค้าโดยการให้ลูกค้าจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆของตนเองได้
• ลดความเสี่ยง เช่นการรับประกันเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ภายในหนึ่งปี หรือแม้กระทั่งการรับประกันการบริการที่ลูกค้าได้ซื้อไป
• การเข้าถึงสินค้าและบริการ การออกแบบบสินค้าและบริการให้กับลูกค้าที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงสินค้าแต่มีความต้องการ เช่น บ.Netjets ที่ให้บริการเครื่องบินส่วนตัว กับลูกค้าที่ต้องการใช้บริการ แต่ไม่มีอำนาจในการซื้อเครื่องบินส่วนตัว ทำให้บุคคลธรรมดาทั่วไปที่มีความต้องการสามารถใช้บริการเครื่องบินส่วนตัวได้ หรือ ทางด้านการเงิน ก็คือ กองทุนรวม กองทุนรวมเหมาะสำหรับคนที่อยากลงทุนหลายหุ้นในอัตราส่วนที่สูง แต่ไม่มีอำนาจในการซื้อหุ้นนั้นเอง ก็สามารถลงทุนกับกองทุนรวมได้ทำให้ Portfolio ของเขามีหลายประเภทหุ้น แต่ใช้เงินไม่สูงมาก
• ความสะดวกสบาย / การใช้งาน ความสะดวกสบาย เช่น iPod ทำให้ลูกค้าสามารถค้นหาเพลง ทดลองฟังเพลง ซื้อเพลงได้จากเครื่อง iPod โดยตรง เป็นสินค้าและบริการที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ปัจจุบันคือเจ้าตลาดของอุตสาหกรรมเพลงเลยทีเดียว

3.Channel
ช่องทางการจัดจำหน่าย คือ Building Block ที่อธิบายว่าบริษัทจะสามารถนำพาสินค้าและบริการไปหากลุ่มลูกค้า (Segment) ของตนเองได้อย่างไร เพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า
ช่องทางการจัดจำหน่ายประกอบด้วย การสื่อสาร (Communication) , การจัดจำหน่าย (Distribution), และช่องทางการขาย (Sales Channel) สามสิ่งคือช่องทางที่จะเผชิญหน้ากับลูกค้า เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าโดยตรง มีจุดประสงค์ดังนี้
• เพิ่มการรับรู้สินค้าและบริการของบริษัทเราให้กับลูกค้า
• ช่วยให้ลูกค้าสามารถประเมินคุณค่าของบริษัทเราได้
• ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้าที่เฉพาะเจาะจงกับความต้องการของเขาได้
• นำพา Value Proposition ไปสู่ลูกค้า
• นำเสนอบริการหลังการขายให้กับลูกค้าได้

4. Customer Relationships (สายสัมพันธ์ลูกค้า)
ในการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านการตลาด ในเรื่องของ Customer Relationships ค่อนข้างมีความสำคัญ เพราะเป็นตัวบ่งบอกว่า ลูกค้าจะกลับมาซื้อซ้ำหรือไม่ หรือลูกค้าจะบอกต่อให้เพื่อนๆใช้สินค้านี้หรือไม่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าใจของลูกค้ายังอยู่กับเราเสมอ ธุรกิจควรระบุประเภทของความสัมพันธ์ที่ต้องการสร้างกับกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจนลงไปว่าเน้นหนักในเรื่องใดบ้าง ก็จะช่วยให้การจัดการด้านความสัมพันธ์กับลูกค้านั้นเน้นหนักได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น รวมทั้งเราจะไม่ต้องลงมือทำในสิ่งที่อาจจะดีแต่กินแรงหรือทรัพยากรมากแต่ได้ผลน้อยอีกด้วย
ตัวอย่างของสายสัมพันธ์ลูกค้าที่มีต่างๆ กันในหลายธุรกิจ เช่น
• การให้ความช่วยเหลือส่วนบุคคล เช่น การพัฒนาพนักงานให้อำนวยความสะดวกลูกค้าและให้บริการ เป็นอย่างดีทั้งระหว่างการขายและหลังการขาย
• การบริการตนเอง ลูกค้าสามารถจัดการทำบางสิ่งได้ด้วยตัวเอง โดยเรามีเครื่องมืออำนวยความสะดวก ง่ายดายและมีประสิทธิภาพไว้รับรอง เช่น ตู้ ATM
• บริการอัตโนมัติ ระบบนี้คล้ายกับการบริการด้วยตนเอง แต่เสริมความสามารถ ในการระบุลักษณะลูกค้าและวิเคราะห์ความพึงพอใจของลูกค้ารายบุคคลได้ด้วย
• สร้างชุมชน การสร้างชุมชนช่วยให้เกิดการพูดคุยและรู้จักกันโดยตรงระหว่าง ลูกค้าหรือธุรกิจที่แตกต่างกัน จริงอยู่ว่าการมีชุมชนในการดูแลนั้นอาจต้องมีการบริหารที่ดี แต่ผลที่ได้จากการรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนนั้นมีความคุ้มค่ามากมายทั้งในแง่ที่ช่วยให้เกิดแหล่งรวมความรู้และประโยชน์อื่นๆ ที่คนในชุมชนสามารถใช้งานร่วมกัน และนอกจากนั้นเมื่อเกิดปัญหาระหว่างลูกค้าที่แตกต่างกันก็สามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที หรือมีคนอื่นมาช่วยกันแก้ไขซึ่งบางครั้งรวดเร็วกว่า เห็นได้จากหลายธุรกิจที่ก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์แล้วเปิดตัว Fanpage เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูล และแก้ไขปัญหา คำติชมของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว


5. Revenue Streams
Revenue Streams คือ รายรับมาจากไหน มีความต่อเนื่องของรายรับอย่างไร เงินสดที่เข้ามาในธุรกิจเกิดจากลูกค้านั้นเข้ามาได้หลายแบบ แต่สุดท้ายแล้วก็จะถูกหักลบกับรายจ่าย คำถามสำหรับเรื่องนี้คือ เงินสามารถเข้าสู่ธุรกิจของเราได้ทางใดบ้าง
การเข้ามาของรายได้สู่ธุรกิจมีหลากหลายวิธี เช่น

• ขายสินค้า การขายสิทธิการเป็นเจ้าของสินค้าชิ้นนั้น เช่น ห้างโลตัสขายสินค้าอุปโภคบริโภค Amazon.com ขายหนังสือ เพลง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ บนโลกออนไลน์
• ค่าบริการ เป็นเงินที่ได้จากการเข้าใช้บริการรายครั้ง หรือตามแต่ตกลง มักเกิดกับกิจการที่เป็นบริการต่างๆ เช่น บริษัท DHL หรือ FedEx ที่เป็นบริษัทขนส่งสินค้าและไปรษณีย์เอกชน หรือไปรษณีย์ไทยของเรานั่นเอง นอกจากจะส่งจดหมายได้แล้วยังมีบริการอื่นๆ เสริมด้วย หรือการใช้บริการร้านซักรีดเสื้อผ้า เป็นต้น
• ค่าสมาชิก รายได้ที่สร้างขึ้นโดยการเก็บค่าสมาชิกโดยแลกกับบริการอย่างต่อเนื่อง เช่น Netflix ผู้ให้บริการดูหนังแบบ streaming ถูกลิขสิทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา การให้บริการของ Netflix ทำให้คนอเมริกันยอมจ่ายเพื่อดูหนังแบบถูกลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นมากทุกๆปี เพราะค่าบริการที่ไม่แพงมากและคุณภาพคมชัด หรือการที่คนไทยยอมเสียเงินรายเดือนเพื่อดูช่องทีวีที่หลากหลายกว่าช่องทีวีสาธารณะอย่าง True Vision
• ค่ายืมหรือค่าเช่า ให้สิทธิพิเศษเฉพาะของสินทรัพย์สำหรับช่วงเวลาหนึ่งของเวลา เช่น การเช่ารถ
• ค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ รายได้ที่เกิดจากการเรียกเก็บเงินสำหรับการใช้งานของทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการคุ้มครอง เช่น เว็บไซต์รวมรูปจากช่างภาพฝีมือดีที่ให้เช่าใช้ลิขสิทธิ์เพื่องานเฉพาะประเภทได้ หรือขอซื้อสิทธิ์ขาดหรือตามระยะเวลาได้
• ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขาย รายได้ที่เกิดขึ้นจากการเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่าง 2 ฝ่าย เช่น นายหน้าขายบ้าน ได้ค่านายหน้า
• ค่าโฆษณา รายได้ที่เกิดขึ้นจากการขายหรือให้เช่าพื้นที่โฆษณาสินค้า


6. Key Resources
ทรัพยากรเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญและจำเป็นที่สุดในการทำธุรกิจ ซึ่งหมายถึงทั้งสิ่งที่เรามี (โดยปกติแล้วก็เป็นสิ่งของเครื่องใช้และเงินที่มีอยู่ในมือ) และสิ่งที่เราเป็น นั่นแสดงว่า นอกจากทรัพย์สินแล้ว ทีมงานและแรงงานของเขา (และชั่วโมงทำงาน) ก็ถือเป็นทรัพยากรของธุรกิจเช่นกัน ซึ่งแต่ละธุรกิจก็จะมีแตกต่างกันไปตามลักษณะ รูปแบบ เช่น ผู้ผลิตกระเป๋าจะทุ่มเทให้กับทรัพยากรส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่และเครื่องมือผลิตที่ได้มาตรฐาน ในขณะที่นักออกแบบกระเป๋ามุ่งเน้นไปที่ทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเน้นที่ฝีมือมากกว่าแรงงาน ในการเขียนอธิบายช่องนี้จะพูดถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมตั้งแต่เครื่องจักร ไปจนถึงนามธรรมอย่างหน่วยงานหรือแผนกที่มีอยู่ในบริษัทหรือธุรกิจด้วยก็ได้ (แต่ควรแยกแยะทั้งสองฝั่งออกจากกัน) หลักการง่ายๆ ที่เราใช้จำแนกสิ่งที่ควรเขียนลงไป คือ มีอะไรบ้างในธุรกิจของเราที่จำเป็นต้องมีอยู่ เพื่อผลิตบางสิ่งบางอย่างที่จำเป็นสำหรับธุรกิจออกมาได้ เช่น กราฟิกดีไซเนอร์ ผู้นวดแผนไทย แม่ครัวสองคนที่มาสลับกะกัน ฯลฯ
ทรัพยากรที่ดีและมีคุณภาพเป็นต้นทางของความสามารถในการสร้างและนำเสนอคุณค่าได้อย่างดี เข้าถึงตลาด รวมไปถึงรักษาความสัมพันธ์กับของลูกค้า ซึ่งเป็นแหล่งของรายได้ที่เข้ามาด้วย ดังนั้น หลังจากที่เราเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพยากรที่มีลงไปในช่องดังกล่าวแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราควรทำคือ เมื่อมองย้อนไปยังคุณค่าที่นำเสนอ (VP) แล้ว
• ทรัพยากรที่มีอยู่นั้นสร้างคุณค่าที่นำเสนอได้สมบูรณ์แบบแล้วหรือไม่?
• สาเหตุของความไม่สมบูรณ์แบบนั้นเป็นเพราะขาดทรัพยากรที่จำเป็น หรือขาดความสามารถใน การพัฒนา?
จะเห็นได้ว่าทรัพยากรที่จำเป็น อาจเป็นมนุษย์ ด้านการเงิน ทางกายภาพและทางปัญญา ล้วนสร้างมูลค่าให้กับลูกค้า ซึ่งหลายครั้งลูกค้าก็พิจารณาสินทรัพย์ที่เรามี ประกอบกับการเลือกใช้งานคุณค่าของเราด้วย เช่น การดูความพร้อมในการผลิตของเครื่องมือ การดูกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ฯลฯ ประกอบกัน


7. Key Activities
กิจกรรมหลัก (Key Activities) จะอธิบายถึงกิจกรรมที่บริษัทจำเป็นต้องทำ สำหรับการวางแผน Business Models
ในทุกๆ Business Models จำเป็นต้องมี กิจกรรมหลัก (Key Activities) นี่ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บริษัทมีการดำเนินงานได้อย่างประสบความสำเร็จ เหมือนดังเช่น ทรัพยากรหลัก(Key Resource) มันจำเป็นต้องใช้ในการสร้างคุณค่า(Value Proposition) การเข้าถึงตลาด รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า และสร้างรายได้ ทั้งกิจกรรมหลัก(Key Activities) และทรัพยากรหลัก(Key Resource) จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ เช่น สำหรับ Microsoft กิจกรรมหลักจะเป็นการพัฒนา Software แต่สำหรับ Dell กิจกรรมหลักจะเป็นการจัดการโซ่อุปทาน(Supply Chain Management)
กิจกรรมหลักถูกแบ่งเป็นส่วนๆได้ดังนี้
• การผลิต กิจกรรมจะมีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การสร้าง การขนส่งสินค้า ให้เกิดคุณภาพสูงสุด กิจกรรมการผลิตจะเป็นแกนหลักในโครงสร้างธุรกิจของบริษัท
• การแก้ปัญหา ในส่วนนี้กิจกรรมจะค่อนข้างเกี่ยวข้องกับการเข้าไปแก้ปัญหาให้ลูกค้า ในการดำเนินงานของบริษัทที่ปรึกษา โรงพยาบาล และองค์กรที่ให้บริการจะใช้กิจกรรมหลักเป็น Problem Solving ในแผนธุรกิจเรียกว่ากิจกรรมเหล่านี้ว่า การจัดการความรู้(Knowledge Management) และการอบรมต่อเนื่อง (Continuous Training)
• ฐาน / เครือข่าย ในโครงสร้างธุรกิจที่ออกแบบให้Platform เป็นทรัพยากรหลัก(Key Resource) จะมีระบบเครือข่ายหรือระบบฐานข้อมูลเป็นกิจกรรมหลัก ในแผนธุรกิจของ eBay’s จะต้องมีการพัฒนาและรักษาระบบฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องนั่นคือ เว็บไซต์ eBay.com ในแผนธุรกิจของ Visa จะต้องการกิจกรรมหลักที่เกี่ยวข้องกับการทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินสำหรับพ่อค้า ลูกค้า และธนาคารกิจกรรมหลักในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการระบบฐานข้อมูล (Platform management) การจัดเตรียมการบริการ(Service Provisioning) และ Platform Promotion


8. Key Partnership
พันธมิตรทางธุรกิจ(Key Partnership) จะอธิบายถึง เครือข่ายของซัพพลายเออร์ และพันธมิตรทางธุรกิจ ที่ทำให้โครงสร้างธุรกิจลุล่วง
มีหลายเหตุผลที่บริษัทต้องมีพันธมิตรทางธุรกิจ และพันธมิตรทางธุรกิจจะกลายมาเป็นหลักสำคัญในการวางโครงสร้างธุรกิจ (Business Models) บริษัทสร้างพันธมิตรทางธุรกิจขึ้นมาเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ลดความเสี่ยง และเพื่อที่ควบรวมทรัพยากร
เราสามารถแบ่งพันธมิตรทางธุรกิจออกได้ 4 แบบดังนี้
• การเป็นพันธมิตรกับผู้ที่ไม่ได้เป็นคู่แข่งทางการค้า
• การร่วมมือกันระหว่างคู่แข่งทางการค้า
• กิจการร่วมค้า
• ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้จำหน่ายซึ่งทำให้มั่นใจว่าเชื่อถือได้
เราจะใช้ 3 แรงจูงใจที่แตกต่างกันในการตั้งพันธมิตรทางธุรกิจ
• เพิ่มประสิทธิภาพ และการประหยัดจากขนาด (Economy of Scale)
รูปแบบส่วนใหญ่ของพันธมิตรธุรกิจจะถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรและกิจกรรมต่างๆ มันคงจะไร้เหตุผลหากบริษัทต้องจัดหาทรัพยากรทั้งหมดหรือทำกิจกรรมทั้งหมดด้วยตนเอง การเพิ่มประสิทธิภาพและ Economy of Scale โดยพันธมิตรทางธุรกิจ จะทำได้จากการลดต้นทุน การใช้ Outsource การใช้ทรัพยากรหรือโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน
• การลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอน
พันธมิตรทางธุรกิจจะช่วยลดความเสี่ยงจากสภาพการแข่งขันที่ไม่แน่นอน มันคงไม่ง่ายเลยที่คู่แข่งจะทำการตั้งพันธมิตรธุรกิจขึ้นที่หนึ่งขณะที่ต้องแข่งขันอยู่อีกที่หนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น Blue Ray Disc เป็นดิสก์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มสินค้าอีเล็กทรอนิคของโลก ทั้งกลุ่มร่วมมือกันที่จะนำเทคโนโลยี Blue Ray Disc ไปสู่ตลาด ในขณะที่สมาชิกของกลุ่มก็มีการขาย Blue Ray Disc ในส่วนของตนเองไปด้วย
• การควบรวมทรัพยากรและกิจกรรม
มีบางบริษัทมีทรัพยากรทั้งหมดหรือดำเนินกิจกรรมทั้งหมด ถูกกล่าวถึงในแผนธุรกิจ ส่วนใหญ่บริษัทเหล่านั้นจะขยายกำลังการผลิตโดยขึ้นอยู่กับโดยอาศัยบริษัทอื่น ๆ ที่จะให้ทรัพยากรที่เฉพาะเจาะจงหรือดำเนินกิจกรรมบางอย่าง พันธมิตรทางธุรกิจจะถูกกระตุ้นด้วยความต้องการที่จะได้มาซึ่งความรู้ ใบอนุญาต และการเข้าถึงฐานลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออาจจะอนุญาตให้ผู้ผลิตรายอื่นผลิต Hand Set ให้แทนที่จะมาผลิตเองหมด หรือบริษัทประกันภัย จะเลือกบริษัทโบรกเกอร์อิสระในการให้ช่วยขายประกันมากกว่าที่จะใช้ Sales ของตนเอง


9. Cost Structure
โครงสร้างต้นทุน(Cost Structure) จะกล่าวถึงต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในโครงสร้างธุรกิจ(Business Models)ในส่วนนี้จะอธิบายถึงต้นทุนที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานภายใต้โครงสร้างธุรกิจ การสร้างสรรค์ การขนส่ง การรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้า และการสร้างรายได้ ทุกอย่างถือว่าเป็นต้นทุนค่าใช้จ่าย ต้นทุนดังกล่าวสามารถนำมาคิดคำนวณอย่างง่ายๆหลังจากกำหนด Key Resource, Key Activity และ Key Partnership
โครงสร้างต้นทุนมีลักษณะต่างๆดังนี้
• Fixed Cost ต้นทุนคงที่ เป็นค่าใช้จ่ายที่คงที่แม้ว่าจะมีปริมาณการผลิตมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือน ค่าเช่น สิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิต สำหรับบางธุรกิจเช่น โรงงานผลิต อาจจะมีต้นทุนในส่วนของ Fixed Cost ค่อนข้างสูง
• Variable Cost ต้นทุนผันแปร เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่จะผันแปรไปตามปริมาณการผลิตสินค้าที่มากขึ้น ในบางธุรกิจเช่น เทศกาลดนตรี จะมีสัดส่วนของต้นทุนผันแปรค่อนข้างสูง
• Economy of scale การประหยัดต่อขนาด เป็นต้นทุนที่ได้เปรียบสำหรับธุรกิจที่มีการขยายขนาด เช่น ผลประโยชน์จากอัตราสินค้าเทกอง ในกรณีที่มีการบรรทุกเยอะๆ ปัจจัยนี้และอื่นๆทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหน่วยจะลดลงเปรียบเสมือนเรามีกำไรมากขึ้น
• Economy of scope การประหยัดจากการผลิตสินค้าหรือบริการหลายอย่าง คือ เมื่อผลิตสินค้าหลายอย่าง ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง เนื่องจากใช้ปัจจัยบางอย่างร่วมกันได้ โดย เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเล็กน้อย หรือไม่เพิ่มเลย หรือ สามารถใช้วัสดุเหลือใช้ที่จะต้อง ทิ้ง นำมาผลิตต่อ ก็ได้ผลผลิตอีกอย่าง นำมาขายได้รายได้เพิ่มมากกว่าต้นทุนที่ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

ตัวอย่าง Business Models

ebay.com
eBay เป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1995 ด้วยการใช้โมเดลทางธุรกิจที่แตกต่างจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซอื่นๆ กล่าวคือ eBay ทำธุรกิจแบบ C2C โดยเป็นตัวกลางที่เชื่อมผู้ขายกับผู้ซื้อเข้าด้วยกัน ทำให้ eBay ไม่ต้องสต็อกสินค้าและประสบปัญหาต้นทุนสินค้าคงคลังสูงเหมือนที่ Amazon เป็น

eBay ใช้กลยุทธ์ Transaction Advantage ในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ เช่นเดียวกับที่ห้างสรรพสินค้าเป็น แต่ eBay สามารถลดต้นทุนทั้ง process cost และ transaction cost ของทั้งผู้ขายและผู้ซื้อได้ต่ำกว่าที่ห้างสรรพสินค้าทำได้
ผู้ขายมีต้นทุนค่าวางขายสินค้าผ่าน eBay ที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับการวางขายที่ห้างสรรพสินค้า ไม่มีต้นทุนค่าขนส่งสินค้าไปที่ห้าง สามารถเรียกเก็บเงินจากลูกค้าได้ทันทีโดยไม่ต้องให้เครดิตเหมือนการขายผ่านห้าง และผู้ขายสามารถควบคุมปริมาณและประเภทสินค้าที่ต้องการขายได้ตลอดเวลา
ด้านผู้ซื้อก็มี transaction cost ที่ต่ำกว่าการซื้อที่ห้าง เช่น ผู้ซื้อไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปห้าง ผู้ซื้อสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ระบบ search ของ eBay ผู้ซื้อสามารถค้นหาสินค้าที่มีราคาต่ำที่สุดได้โดยสั่ง sort ตามราคาสินค้า และผู้ซื้อสามารถสอบถามรายละเอียดของสินค้าได้จากผู้ขายโดยตรงผ่าน e-mail
การที่ eBay สามารถเก็บค่าขายสินค้าจากผู้ขายในราคาที่ต่ำกว่าห้างสรรพสินค้าได้ เนื่องจาก eBay ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าค่าพื้นที่ของห้างสรรพสินค้ามาก ถ้าห้างสรรพสินค้าต้องการวางสินค้าจำนวนหนึ่งล้านชิ้น อาจจะต้องใช้พื้นที่เท่ากับสนามฟุตบอล แต่ eBay สามารถวางสินค้าหนึ่งล้านชิ้นได้ในเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียวที่ใช้พื้นที่ขนาดเล็กๆ ในการวางเครื่อง
อย่างไรก็ตาม การซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตมีข้อด้อยที่สำคัญคือเรื่องความน่าเชื่อถือของผู้ขายและผู้ซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโมเดลแบบ C2C ที่ eBay ใช้ ซึ่งผู้ขายและผู้ซื้อต่างไม่รู้จักตัวตนของอีกฝ่าย ทำให้ไม่แน่ใจว่าจะถูกคู่ค้าของตนโกงหรือไม่ แต่จากปรัชญาธุรกิจของ eBay ที่กล่าวว่า “ธุรกิจของเราเริ่มต้นจากความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเป็นคนดี” ทำให้ eBay พัฒนาระบบ Feedback ที่เป็นเสมือนการการันตีว่าเป็นสมาชิกสุจริต และการจูงใจให้สมาชิกใช้ระบบชำระเงิน PayPal เพื่อป้องกันการทุจริต
ระบบ Feedback เป็นระบบที่ใช้เก็บประวัติการซื้อขายของสมาชิก เมื่อผู้ซื้อและผู้ขายได้ทำการซื้อขายกันเสร็จสิ้น โดยผู้ขายได้รับการชำระเงินจากผู้ซื้อ และผู้ซื้อได้รับสินค้าจากผู้ขายแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะให้คะแนน Positive Feedback และเขียนข้อความชมเชยให้แก่กันเพื่อเป็นการยืนยันว่าเป็นสมาชิกที่เชื่อถือได้ ระบบ Feedback จะเก็บคะแนนและข้อความไว้ตลอดกาลเพื่อเป็นประวัติของสมาชิกแต่ละคน และสมาชิกทุกคนสามารถดูคะแนน Feedback ของคนอื่นได้
ระบบชำระเงิน PayPal เป็นระบบที่ eBay แนะนำให้ผู้ซื้อและผู้ขายใช้ โดย PayPal จะเป็นตัวกลางในการรับชำระเงินจากผู้ซื้อและส่งต่อเงินให้ผู้ขาย ถ้าผู้ซื้อชำระเงินทาง PayPal แล้วแต่ผู้ขายไม่ส่งสินค้าไปให้ ผู้ซื้อสามารถร้องเรียนไปที่ PayPal เพื่อขอเงินคืนได้
ระบบ Feedback และระบบชำระเงิน PayPal ทำให้การซื้อขายสินค้าผ่าน eBay ได้รับความน่าเชื่อถือสูงขึ้น ส่งผลให้มีจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าผ่าน eBay เพิ่มมากขึ้น และทำให้ eBay มีรายได้ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการมีต้นทุนที่ต่ำ ไม่ต้องสต็อกสินค้าเอง ทำให้ eBay เป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จและมีกำไรมหาศาล

myspace.com
มายสเปซ (MySpace) เป็นเว็บไซต์ในรูปแบบของเครือข่ายชุมชนออนไลน์ ชื่อดังเว็บหนึ่ง ให้บริการทำเว็บส่วนตัว บล็อก การเก็บ ภาพ วิดีโอ ดนตรี และเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่มคนอื่น มายสเปซมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เบเวอร์ลีย์ฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

มายสเปซก่อตั้งเมื่อ สิงหาคม พ.ศ. 2546 โดย ทอม แอนเดอร์สัน และ คริสโตเฟอร์ เดอโวล์ฟ ในปัจจุบัน มายสเปซมีพนักงานกว่า 300 คน และในตัวเว็บไซต์มีผู้ลงทะเบียนมากกว่า 100 ล้านคนและมีผู้ลงทะเบียนใหม่ประมาณ 200,000 คนต่อวัน




Case Study : IT Doesn’t matter

เขียนโดย Nicholus Carr

IT Doesn’t Matter เป็นบทความที่ได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงความสำคัญของระบบ IT ที่มีต่อภาคธุรกิจ โดยมีใจความสำคัญ คือการตั้งคำถามว่า ระบบ IT นั้น มีความสำคัญกับธุรกิจจริงหรือไม่
Carr ได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบว่า ระบบ IT นั้น เปรียบได้กับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ซึ่งจะช้าหรือเร็วนั้น ผู้บริโภคก็สามารถที่จะเข้าถึงได้เหมือนกันหมด แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ตรงกันข้ามกับ โครงสร้างพื้นฐานก็ คือ Proprietary หรือ การมีกรรมสิทธิ์ หรือได้รับ สิทธิบัตร อาทิเช่น บริษัทยาที่สามารถจะสิทธิบัตรเพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบได้ แต่ในขณะที่ ระบบ IT นั้น ไม่สามารถป้องกันการลอกเลียนแบบได้ ทำให้ระบบ IT นั้น ไม่ได้สร้างความสามารถ และ ความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ Carr ยังได้เสนอแนวคิดว่า IT ก็เปรียบเสมือน Commodity Goods คือเป็นสินค้าที่หาได้ทั่วไป ใครมีเงินก็สามารถที่จะซื้อได้ มีโอกาสในการเข้าถึง เท่าๆกัน เช่น น้ำมัน ซื้อจาก บางจาก หรือ จาก ปตท. ก็สามารถจะทำให้รถยนต์ ถึงที่หมายได้เท่ากัน
Carr จึงได้เสนอว่า การลงทุนในระบบ IT แบบ Offensive จะทำให้สูญเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ เพราะอ้างอิงตามกฎของมัวร์ (Moor’s Law) แล้ว “ระบบ IT จะทวีความเร็วขึ้น ทุกๆปี และจะมีราคาที่ถูกลงโดยตลอด” Carr จึงเห็นว่า การลงทุนใน ระบบ IT จึงเป็นการลงทุนที่ควรเน้นเป็นการลงทุนแบบ Defensive กล่าวคือ มีการใช้ประโยชน์จากระบบเดิมให้ได้มากที่สุด และไม่จำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอหากระบบนั้น ไม่มีความจำเป็น Carr จึงได้เสนอแนวทางใหม่ สำหรับการจัดการระบบ ITไว้ ทั้งหมด 3 ข้อ ดังนี้



1. Spend less คือการใช้จ่ายทางด้าน IT ให้น้อยลง เพราะว่าปัจจุบัน มีการใช้จ่ายเกินความจำเป็น โดยองค์กรส่วนใหญ่ จะลงทุนในระบบ IT มากถึง 50% ของการลงทุนทั้งหมด ซึ่งถือว่าเกินความจำเป็น โดยเฉพาะในปัจจุบัน มีการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากภาคธุรกิจทั่วโลก รวมแล้วประมาณ 100ล้านเครื่องต่อปี นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับปัญหาการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพของพนักงาน เช่น ลงทุนในระบบ IT เป็นเงินหลาย10 ล้าน แต่ใช้งานจริงแค่เพียง Microsoft Word

2.Follow,Don’t Lead คือการยอมเป็นผู้ตามทางด้าน IT มากกว่าจะเป็นผู้นำทางด้าน IT เพราะตามกฎของมัวร์แล้ว จะทำให้ราคาของ IT นั้น ถูกลงกว่าเดิมมาก และความทันสมัยก็มีมากกว่า ทำให้มีแนวคิดว่า หากเราลงทุนที่หลัง ย่อมจะได้ของที่ดีและทันสมัยมากกว่า
3. Focus On Risk,Not Opportunities คือการลดความเสี่ยงจากการเปิดรับโอกาสใหม่ๆ ในการพัฒนาIT ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อความปลอดภัยของข้อมูล และต้องพัฒนาบุคลากรเพื่อการใช้ที่สมบูรณ์และเต็มประสิทธิภาพ
ประเด็นการอภิปรายใน Class

บทความของ Carr เป็นบทความที่ถูกตีพิมพ์ ใน Harvard Business Review ซึ่งถือเป็นหนังสือที่มีผู้ชมประมาณ 10 ล้านคน โดยผู้อ่านจะเป็นระดับผู้บริหาร เมื่อบทความนี้ถูกตีพิมพ์ จึงเป็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อ่าน ซึ่งได้ลงทุนระบบ IT ในบริษัทของตนเองไปแล้ว
เมื่อมีการอภิปรายภายในห้อง ว่านักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ ว่า ระบบ IT จะสร้างความได้เปรียบให้กับองค์กร

การแสดงความคิดเห็นจากนักศึกษาดังนี้
นักศึกษา 1 : ไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่า ระบบ IT นั้นสามารถลอกเลียนแบบได้ง่ายมาก ทำให้เมื่อเกิดการลอกเลียนแบบ จึงไม่เกิดความสามารถในการแข่งขัน
นักศึกษา 2 : คิดว่าขึ้นอยู่กับการจัดการของผู้บริหาร คือการนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

อาจารย์อภิปรายเปรียบเทียบ ถ้าคำกล่าวของ Carr เป็นจริง ซึ่งหมายความว่า ระบบ IT ไม่สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กรได้ ก็เปรียบได้กับ ถ้าทุกคนใช้ Microsoft Word เป็น และใช้ส่ง Term Paper ทุกคนจะต้องได้เกรดเดียวกัน ใช่หรือไม่…ประเด็นสำคัญจึงควรจะขึ้นอยู่กับการใช้งานอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ
อาจารย์อภิปรายเพิ่มเติม ถึงข้อขัดแย้งในตัว Carr ที่ตั้งชื่อบทความว่า IT Doesn’t Matter หรือ IT ไม่มีความสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันเอง Carr ก็ได้กล่าวว่า ระบบ IT นั้นเป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับธุรกิจ จึงควรมองที่ความเสี่ยง มากกว่ากว่า โอกาส เพราะมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องคอยป้องกัน และสร้างความปลอดภัยให้กับระบบ
อาจารย์ตั้งคำถามเพิ่มเติม เห็นด้วยหรือไม่ กับ คำกล่าวของ Carr ที่ว่า ควรหรือไม่ ที่จะเป็นผู้ตาม มากกว่าผู้นำในด้าน IT

นักศึกษา 4 : เห็นด้วย ผู้ตามมีโอกาสมากกว่าที่จะได้พบเห็นข้อผิดพลาดของผู้นำได้ และสามารถที่จะสร้างการเรียนรู้จากผู้นำได้
นักศึกษา 5 : เห็นด้วย ราคาที่สูงในระบบที่ออกมาใหม่ ทำให้ต้นทุนสูงมาก สำหรับ First Mover
นักศึกษา 6 : ไม่เห็นด้วย เพราะถ้าทุกคนเป็นผู้ตามหมด จะไม่มีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น จะไม่มี First Mover ที่ประสบความสำเร็จได้
นักศึกษา 7 : ไม่เห็นด้วย เพราะถ้าบริษัทไหนที่กลายเป็นผู้นำ ก็จะมีความสามารถที่จะเป็นผู้นำอยู่เรื่อย

จดหมายแสดงความเห็นต่อบทความ
เห็นด้วยกับบทความ ไม่เห็นด้วยกับบทความ
Jason Hittleman เห็นด้วยว่าไม่ควรใช้เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ควรมีการประเมินความเสี่ยง และควบคุมกิจกรรมการใช้ ระบบ IT อยู่เสมอ F. Warren McFarlan ไม่เห็นด้วยที่จะเป็นผู้ตามมากกว่าผู้นำ เพราะถึงแม้จะเป็นผู้ตาม ก็ถือเป็นผู้แพ้ และยากที่จะผันตัวเองจะเป็นผู้นำ ซึ่ง First Mover จะสามารถจับจองพื้นที่ในตลาด มากกว่าคู่แข่ง
Vijay Gurbaxani บริษัทไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ ระบบ IT มากเกินความจำเป็น แต่ควรดึงประโยชน์ออกมาให้ได้มากที่สุด การดึงประโยชน์ออกมาให้ได้มากที่สุดจะทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันอย่างแท้จริง Marianne Broadbent ไม่เห็นด้วยกับการควบคุมงบประมาณของ ระบบ IT มากเกินไป เพราะไม่ได้ทำให้บริษัทได้เปรียบจากคู่แข่ง
Mark S. Lewis IT ควรจะมีการปรับปรุงให้เหมาะสมที่สุดกับองค์กร หรือ โครงการนั้นๆ

จดหมายตอบกลับจาก Nicholus Carr
“Technology นั้นเป็นสิ่งที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะใช้กลยุทธ์ในด้าน IT เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน”




กรอบนโยบาย ICT 2020

กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554-2563 ของประเทศไทย เพื่อให้การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารและโทรคมนาคมมีความต่อเนื่องจากกรอบนโยบายเดิมที่เป็น ICT 2010(กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะ พ.ศ. 2544 – 2553)

วัตถุประสงค์สำคัญ ดังนี้
1. เพื่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และโทรคมนาคมของไทยในระยะเวลา 10 ปี
2. ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโลก
3. เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำกรอบนโยบายไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงาน
ได้มีการจัดทำร่าง วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแนวทางการขับเคลื่อนรายยุทธศาสตร์ และเชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องมาระดมความคิดเห็น เพื่อกำหนดมาตรการ แผนงาน และโครงการเร่งด่วนในยุทธศาสตร์แต่ละกลุ่ม ซึ่ง (ร่าง) กรอบนโยบาย ICT 2020 นี้ ประกอบด้วย
7 ยุทธศาสตร์หลัก คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1: สร้างโครงสร้างพื้นฐาน ICT อันทันสมัย ทั่วถึง และมั่นคงปลอดภัย
เป้าหมาย: ภายในปี 2020 บริการด้านโครงส้างพื้นฐาน ICT จะเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ โดยมีคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล
โดยแบ่งออกเป็นหลายๆด้านดังนี้

- Supply : ให้มี National Broadband Taskforce เพื่อพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ของประเทศ ทั้งระบบ Wired และ Wireless ให้มีความทั่วถึง และเป็นระบบเปิดที่ผู้ประกอบการแข่งขันได้อย่างเสรีและเป็นธรรม
- Demand : กระตุ้นให้เกิดการมีการใช้ ICT ทั่วประเทศไทย โดยให้ความรู้ประชาชน ส่งเสริมการเข้าถึงอุปกรณ์ และส่งเสริมการพัฒนา Application ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- Universal access : จัดให้มี Free Hot spots ทั้งในเมืองและชุมชน
- Security : จัดตั้ง National Cyber Security Agency เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่าย ความปลอดภัยสาธารณะ รวมถึงความมั่นคงของชาติ
- Self – sufficiency : ส่งเสริม R&D และสร้างตลาดสำหรับผู้ประกอบการอุปกรณ์และบริการของไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : สร้างคนไทยให้มีคุณภาพ ใช้ ICT อย่างฉลาดและรู้เท่าทัน
เป้าหมาย : มีกำลังคนที่มีคุณภาพ ความสามารถในการพัฒนาและใช้ ICT อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ต้องเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนาประเทศในยุคเศรษฐกิจฐานบริการและฐานความคิดสร้างสรรค์
โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยดังนี้
- National ICT Competency Framework : เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ด้าน ICT
- Skilled manpower at home & abroad : ให้มี National ICT Skill Certification Center สำหรับการทดสอบมาตรฐานทักษะ ICT ในประเทศ และ ประสานกับต่างประเทศ
- Improved supply of ICT Manpower : ให้มีมหาวิทยาลัย เฉพาะทางเพื่อพัฒนาบุคคากรด้าน ICT และให้หลักสูตรอาชีวะและอุดมศึกษามี Work – integrated learning
- ICT and English literacy for all graduates : กำหนดให้มี exit exam เพื่อทดสอบความรู้ด้าน ICT และ ภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมและปริญญาตรี
ยุธศาสตร์ที่ 3: สร้างอุตสาหกรรม ICT ให้เข้มแข็ง สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและมีการพัฒนาเป็นดันดับต้นของอาเซียน
เป้าหมาย : อุตสาหกรรม ICT ไทยเข้มแข็งและเติบโตอย่างต่อเนื่อง สามารถเป็นหนึ่งในผู้นำในอาเซียน และเป็นอุตสาหกรรมลำดับต้นๆที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยดังนี้
- Brand & Quality : ส่งเสริมการสร้าง Brand พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ ICT ไทยให้มีมาตรฐานระดับโลก โดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT ในลักษณะ Cluster (การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ)
- Skill enhancement : พัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้ และทักษาที่จำเป็นเช่น Innovation in ICT Services, Multidisciplinary skills, และ ความรู้ที่จำเป็นในการไปตลาดต่างประเทศ
- Supporting mechanism : มีกลไกสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างเป็นรูปธรรม เช่นสนับสนุนนผู้ประกอบการที่ให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหมๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา เช่น Cloud computing
- Regional cooperation: โดยใช้ประโยชน์จาก ASEAN Economic Cooperation
ยุทธศาตร์ที่ 4 : พัฒนารัฐานบางอิเล็กโทรนิกส์ให้ฉลาดรอบรู้ มีการเชื่องโยง และเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
เป้าหมาย : พัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ฉลาดรอบรู้ มีการเชื่อมโยงกัน และเปิดโอกาสให้ทุกภาคมีบทบาทร่วมกันในการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือรูปแบบการบริหารของภาพรัฐ เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน
โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยดังนี้
- Governance : จัดตั้งสภา CIO ภาครัฐและมีหน่วยงานกลางรับผิดชอบ , การกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติด้าน ICT ของภาครัฐ, การพัฒนาบริการกลาง, และการร่วมพิจารณางบประมาณ ICT ของภาครัฐ
- Open government : พัฒนาบริการตามแนวทาง Open Government ประชาชนสามารถร่วมตรวจสอบการทำงานของรัฐ
- Infrastructure sharing : ให้เริ่มทำโครงการนำร่อง การให้บริการแก่หน่วยงานของรัฐ เพื่อเป้าหมายการใช้ทรัพยากรณ์ร่วมกันและลดการใช้พลังงาน
- National Map and Spatial Geodata Service : พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน NSDI ให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงพื้นที่ ที่มีเอกภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5: ใช้ ICT เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิต
เป้าหมาย: เกิดการสร้างนวัตกรรมในสินต้าและบริการ ที่ไทยมีศักยภาพ เพื่อแปลงสภาพเศรฐกิจจากฐานการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานบริการ และ ความคิดสร้างสรรค์
โดยแบ่งเป็นหัวข้อย่อยดังนี้
- Strengthening production sector : ใช้ ICT สำหรับการเพิ่มผลิตภาพการผลิตทุกสาขา โดยเน้นไปที่ภาคเกษตร พัฒนาความรู้เรื่อง SME ให้กับผู้ประกอบการ และใช้ ICT กับอุตสาหกรรม
- Increase use of e-commerce: ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบการชำระเงิน
- Increase use of e-commerce: นำ Social media มาสนับสนุนการจัดการธุรกิจ และการตลาด
ยุทธศาสตร์ที่ 6: สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมด้วย ICT
เป้าหมาย : ประชาชนได้รับความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมอย่างทั่วถึง
โดยแบ่งเป็นหัวข้อย่อยดังนี้
- Enhance understanding and skill การใช้ประโยชน์จากสื่อสาธารณะ ภาคเอกชน วิสาหกิจเพื่อสังคม
- Increase access to information and knowledge: เผยแพร่ความรู้ทั่วไป เฉพาะด้าน และ ความรู้อาชีพ ผ่าน Education channel ใน free TV
- Increase availability of digital content: พัฒนาสื่อดิจิทัลในภาษาท้องถิ่น
- Use of social media/social network: เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และต่อยอดวิชาการสมัยใหม่ จากความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิม ใช้กลไกทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนออนไลน์ในททางสร้างสรรค์
ยุทธศาสตร์ที่ 7 : ใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย : ICT เป็นพลังสำคัญที่ขับเคลื่อนการพัฒนาสู่สังคมและเศรษฐกิจสีเขียว โดยแบ่งเป็นหัวข้อย่อยดังนี้
- Energy saving measures: พัฒนาและส่งเสริมระบบจราจร และขนส่งอัจฉริยะ, Smart Grid และ Greeen Data Center
- eWaste management : ต้องบริหารจัดการ e-waste อย่างบูรณาการ สามารถนำมา recycle ได้
- Green Awareness : ใช้ Social media/ social network ในการสร้างความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษณ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ เพิ่มเงือนไขการจัดซื้อสินค้าและบริการ ICT ของภาครัฐ, พัฒนาระบบการใช้ฉลากสิ่งแวดล้อม
- Promote use of green ICT
- R&D : ส่งเสริมเพื่อสร้างนวัตกรรม ICT ที่ช่วยประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม



แผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2

พ.ศ.2552 – 2556

แผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 เป็นแผนนโยบายที่เป็นแผนประสานงานระดับชาติ (sectoral plan) ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อ เดือน ตุลาคม 2552 แผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 แตกต่างกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติโดยเจาะลึกไปที่การพัฒนา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย โดยได้มีการพัฒนาขึ้นจากแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 1 หลายประการ โดยเพิ่มจุดเน้นในบางเรื่องให้เด่นชัดมากขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโยโลยี สังคม และ เศรษฐกิจ และยังแก้ไขบางส่วนที่เป็นจุดอ่อน ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศไทย สามารถได้รับประโยชน์สูงสุด จากการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาใช้ เพื่อพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจต่อไป

แผนแม่บท ICT ฉบับที่2 พ.ศ.2552-2556
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
มีมาตรการต่างๆดังนี้
1. สนับสนุนด้านเงินทุน / เงินช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่
2. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ ICT ไทยสู่ระดับสากล
3. สร้างโอกาสทางการตลาดและโอกาสในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการไทย ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4. ส่งเสริมการลงทุนทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ
5. ส่งเสริมให้เกิดธุรกิจและบริการที่เกี่ยวกับซอฟแวร์โอเพนซอร์สในประเทศไทย
โดยมีเป้าหมายต่างๆดังนี้
- เป้าหมายที่ 1 : มูลค่าของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภายในประเทศเติบโตเป็นไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้าน บาท
- เป้าหมายที่ 2 : สัดส่วนของซอฟต์แวร์ที่ผลิตในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศโดยรวม
- เป้าหมายที่ 3 : ผู้ประกอบการ ICT ไทยได้ทำโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ อย่างน้อยร้อยละ 20
- เป้าหมายที่ 4 : มูลค่าของตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ในประเทศประเทศเติบโต้เป็นไม่น้อยกว่า 165,000 ล้านบาทโดยมีสัดส่วนที่ผลิตในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
- เป้าหมายที่ 5 : มูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์ของไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2551 อย่างน้อย ร้อยละ 30
- เป้าหมายที่ 6 : มีโครงการที่ดำเนินการโดย ผู้ประกอบการไทยได้รับรางวัลระดับนานาชาติ ไม่ต่ำกว่า 50 โครงการต่อปี
- เป้าหมายที่ 7 : มีเมืองที่เป็นศูนย์กลางพัฒนา ICT ในระดับโลกในประเทศไทย
- เป้าหมายที่ 8 : เพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาด้าน ICT ของภาครัฐและเอกชนอย่างน้อยร้อยละ 15 ใรช่วงปี 2551-2556
- เป้าหมายที่ 9 : จำนวนบริษัทที่ให้บริการซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนอย่างน้อย ร้อยละ 10 ของผู้ประกอบซอฟต์แวร์ทั้งหมด

ยุทธศาสตร์ เพื่อให้บรรลุซึ่งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนา ICT อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้เงื่อนไขที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของการพัฒนา ICT ของประเทศไทย แผนแม่บทฯ ฉบับนี้ได้กำหนดยุทธศาสตร์หลักขึ้น 6 ด้าน โดยภาครัฐ เอกชน และประชาชน จะมีส่วนร่วมดำเนินภารกิจตามที่กำหนดในแผนฯ เพื่อนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการสร้างศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง สามารถแข่งขันในโลกสากลได้ รวมถึงการสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ อันนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนไทยโดยทั่วกัน โดยยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่

• ยุทธศาสตร์ที่ 1: การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
• ยุทธศาสตร์ที่ 2: การบริหารจัดการระบบ ICT ของประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล
• ยุทธศาสตร์ที่ 3: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
• ยุทธศาสตร์ที่ 4: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ
• ยุทธศาสตร์ที่ 5: การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
• ยุทธศาสตร์ที่ 6: การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
โดยยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญและควรเร่งดำเนินการในลำดับแรกก่อนได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการแก้ไขจุดอ่อนที่สำคัญ 2 ประการ คือเรื่องกำลังคนและการบริหารจัดการ ICT ระดับชาติ (ยุทธศาสตร์ที่ 1 และ 2) นอกจากนี้ อีกยุทธศาสตร์หนึ่งที่ต้องเร่งดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT (ยุทธศาสตร์ที่ 3) เนื่องจากเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาในสังคมและเศรษฐกิจฐานความ รู้และนวัตกรรม และเป็นสิ่งที่ประเทศไทยยังมีระดับการพัฒนาที่ด้อยกว่าประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ


การนำเสนอกรอบแนวคิด การจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 3)
ของประเทศไทย พ.ศ.2557-2561
แนวคิดในการจัดทำ ICT master plan Version 3เป็นการต่อยอดจาก ICT master plan Version 2 อยู่ในขอบเขตของกรอบนโยบาย ICT 2020 เป็นแผนที่สามารถจับต้องได้และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้จริง และนอกจากนั้นยังเป็นการยกระดับสู่การบูรณาการสมบูรณ์แบบเพื่อยกระดับสู่สังคม ชุมชน ท้องถิ่น เข้มแข็ง ปลอดภัย เศรษฐกิจเติบโตยั่งยืน และเป็นการยกระดับสู่ความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

การปรับให้กลมกลืนกับยุทธศาสตร์การพัฒนาไอซีทีของกระทรวง


ความคาดหวังเป้าประสงค์ จาก ICT Master Plan Version3
1. สัดส่วน ICT ต่อ GDP สูงขึ้นโดยเฉพาะจาก SME
2. ภาคธุรกิจมีเครื่องมือ ICT เพื่อสร้างความพร้อม การปรับตัวในการแข่งขันในเวทีสากล
3. ประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น ประยุกต์ใช้ ICT ในการศึกษาเรียนรู้ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ และได้รับบริการด้านสาธารณสุข
4. บริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐได้ตะเข็บรอย่อและเป็นที่พึ่งพอใจของผู้ใช้บริการทุกภาคส่วน
5. สังคม ชุมชน ท้องถิ่น เข้มแข็ง ปลอดภัย มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคม ASEAN
6. อันดับประเทศไทยสูงขึ้นในการจัดอันดับ ICT/E-GOV ระดับโลก

กำหนดการจัดทำแผนแม่บทไอซีที(ฉบับที่ 3)ของประเทศไทย พ.ศ. 2557-2516

มิถุนายน –กรกฎาคม 2556 กรกฎาคม 2556 สิงหาคม – กันยายน 2556 กันยายน 2556

การประชุมระดมความคิดเห็น (Focus Group)

สถานการณ์ประเทศไทย
ภาพรวมสถานการณ์ประเทศไทย (แผนฯ 11, ICT 2020)
- ด้านเศรษฐกิจ สภาพทางเศรษฐกิจมีเสถียรภาพดี ภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศเป็นฐานในการสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหกรรมรวม
- ด้านสังคม-โครงสร้าง ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น คนด้อยโอกาสยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆได้อย่างทั่วถึงทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม จึงทำให้เกิดปัญหาการเข้าถึงทรัพยากร
-ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากร ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้เกิดปัญหาซ้ำเติม อย่างไรก็ดีประเทศไทยเองโชคดีตรงที่มีความมั่นคงด้านอาหาร มีอาหารอุดมสมบูรณ์ให้บริโภคทุกฤดูกาล
-ด้านการบริหารจัดการ ยังคงมีความขัดแย้งด้านการเมือง และสามจังหวัดชายแดนใต้ เหล่านี้ยังคงเป้นปัญหาต่อการพัฒนาประเทศ
สถานการณ์ด้าน ICT ของประเทศ ดังนี้
-มูลค่าอุตสาหกรรม ICT ประเทศ
-ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
-ด้านการใช้ ICT
-ด้านความสารถในการแข่งขันด้าน ICT
มูลค่าอุตสาหกรรม ICT ประเทศไทย

จากการสำรวจตลาดในปี 2554 นั่นเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการสำรวจซึ่งดำเนินมาทุกปี โดยตลาด ICT ที่ทำการสำรวจประกอบด้วย
1.ตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Computer Hardware)
2.ตลาดสื่อสาร (Communications)
3.ตลาดซอฟต์แวร์ และบริการซอฟต์แวร์ (Software and Software Service)
จากตาราง จะพบว่าในปี 2554 ที่ผ่านมานั้น สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศมีทิศทางการเจริญเติบโตที่ดีตั้งแต่ต้นปี ซึ่งเป็นผลดีต่อการใช้จ่ายสำหรับสินค้าและบริการด้าน ICT ของประเทศ อย่างไรก็ตามจากภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดช่วงปลายปี ส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการผลิตสินค้าและบริการทางด้าน ICT รวมไปถึงกำลังการซื้อและการบริโภคของภาคครัวเรือน และภาคเอกชนลดลง เป็นผลให้อัตราการเจริญเติบโตของตลาด ICT ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
จากตัวเลขที่แสดง พบว่าประเทศไทยมีมูลค่าตลาด ICT โดยรวมประมาณ 531,853 โดยที่สัดส่วนมูลค่าตลาดในกลุ่มต่างๆ ยังคงในรูปแบบเดิม กล่าวคือ มูลค่าตลาดส่วนใหญ่อยู่ในตลาดสื่อสาร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 76.9 (ประมาณ 4 แสนล้านบาท) ขณะที่อันดับรองลงมา ได้แก่ ตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และ ตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ โดยมีสัดส่วนร้อยละ 17.6 และ 5.5 ของมูลค่าตลาด ICT ตามลำดับ และคาดว่าในปี 2555 ตลาด ICT จะมีการเติบโตจากปี 2554 ไปในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากมีแนวโน้มการใช้งานอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ทั้งแบบใช้สายและไร้สายเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ความต้องการอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มสูงขั้น นอกจากนี้ยังพบว่าการลงทุนทางด้าน IT ของภาครัฐและภาคเอกชนยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้งาน IT เพื่อรองรับการทำงานเมื่อเกิดสภาวะพิบัติภัย ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ตลาด ICT ของปี 2555 เติบโตร้อยละ 11.2 หรือคิดมูลค่าตลาดประมาณ 5.9 แสนล้านบาท

จากแผนภาพ ส่วนแบ่งมูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์จำแนกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ในปี 2554 พบว่า กลุ่ม Personal Computer หรือกลุ่มคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีสัดส่วนตลาดมากที่สุด โดยมีสูงถึงร้อยละ 70.6 โดยคิดเป็นมูลค่า 66,120 ล้านบาท รองลงมาได้แก่กลุ่ม Peripherals หรือกลุ่มอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยมีสัดส่วนมูลค่าตลาดร้อยละ 19.8 คิดเป็นมูลค่า 18,539 ล้านบาท และกลุ่มสุดท้ายกลุ่ม Systems มีสัดส่วนมูลค่าตลาดร้อยละ 9.6 หรือ คิดเป็นมูลค่า 8,930 ล้านบาท
โครงสร้างพื้นฐาน

ตลอดปีที่ผ่านมา (ปี 2555) ความแพร่หลายและปริมาณการใช้งานของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประชากรทั่วโลก (Information and Communication Technologies: ICT) ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบทุกบริการ ยกเว้นบริการโทรศัพท์ประจำที่ที่มีแนวโน้มการใช้งานลดลงต่อเนื่อง สาเหตุจากผู้ใช้บริการมีความนิยมในการใช้บริการอื่นๆแทนที่เพิ่มขึ้น แทนที่เพิ่มขึ้น ดังเห็นได้จากดัชนีชี้วัดต่างๆในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมแสดงผ่านทางความแพร่หลายในการใช้บริการต่างๆ โดยบริการที่มีความโดดเด่นและมีการเจริญเติบโตสูงสุดในปีที่ผ่านมา ยังคงเป็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถตอบสนองความต้องการในการใช้งานและสะท้อนพฤติกรรมของผู้ใช้บริการในปัจจุบันได้มากกว่า อีกทั้งความสะดวกในการใช้งานที่มีมากกว่าระบบสาย (สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา) และการพัฒนาโครงข่ายเพื่อรองรับการใช้งานของผู้ให้บริการในปัจจุบันคลอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ซึ่งนโยบายของภาครัฐเองในหลายๆประเทศก็เอื้อต่อการเจริญเติบโตของบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ กล่าวคือมีการส่งเสริมการเข้าถึงบริการอินเตอร์เน็ตที่ไม่ได้ผูกติดกับเทคโนโลยีทางสายเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

Fixed-broadband subscription
ถึงแม้ว่าตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมาการเติบโตขอบบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์ประจำที่อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากผู้ใช้งานส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่หันไปใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่กันมากกว่า เนื่องจากความแพร่หลายในการใช้งานที่มากกว่า (กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมีความแพร่หลายมากกว่า 100% ในขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีความแพร่หลายเกือบ 80%) แต่อย่างไรก็ดี ด้วยข้อจำกัดทางด้านความเร็วและความมีประสิทธิภาพของสัญญาณที่มีมากกว่า ทำให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์ประจำที่ยังมีความจำเป็นในการใช้งาน และได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันเทคโนโลยี Next Generation Network ได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากประสิทธิภาพในการใช้งานที่หลากหลาย ความเร็ว รวมไปถึงคุณภาพของการใช้งานที่มากกว่า ทำให้คาดการได้ว่าในอนาคตการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์ประจำที่ก็จะยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

สำหรับประเทศไทยเอง ความแพร่หลายของผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลสำรวจล่าสุดในปี 2555 (ศูนย์วิจัยนวัตกรรมอินเตอร์เน็ตไทย) พบว่า มีผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตมากกว่า 25 ล้านคน ในขณะที่ความแพร่หลายของผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์ประจำที่ (Fixed (wired) Broadband Internet) ก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 5.61% ในปี 2554 เป็น 6.42% ในปี 2555 ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นอัตราที่สวนทางกับจำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำ (Narrowband Internet)
Mobile Cellular Subscription

เมื่อพิจารณาความแพร่หลายของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อประชากรโลก จะพบว่ามีการคาดการณ์ความแพร่หลายของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ว่ายังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ที่ระดับ 96.2% ในปี 2556 (เพิ่มขึ้น 5% จากปี 2555) โดยเป็นการเพิ่มขึ้นแบบลดลงทั้งในกลุ่มประเทศที่พัมนาแล้วและประเทสที่กำลังพัฒนา มีสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งจากจำนวนความแพร่หลายของผู้ใช้บริการในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วสูงกว่า 120% โดยปัจจุบันจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ลงทะเบียนทั่วโลกมีมากกว่า 6,800 ล้านคน ซึ่งถ้านับเฉพาะในประเทศจีนและอินเดียเพียงสองประเทศก็จะพบว่ามีจำนวนผู้ใช้บริการมากถึง 2,000 ล้านคน
ความแพร่หลายของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญทางด้านราคาของเครื่องและอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ลดต่ำลง ครอบคลุมโครงข่ายของผู้ให้บริการที่มากขึ้น อีกทั้งการแข่งขันในการให้บริการโทรคมนาคมที่สูงขึ้นส่งผลถึงอัตราค่าใช้บริการที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในหลายประเทศ จึงส่งผลดีต่อความแพร่หลายของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีเมื่อเปรียบเทียบความแพร่หลายในการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา (89.4%) กับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (128.2%) จะพบว่ายังมีความเหลื่อมล้ำระหว่างกันอยู่ค่อนข้างมาก
ประเทศไทย (จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา: International Monetary Fund’s World Economic Outlook Report, April 2012) มีการคาดการณ์ความแพร่หลายของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 114.58% เป็น 123.52% ในปี 2555 เมื่อพิจารณาแนวโน้มความแพร่หลายของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประกอบกับตัวอย่างสภาพตลาดของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (เข้าสู่สภาวะอิ่มตัว) ทำให้คาดการณ์ได้ว่าความแพร่หลายของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย อาจจะเข้าสู่การเติบโตในลักษณะเพิ่มขึ้นแบบลดลง
สถิติ และผลสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2011
ข้อมูลที่นำมานำเสนอ มาจากบริษัท ศูนย์วิจัยนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการตรวจสอบและ
ประมวลผลสถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ประเทศไทย (Truehits.net ทรูฮิต)
สำหรับอันดับเว็บไซต์ที่มีผู้เยี่ยมชมสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่
1 www.sanook.com
2 www.mthai.com
3 www.kapook.com
4 www.dek-d.com
5 www.manager.co.th
6 www.exteen.com
7 http://teenee.com
8 www.truelife.com
9 www.thairath.co.th
10 www.siamsport.co.th
ภาพรวมและแนวโน้มในการใช้อินเทอร์เน็ต จาก ดร. ปิยะ ตัณฑวิเชียร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค บริษัทศูนย์วิจัยนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตไทย จำกัด มีดังนี้
- ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของประชากรอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยสูงถึง 26.77% เมื่อเทียบกับปี 2010
- จำนวนประชากรอินเทอร์เน็ตออนไลน์ เฉลี่ยแต่ละวันประมาณ 6 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในต่างประเทศ 4 แสน 4 หมื่นคน
- เดือนสิงหาคม 2554 เป็นเดือนที่มีประชากรอินเทอร์เน็ตออนไลน์ในประเทศไทยสูงสุด 25,090,390 คน
- จำนวนครั้งของการเยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศไทยเฉลี่ยต่อวัน แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยเมื่อเทียบกับปี 2010
- ในปี 2011 จำนวนประชากรบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยกว่า 25 ล้านคน

เว็บไซต์หมวดบันเทิงได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง ในปี 2011

กลุ่มเว็บไซต์ บันเทิง, เกมส์ออนไลน์, เว็บ blog, diary, เว็บบอร์ด, เว็บข่าวสื่อ, ช้อปปิ้ง ยังคงได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2011

โดยแบ่งเป็นปริมาณการเข้าชมดังนี้ กลุ่มที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับแรก
- หมวด บันเทิง 37.50% (ลดลงจากปีก่อน 0.47%)
- เกมส์ออนไลน์ 13.26% (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.27%
- เว็บ blog, diary, เว็บบอร์ด 10.41% (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.70%)
- เว็บข่าวสื่อ 7.42% (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.38%)
- ช้อปปิ๊ง 5.56% (ลดลงจากปีก่อน 0.79%
ในขณะที่เว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมต่ำสุด 4 อันดับแรก คือเว็บกลุ่มสุขภาพ 0.25% (ลดลงจากปีก่อน 0.02%) เว็บอสังหาริมทรัพย์ 0.72% (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.04%) และเว็บหน่วยงานราชการ 1.08% (ลดลงจากปีก่อน 0.01%)

สถิติที่น่าสนใจของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

- เพศชาย 55% (ต่างจากปีก่อน -2.39)
- เพศหญิง 45% (ต่างจากปีก่อน +2.39)
กลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ นักเรียน-นักศึกษา และช่วงกลุุุ่มอายุระหว่าง 12 – 17

ส่วนการจำแนกตามพื้นที่การใช้งาน ภาคตะวันออก มีประชากรอินเทอร์เน็ตต่ำสุด 9%
กรุงเทพและปริมณฑลครองแชมป์ประชากรอินเทอร์เน็ตสูงสุด 31 % (ต่างจากปีก่อน -5) ภาคกลาง 20% (ต่างจากปีก่อน +2) ภาคอีสาน 18% (ต่างจากปีก่อน +1) ภาคใต้ 12% (ต่างจากปีก่อน +1%) ภาคเหนือ 10% (ต่างจากปีก่อน +1) และภาคตะวันออก มีประชากรต่ำสุด 9% (เท่าปีก่อน 0%)

ในเดือนเมษายน 2555 มีการใช้ Search Engine Google 99.06% และ Microsoft Bing 0.61% ส่วน Yahoo! ตกไปจากอันดับการสำรวจ
ปริมาณการใช้ Search Engine ในเดือนมกราคม 2555 มีจำนวน 19.2 ล้านครั้งต่อวัน

ระบบปฏิบัติการที่ใช้

จากการสำรวจจะเห็นได้ว่า ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows ยังครองใจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนคอมพิวเตอร์เดส์กท็อป โดยผู้ใช้ Windows XP ลดน้อยลง จำนวนผู้ใช้ Windows 7 มีมากขึ้น ผลมาจากโน้ตบุ๊กเครื่องใหม่ที่มีระบบปฏิบัติการของแท้มาให้ใช้งานด้วย และในเดือนเมษายน 2555 มีจำนวนผู้ใช้ Windows 89.5% ต่างจากปีก่อน -6.91% ส่วน Mac มีผู้ใช้ 8.15% เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4.06% ที่น่าจับตามองคือระบบปฏิบัติการ Linux มีผู้ใช้ 0.26% เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.15%
Web Browser
ในส่วนของเว็บบราวเซอร์บนเดส์กท็อป (พีซี โน้ตบุ๊ก) พบว่า Google Chrome มาแรงที่สุด ผู้ใช้ Internet Explorer (IE) ลดลง
สถิติล่าสุด เดือนเมษายน 2555 IE (Internet Explorer) มีแนวโน้มการใช้ลดลงไปเรื่อยๆ มีส่วนแบ่งเหลือเพียง 44.36% ส่วนChrome ยังแรงต่อเนื่อง ครอง 30.77% แบ่งกับ Mozilla Firefox 14.19%

จากพฤติกรรมของผู้ใช้ที่เปลี่ยนไป ไม่พิมพ์ URL เข้าเว็บตรงๆ แต่จะเข้าผ่านลิงก์บนโซเชียล เน็ตเวิร์คอย่าง Facebook ทำให้มีจำนวนคลิกลิงก์ผ่าน Facebook ในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม 2554 เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในช่วงการติดตามข่าวอุทกภัย
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือเพิ่มมากขึ้นในเดือนตุลาคม 2554 ในช่วงของการรับข่าวสารอุทกภัย และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลล่าสุด ถึงเดือนเมษายน 2555)
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากการเปิดตัว iPhone4S ในเดือนตุลาคม 2554 มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือเพิ่มมากขึ้น เรียงลำดับ iPhone, iPad, Nokia, BlackBerry, HTC

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบน iPad เพิ่มสูงขึ้นมาก ตามมาด้วย iPhone, BlackBerry โดย iPhone และ iPad เป็นอุปกรณ์มือถือที่ครองส่วนแบ่งการตลาด 46.53% และ 31.19% ของจำนวนผู้ใช้ในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ ตามลำดับ และมีอัตราการเติบโตกว่า 113.47% และ 529.81% ตามลำดับเปรียบเทียบกับปี 2554

ข้อมูลการใช้งานดาต้าในการรับส่งข้อมูลบน iOS (iPhone, iPad, iPod Touch) มีเพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมปีที่แล้วอย่างมาก ตามมาด้วย Android OS, Symbian และ RIM

ปี ประเภทของ ICT
คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต เว็บไซด์
2551 79.9 65.3 33
2552 81.1 68.5 37.9
2553 82.2 70.5 38.7

จำนวนผู้ใช้ 1-15 คน 16-25 คน 26-30 คน 31-50 คน 51-200 คน >200 คน
คอมพิวเตอร์ 21.9 70.4 78.8 84.7 94.1 99.3
อินเตอร์เน็ต 15.1 55.2 62.9 72.8 86.3 96.5

ปี มีโทรศัพท์มือถือ ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้อินเตอร์เน็ต
2549 41.5 25.9 14.2
2550 47.2 26.8 15.5
2551 52.8 28.2 18.2
2552 56.6 29.2 20.1
2553 61.8 30.9 22.4

อายุ อายุ 6-14 อายุ 15-24 อายุ 25-34 อายุ 35-44 อายุ 50 ขึ้นไป
2550 19.3 39.7 15.9 8.4 2.9
2551 23.6 44.6 19.4 10.3 3.4
2552 29.0 47.3 21.5 11.9 4.0
2553 35.9 50.0 24.6 13.6 4.2

Internet Users (per 100 people)
จากกการเก็บข้อมูลของ The World Bank พบว่าแนวโน้มการใช้อินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นทุกทีทั่วโลก จากข้อมูลที่พบนั้นจะสังเกตได้ว่า Internet User ของประเทศไทยนั้นมีแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับแนวโลกเฉลี่ยของโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จากแนวโน้มนั้นประเทศไทยจะมีความสามารถในการใช้อินเตอร์เน็ตและเข้าถึงข้อมูลและเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกให้ผู้ที่ทำธุรกิจนั้นควรตื่นตัวเพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งไม่ใช่เพียงเฉพาะไทยนั้นแต่ยังเป็นทั่วโลก
จากตารางด้านล่างนั้นเป็นตารางที่เปรียบเทียบอันดับการใช้อินเตอร์เน็ตและพื้นที่หรือประเทศเหล่านั้น ซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 132 จาก 211 ประเทศทั่วโลก ซึ่งถือได้ว่า การใช้อินเตอร์เน็ตของไทยนั้นยังน้อยกว่าประเทศส่วนใหญ่ อาจสามารถอนุมานได้ว่า ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยนั้นกระจุกตัวที่ผู้ใช้ที่มีอายุระหว่าง 6-35 ปี จึงทำให้การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตนั้นยังเป็นส่วนน้อยนั่นเอง อย่างไรก็ตามจากแนวโน้มที่ได้จากการเก็บสถิติแล้วนั้น พบว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มการเข้าถึงและใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นทุกปี สืบเนื่องมาจากอุปกรณ์เครื่องมือการสื่อสารอย่างสมาร์ทโฟนที่เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มการลดลงของราคา จึงคาดได้ว่าประชากรไทยจะสามารถเข้าถึงและใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น
Rank Country or area Internet Penetration

1
Falkland Islands
2,842 96.90%
2
Iceland
300,656 96.00%
3
Norway
4,471,907 95.00%
4
Sweden
8,557,561 94.00%
5
Netherlands
15,559,488 93.00%
5
Denmark
5,155,411 93.00%
7
Luxembourg
468,348 92.00%
8
Bermuda
63,070 91.30%
9
Finland
4,789,266 91.00%
10
New Zealand
3,873,982 89.50%
… … … …
132
Thailand
17,779,139 26.50%

มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จัดทำเพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของธุรกิจที่มีการขายสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ตทั้งประเภทธุรกิจที่ทำ จำนวนคนทำงาน มูลค่าการขาย ค่าใช้จ่าย การจัดส่งสินค้าและวิธีการชำระเงิน เริ่มจัดทำขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2550

รูปภาพแสดงข้อมูลข้างต้น ด้านขวาคือตัวเลขมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แยกตามประเภทผู้ประกอบการต่างๆ โดยนับเป็นหน่วยล้านบาท ทำการเก็บรวบรวมประจำทุกปีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551-2554 จะเห็นถึงสัดส่วนของผู้ประกอบการแต่ละประเภทอย่างชัดเจนจากรูปกราฟด้านซ้าย

เมื่อพิจารณามูลค่าขายโดยแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่าในรอบปีพ.ศ. 2553 กลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรอิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ตมีมูลค่าขายมากที่สุดเป็นอันดับ 2 มีตัวเลขประมาณ 6,297 ล้านบาท(ร้อยละ 19.4) รองจากกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น เครื่องแต่งกาย อัญมณี และเครื่องประดับ

ประมาณร้อยละ 54.6 ของธุรกิจ e-commerce ทั้งหมดขายสินค้าและบริการผ่านอิเล็กทรอนิกส์และมีหน้าร้าน ส่วนที่ขายผ่านอิเลกทรอนิกส์อย่างเดียวมีอยู่ร้อยละ 45.2 และอีกร้อยละ .2 ขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์ผสมผสานกับกรขายในลักษณะอื่นๆ เช่น ส่งพนักงานออกไปขายตรงหรือฝากขาย เป็นต้น

สำหรับตลาดของธุรกิจ e-Commerce (ที่ไม่รวม e-Auction ของรัฐ) จะเป็นตลาดในประเทศคิดเป็นร้อยละ 78.8 ของมูลค่าขายทั้งหมด ส่วนตลาดที่ขายต่างประเทศคิดเป็นประมาณร้อยละ 21.2 โดยหากพิจารณาในกลุ่มมูลค่าขายต่างประเทศ ประเทศที่เป็นลูกค้าสั่งซื้อสินค้าหรือบริการมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ อังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสิงคโปร์

ระบบการชำระเงินค่าสินค้าหรอบริการของธุรกิจ e-Commerce ประมาณร้อยละ 50 มีบริการกรชำระของลูกค้าในรูปแบบออฟไลน์อย่างเดียว ส่วนที่เปิดให้ชำระได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์มีประมาณร้อยละ 33 โดยการชำระแบบออนไลน์ที่ธุรกิจส่วนใหญ่เปิดให้บริการคือ การชำระเงินผ่านระบบ ATM ในขณะที่ออฟไลน์คือ การโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร
บุคลากรด้าน ICT
บุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งสำหรับการพัฒนา ICT ของประเทศ ในปัจจุบันบุคลากรที่ทำงานด้าน ICT (ตามแนวทางขององค์กรเพื่อความร่วมมือทาง

เศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทักษะสูง (High skill ICT related occupation) เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์หรือผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มทักษะต่ำ (Low skill ICT related occupation) เช่นช่างเครื่องและช่างปรับทางด้านอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังหรืออิเล็กทรอนิกส์ โดยปีพ.ศ. 2554 มีบุคลากรจำนวนรวมทั้งสิ้น 493,563 คน โดยแบ่งตามเพศ โดยข้อมูลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในปี 2554 มีผู้ทำงานทั้งหมด 37.9 ล้านคนมีสัดส่วนของผู้ทำงานด้าน ICT เพียงร้อยละ 1.1 เท่านั้น
เมื่อมาพิจารณาด้านการกระจายตัวของผู้ทำงานด้าน ICT ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ภาคกลางเป็นภาคที่มีผู้ทำงานด้าน ICT มากที่สุดร้อยละ 27 รองลงมาเป็นภคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)ร้อยละ 24.9 กรุงเทพมหานครร้อยละ 22.1 ภาคเหนือร้อยละ 14.6 และภาคใต้ร้อยละ 11.4 ตามลำดับ

ขีดความสามารถการแข่งขันด้าน ICT ของไทยเมื่อเทียบกับประเทศใน ASEAN

ด้าน IT Industry Competitiveness
Economic Intelligence Unit (EIU) ได้ประกาศผลการจัดอันดับความสามารถการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมไอทีเมื่อปี 2011 โดยพิจารณาจาก้านต่างๆและมีคะแนนในหกกลุ่มคือ ด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านงานวิจัยไอที ด้านกฎหมายไอที และด้านการสนับสนุนของภาครัฐบาล ปรากฏว่าประเทศที่ได้รับคะแนนสูงสุดคือสหรัฐอเมริกา ตามมาด้วยฟินแลนด์ และสิงคโปร์อยู่อันดับสามสำหรับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน มาเลเซียอยู่อันดับ 31 (คะแนน 44.1; ขึ้นจากปี 2009 ซึ่งอยู่ที่ 42) ตามมาด้วยประเทศไทยอยู่อันดับ 50 ซึ่งถือว่ายังน่าพึงพอใจ
ด้าน E-Government Readiness
United Nations Public Administration Network (UNPAN) จะมีการจัดอันดับ E-Government Readiness ออกมาทุกสองปี โดยจะมองในด้านต่างๆที่แบ่งเป็นสามกลุ่มคือ ด้านการบริการออนไลน์ ด้านโครงสร้างพื้นฐานไอซีที และด้านบุคลากร โดยล่าสุดในปี 2012 ประเทศที่มีคะแนนเป็นอันดับหนึ่งในการสำรวจนี้คือเกาหลีใต้ ตามมาด้วยเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ และเดนมาร์ก สำหรับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียนประเทศไทยอยู่อันดับ 92 ตกมาจากอันดับที่ 76 เมื่อปี 2010 ซึ่งคะแนนในส่วนนี้เป็นที่น่ากังวลอย่างยิ่ง

ด้าน Cloud Computing Readiness
Asia Cloud Computing Association ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างความตระหนักและสำรวจข้อมูลการใช้ Cloud Computing ในเอเชีย จะจัดทำผลสำรวจความพร้อมด้าน Cloud Computing ของประเทศต่างๆในเอเชีย 14 ประเทศทุกปี โดยเริ่มสำรวจตั้งแต่ปี 2011 โดยจะดูข้อมูลต่างๆทั้งในแง่ของ ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน ความเสี่ยงของดาต้าเซ็นเตอร์ ความปลอดภัยของข้อมูล ความพร้อมเรื่องระบบไฟฟ้า การสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งประเทศที่ได้รับการคัดเลือกให้มีคะแนนเป็นอันดับหนึ่งสองปีติดกันคือญี่ปุ่น และในปี 2012 ทางเกาหลีใต้เป็นอันดับสอง ตามด้วยฮ่องกง และสิงคโปร์ ประเทศไทยอยู่อันดับ 13 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายร่วมกับเวียดนาม เป็นสิ่งที่น่าห่วงเป็นอย่างยิ่ง

ด้าน Internet Penetration
ข้อมูลอัตราส่วนการใช้อินเตอร์เน็ตต่อประชาการอาจจะมีหลายแหล่ง แหล่งหนึ่งที่นิยมมาใช้ในการอ้างอิงคือ Internet World Stats เปรียบเทียบข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลก โดยในกลุ่มประเทศอาเซียนจะพบว่าประเทศที่มีอัตราส่วนการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตต่อประชากรสูงสุดคือ บรูไน 78% ตามด้วย สิงคโปร์ 75% มาเลเซีย 60.7% เวียดนาม 33.9% ฟิลิปปินส์ 32.4% ประเทศไทย 30.0% และอินโดนีเซีย 22.1% ซึ่งเมื่อดูข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ตของเราเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในกลุ่มอาเซียนแล้วก็ไม่เป็นที่น่าพอใจเช่นกัน

Networked Readiness Index (NRI)
เป็นดัชนีชี้วัดความพร้อมใช้ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการ พัฒนาและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ โดยการจัดอันดับ NRI นั้นจะจัดทำโดย World Economic Forum (WEF) ซึ่งวัดจาก 4 องค์ประกอบ 10 ตัวชี้วัด ดังนี้
Environment sub-index
1. Political and regulatory environment
2. Business and innovation environment
Readiness sub-index
3. Infrastructure and digital content
4. Affordability
5. Skills
Usage sub-index
6. Individual usage
7. Business usage
8. Government usage Impact sub-index
9. Economic impacts
10. Social impacts

WEF ได้ทำการศึกษาวิจัยในประเทศต่างๆ จำนวน 142 ประเทศ โดยผลการจัดอันดับปรากฏว่าประเทศสวีเดนได้คะแนน NRI เป็นอันดับที่ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ได้คะแนน NRI เป็นอันดับที่ 2 ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 เช่นเดียวกัน สำหรับประเทศไทยได้คะแนน NRI ประจำปี 2012 ในอันดับ 77 ตกลงจากอันดับที่ 59 ในปี 2011 ลดอันดับลง 3 ปีติดต่อกัน คะแนน NRI ลดลง 4 ปีติดต่อกันอีกด้วย ขณะที่ประเทศมาเลเซียนั้นแม้อันดับ NRI จะลดลงติดต่อกัน 3 ปีเช่นเดียวกันแต่กลับมีคะแนน NRI เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผลการจัดอันดับ NRI ประจำปี 2012 แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยไม่มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นส่งผลทำให้ต้องสูญเสียโอกาสทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรหันมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่ขัดขวางการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างจริงจังเพื่อให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงการสื่อสารอย่างเท่าเทียมด้วยคุณภาพและราคาที่เป็นธรรม เป็นพลังขับเคลื่อนประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

วิเคราะห์จุดอ่อนของระบบสารสนเทศในประเทศไทย
- จากข้อมูลพบว่าไทยยังไม่มีความสามารถในการแข่งขันเทียบเท่ากับประเทศมาเลเซียได้ ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมาเลเซียเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยยังมีข้อบกพร่องในหลายๆด้าน เช่น
o ด้านภาษา ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการสอนและเผยแพร่ความรู้ ซึ่งมาเลเซียมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ทำให้มีตำรารองรับและง่ายต่อการเรียนรู้ระบบสารสนเทศ ดังนั้นไทยจึงควรมีการพัฒนาภาษาอังกฤษในทุกระดับชั้นของการศึกษา
o ด้านความมั่นคงทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อทางด้านเศรษฐกิจด้วย เพราะงบประมาณต่างๆถูกใช้ไปกับการสร้างฐานอำนาจ อีกทั้งความไม่มั่นคงทางการเมืองทำให้ประเทศไทยดูไม่มั่นคงในสายตาของนักลงทุนในมุมมองของต่างชาติ และยังทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้รับการพัฒนาและถูกมองข้าม เช่น ด้านการศึกษา หรือการจัดสรรงบประมาณให้กับทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเพียงพอ ทำให้ขาดทรัพยากรบุคคลทางด้าน IT ที่จะนำเอาความรู้ไปพัฒนาและต่อยอด
o โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร มีการกระจายรายได้ที่ต่ำ ทำให้มีการรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่เมืองสำคัญๆ เช่นกรุงเทพฯและปริมณฑล เชียงใหม่ ขอนแก่น หาดใหญ่ ทำให้พื้นที่ในชนบทยากต่อการเข้าถึงทรัพยากรเหล่านั้น นำไปสู่การเหลื่อมล้ำทางการเรียนรู้
การสร้างความได้เปรียบในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
ในปี พ.ศ. 2556 จะเห็นว่ายอดการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก โดยมีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น โดยสมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้นเป็นอันดับที่หนึ่ง ถึงร้อยละ 57.3 แท็บเล็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.2 คอมพิวเตอร์พกพาเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.8 ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่ามีเพียงการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเท่านั้นที่ลดลง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า สมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ตพีซี จะมีแนวโน้มที่จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แม้ว่ายอดขายของแท็บเล็ตจะสูงขึ้นในแต่ละปี มีอุปกรณ์ในการเข้าถึงโลกออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ของยอดขาย ก็ยังไม่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานนี้ เช่น wifi ฟรีจากภาครัฐ หรืออุปกรณ์ต่างๆที่เพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งสัญญาณยังไม่ดีพอ ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ยังใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ หรือใช้ได้เต็มที่ก็ใช้ได้เพียงในชุมชนเมือง แต่พื้นที่ชนบทนั้นที่ควรจะได้รับการเข้าถึงให้เทียบเท่าในเมือง เพราะถึงอย่างไรก็ตามพื้นที่ในชนบทก็มีโอกาสน้อยในการรับรู้ข้อมูลทางด้านอื่นๆอยู่แล้ว เช่น ห้องสมุดหายาก มีโอกาสน้อยในการเข้าพบเจอกับชาวต่างชาติเพื่อฝึกภาษา หรือการได้รับประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยี เช่น รถไฟฟ้า e-banking ดังนั้น ระบบสารสนเทศควรจะเข้าถึงในทุกพื้นที่ เพื่อทำให้ประชากรรู้เท่าทันถึงข้อมูล ถึงแม้ว่าโครงสร้างพื้นฐานอย่างเช่น รถไฟฟ้ายังไปไม่ถึง แต่ก็สามารถใช้ระบบสารสนเทศในการเรียนรู้สังคมโลกอื่นๆ
ทิศทางของ Computer Hardwares , Communication , Software & Software services
ในปี พ.ศ. 2554 การเติบโตของแต่ละตลาดเป็นไปได้ดี จนกระทั่งปลายปีประสบปัญหาอุทกภัยจึงทำให้เกิดการชะลอตัวของทั้ง 3 ตลาด แต่หลังจากเหตุการณ์ ในปี พ.ศ. 2555 พบว่าตัวเลขของการเติบโตเพิ่มมากขึ้นจากปี พ.ศ. 2554 โดยที่ Computer Hardware มีสัดส่วนมากที่สุดคือ 20.4% ตามมาด้วย Software & Software services มีสูงถึง 17.2% และสุดท้าย Communication มี 8.7 % ซึ่งคาดว่าในปี พ.ศ.2556 ก็จะมีตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แหล่งอ้างอิง
- http://th.wikipedia.org/wiki/แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร_(ฉบับที่_2)
- http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect/246735804ceef70d84a6fff97342b770/Annual+Report+2012+Final.pdf?MOD=AJPERES&CACHEID=246735804ceef70d84a6fff97342b770
- https://attachment.fbsbx.com/file_download.php?id=404623212975297&eid=ASuTKsCnKsZmQ_RqJrBA9TOI73C1twdFdvmpGNdSBSTLiVMSN9eHYoWjy8Bbw_2kxNc&inline=1&ext=1376745105&hash=AStk7Id9s0oZDW4D
- https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=3&ved=0CD0QFjAC&url=http%3A%2F%2Ftruehits.net%2Fawards2011%2Fdownload%2Ftruehits-awards2011-14May2012.pdf&ei=jD8PUqvrD8WqrAfml4HQBw&usg=AFQjCNFkV_VFvX0AmK3d_x9iuIVznYhlNQ&bvm=bv.50768961,d.bmk&cad=rja
- http://data.worldbank.org/indicator/IT.NET.USER.P2/countries/1W-TH-SG-KH?display=default
- http://www.oknation.net/blog/itpro/2012/08/05/entry-1
- http://thanachart.org/2013/01/26/%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1/
- http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/ictwkRep54.pdf
- http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/pubsfiles/ictDev54.pdf
- http://www.eduzones.com/knowledge-2-8-27762.html
- http://knowledgesiam.wordpress.com/2011/10/06/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2/

รายชื่อกลุ่ม ATOM
1. กุลพจน์ นุชนวล 5510211021
2. ปรางใส รุ่งธนภัฒน์โสภณ 5510211022
3. อริยทรัพย์ ลีลามั่นคง 5510211031
4. นพเก้า พัชรกิตติพรกุล 5510211047
5. ณัฐวดี วีระกิตติ 5510211053
6. วิชชุลดา แซ่ตั้ง 5510211071
7. ภัทรวดี บุตรเมืองปัก 5510211078

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License