Using The Crowd As An Innovation Partner

Using the crowd as an innovation partner

การใช้ฝูงชนเป็นหุ้นส่วนนวัตกรรม
สำหรับปัญหาบางประเภท ฝูงชนสามารถทำผลลัพธ์ให้องค์กรของคุณเกินความคาดหมายได้ คุณแค่จำเป็นต้องรู้ว่าจะใช้พวกเขาเมื่อไร และอย่างไร

ไอเดีย เบื้องต้น
ถ้าคุณแยกการใช้งานฝูงชนภายนอกจากเครื่องมือสร้างนวัตกรรมของบริษัท คุณกำลังเสียโอกาส
เหตุผลหลักที่บริษัทต่อต้านฝูงชนนั่นก็เพราะผู้จัดการไม่เข้าใจว่าปัญหาประเภทไหนที่ฝูงชนจัดการได้ดีกว่าและจะจัดการกระบวนการอย่างไร ผู้เขียนได้ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างบริษัทกับฝูงชนจำนวนมากในหลากหลายอุตสาหกรรมและได้ค้นพบสี่ช่องทางในการที่องค์กรจะนำพลังฝูงชนมาใช้แก้ปัญหาได้ ได้แก่ contests, collaborative communities, complementors และ labor markets พวกเขาอธิบายประเภทของความท้าทายที่แต่ละช่องทางรับมือได้ดีที่สุด และอภิปรายถึงวิธีการที่องค์กรสามารถนำแต่ละช่องทางไปใช้ในการดำเนินงานอย่างแนบเนียน
เพื่อตอบคำถามที่น่ารำคาญที่สุดของนวัตกรรมและการวิจัย ฝูงชนกลายมาเป็นทางเลือกหนึ่ง Apple ได้เปลี่ยนผู้ใช้และนักพัฒนาจำนวนมากจากทั่วโลกเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัทด้วยการสร้าง apps และ podcasts ซึ่งส่งเสริมสินค้าของบริษัท นักชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันใช้ฝูงชนจากอาสาสมัครภายนอกเพื่อสร้างแผนที่โครงสร้างเชื้อเอดส์ซึ่งเป็นปัญหาของผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านวิชาการและอุตสาหกรรมมานานกว่า 15 ปี ท่ามกลางรายการเรื่องประสบความสำเร็จที่เติมโตขึ้นทุกวัน มีเพียงสองสามบริษัทเท่านั้นที่ใช้ฝูงชนอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้จัดการระลึกถึงคำเตือนที่ว่า การผลักปัญหาสู่กลุ่มคนแปลกหน้าภายนอกนั้นดูเสี่ยงและไม่เป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะสำหรับองค์กรที่ถูกสร้างบนพื้นฐานของการสร้างนวัตกรรมจากภายใน ตัวอย่างเช่นบริษัทจะสามารถปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างไร? การรวมฝูงชนภายนอกเข้ามาในกระบวนการของบริษัทจะไม่เป็นฝันร้ายของการจัดการหรือ? และคุณจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าคุณจะได้รับผลลัพธ์ที่ น่าพึงพอใจ?
ข้อสงสัยเหล่านี้ล้วนสมเหตุสมผล แต่การแยกการใช้งานฝูงชนจากเครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมของบริษัทอาจหมายถึงการสูญเสียโอกาส เหตุผลหลักที่บริษัทต่างๆต่อต้านฝูงชนเพราะผู้จัดการไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าปัญหาชนิดไหนที่ฝูงชนจัดการได้ดีกว่าและจะจัดการกระบวนการเหล่านั้นได้อย่างไร กว่าทศวรรษที่ผ่านมาเราได้ศึกษาความสัมพันธ์ของบริษัทจำนวนมากกับฝูงชนในโครงการด้านนวัตกรรมในหลายๆด้านอาทิ พันธุกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การวิจับปฏิบัติการ การวิเคราะห์เพื่อทำนาย การพัฒนาซอฟท์แวร์ขนาดใหญ่และการตลาด โดยหลักการพื้นฐานของงานนั้นตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และการทดลองอย่างเข้มงวด เราได้ศึกษาเมื่อฝูงชนมีแนวโน้มที่จะทำงานเกินความคาดหมายให้บริษัทพอๆกับเมื่อไม่ทำงานเกินความคาดหมาย ในบทความนี้เราเสนอแนวทางในการเลือกรูปแบบที่ดีที่สุดในการใช้ฝูงชนภายนอกในสถานการณ์ต่างๆ เรายังนำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยเหลือผู้จัดการในด้านนี้ด้วย ฝูงชนกำลังกลายมาเป็นกระแสหลัก ถ้าคุณไม่ฉกฉวยผลประโยชน์ไว้คู่แข่งของคุณจะทำแน่นอน

นอกจาก “สร้าง หรือ ซื้อ”
เริ่มกันที่การทำความรู้จักความแตกต่างของการแก้ปัญหาด้วยพลังฝูงชนกับรูปแบบดังเดิมขององค์กร บริษัทคือสิ่งแวดล้อมที่ถูกจัดการอย่างดีสำหรับรวบรวมและระดมความรู้ความเชี่ยวชาญเพื่อระบุปัญหาและโอกาสในการสร้างนวัตกรรม ในทางกลับกันฝูงชนที่มีประสิทธิภาพจะหลวมๆและไม่มีศูนย์กลาง มันกระจายปัญหาสู่บุคคลผู้มีความสามารถ ประสบการณ์ และมุมมองอย่างกว้างขวาง และมันสามารถดำเนินการที่ระดับสูงเกินกว่าบริษัทที่ใหญ่ที่สุดและซับซ้อนที่สุดระดับโลกได้ด้วยการชัดนำบุคคลมากมายให้หมกมุ่นอยู่กับความท้าทายที่มอบให้
ในบางสถานการณ์ นั่นหมายความว่าเราสามารถแก้ปัญหาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เราได้ทำงานร่วมกับ Harvard Clinical and Translation Science Center (หรือที่รู้จักกันในนาม Harvard Catalyst) ในการออกแบบการประกวดเพื่อแก้ปัญหาในการคำนวณด้านชีววิทยายากๆซึ่งมีคุณค่าแก่การวิจัยและการค้า เพื่อสร้างเวทีสำหรับการแข่งขัน เราใช้ TopCoder ซึ่งเป็นบริษัทจัดการแข่งขันด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระยะเวลาสองสัปดาห์ในการประกวด เราได้ทางออกมากมายจากนักแก้ปัญหา 122 คน ทางออกหลายทางมีคุณภาพดีกว่าของนักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบัน และผู้เชี่ยวชาญของ National Institute of Health เสียอีก
เพิ่มเติมสำหรับข้อดีจากขนาดและความหลากหลาย ฝูงชนต้องการสิ่งจูงใจในแบบที่บริษัทเทียบเทียมได้ยาก บริษัทดำเนินการบนสิ่งจูงใจแบบดังเดิมที่ชื่อว่าเงินเดือนและโบนัสและลูกจ้างถูกมอบหมายบทบาทที่ชัดเจนและหน้าที่ที่เฉพาะเจาะจงให้ซึ่งลดความกล้าในการมองหาความท้าทายนอกขอบเขตงานของพวกเขา แต่สำหรับฝูงชนงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าพวกเข้าถูกกระตุ้นโดยแรงจูงใจภายใน อย่างความกระหายที่จะเรียนรู้ ซึ่งมันเหมือนกลายมาเป็นการเล่นเมื่อผู้คนได้ตัดสินใจว่าปัญหาไหนสมควรถูกโจมตี (คุณสามารถจินตนาการถึงบริษัทที่จ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานที่ล่องลอยไปมาเพื่อหาปัญหามาแก้ออกไหม?) โอกาสที่จะสร้างชื่อเสียงในสังคมขนาดใหญ่คือเครื่องจูงใจอีกอย่างหนึ่ง (นอกจากเงิน) อีกทั้งฝูงชนมักจะใช้ต้นทุนได้มีประสิทธิภาพต่อผลงานหรือต่อคนมากกว่าทางออกเดิมๆของบริษัทอีกด้วย
ถึงแม้การใช้งานฝูงชนภายในจะมอบไอเดียและการสร้างสรรค์อย่าง “jams” “idea marketplace” และ “personal entrepeneurial projects” อาจเพิ่มขอบข่ายสำหรับการสำรวจและความยืนหยุดภายในองค์กร แต่อย่างไรก็ตามมันก็มีปริมาณน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับฝูงชนภายนอก ในขณะเดียวกันข้อดีของฝูงชนก็ไม่สามารถลบล้างข้อกังวลของฝ่ายบริหารที่กล่าวถึงข้างต้นได้เลย เราจะอธิบายถึงการป้องกันและกระบวนการอื่นๆในการแก้ไขข้อกังวลเหล่านั้น
การใช้ฝูงชนภายนอกเป็นหาทางในการจัดการกับปัญหาด้านนวัตกรรมซึ่งมีมาในหนึ่งหรือหลายรูปแบบมานานกว่าศตวรรษ สังคมแห่งนักนวัตกรรมได้ช่วยอุตสาหกรรมเกิดใหม่ซึ่งรวมถึงการบินและคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ข้อแตกต่าง ณ วันนี้คือเทคโนโลยี กว่าทศวรรษที่ผ่านมาอุปกรณ์สำหรับพัฒนา ออกแบบ และทำงานร่วมกันได้เปลี่ยนไปอย่างมาก พวกมันทรงพลังมากขึ้นและง่ายต่อการใช้งานตลอดเวลาในขณะที่ราคาตกฮวบลง ที่สำคัญ ระบบการใช้งานฝูงชนภาคนอกออนไลน์ได้ฉลาดขึ้นมาก ทำให้มันง่ายกว่าเดิมในการจัดการ สนับสนุน และไกล่เกลี่ยระหว่างคนงานอาสา บริษัทสามารถกระตุ้น (ตัวอย่างเช่นด้วยระบบค่าจ้าง) และจัดจ้างฝูงชนผ่านกระแสของปัญหาต่อเนื่อง แก่นก็คือฝูงชนกลายมาเป็นสถาบันที่มีให้ใช้ตามความต้องการ
มีการระบุว่าเมื่อเผชิญกับความท้าทายที่บริษัทของคุณไม่สามารถหรือไม่ควรแก้ปัญหาเอง คุณต้องหาทางออกว่าทำอย่างไรที่จะทำงานกับฝูงชนให้ได้ ในการมองรอบแรกพื้นที่แห่งความเป็นไปได้อาจทำให้งุนงง แต่ที่ระดับสูงการใช้งานฝูงชนโดยส่วนใหญ่จะมาจากหนึ่งในสี่วิธี ได้แก่ contest, collaborative community, complementor หรือ labor market ซึ่งเหมาะสมกับแต่ละประเภทของความท้าทาย

Crowd contests
วิธีการที่ใช้การอย่างแพร่หลายที่ชักนำผู้คนมาเข้าร่วมการประกวด โดยบริษัทจะเริ่มสร้างหัวข้อปัญหา และเสนอรางวัลตอบแทน ที่สำคัญได้มีการโปรโมทผู้ที่ชนะการประกวด บางการประกวดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประวัติศาสตร์นั้นจะไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น การหาทางที่จะวัดเส้นลองจิจูดในทะเล โดยรางวัลจะได้รับจาก Britain’s Paliament ในปี 1714 หลังจากนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วย Giovanni Domenico Cassini , Christiaan Huygens, Edmond Hally, Isaac Newton ซึ่งได้พยายามแต่ก็ยังไม่ได้คำตอบที่จะชนะการแข่งขันได้ แต่หนึ่งในร้อยผู้เข้าแข่งขันที่
สามารถคิด Chronometer ที่แม่นยำนั้น คือ John Harrison ที่เป็นช่างไม้และทำนาฬิกาจากอังกฤษ และได้รับเงินรางวัลจำนวน 15000 ปอนด์ การประกวดแข่งขันจะดำเนินไปได้ดี เมื่อมันไม่มีความชัดเจนที่รวมความสามารถหรือเทคนิคหลายๆอย่างที่จะนำไปสู่วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ดังนั้นจากการทดลอง จึงมีการกระจายปัญหาไปยังกลุ่มค้นเพื่อค้นหาคำตอบ สี่แบบ การแข่งขันเป็นสิ่งมีประโยชน์มากสำหรับปัญหาที่จะต้องมา

จากการทดลองและหลายๆวิธีในการหาคำตอบ โดยทุกวันนี้ Online Plattform เช่น TopCoder, Kaggle ,InnoCentive ได้จัดหาการบริการ crowed contest ขึ้น โดยหาและรักษาสมาชิก , การใช้จ่าย , ป้องกัน ทำให้ชัดเจน และเคลื่อนย้าย ทรัพย์สินทางปัญญาไปทั่วโลก ถึงแม้ว่าบริษัทจะใช้หนึ่งวิธีในการแก้ปัญหาที่ได้รับจากการแข่งขัน การประเมินผลงานจากผู้แข่งขันหลายคนก็นำเข้าไปในสู่เขตเขตทางเทคนิค ที่สำคัญถ้ามีกลุ่มวิธีแก้ปัญหาในบางปัญหายากๆ
การแข่งขันที่มีประสิทธิภาพที่สุดก็ต่อเมือปัญหาเรื่องนั้นซับซ้อน,แปลกใหม่ หรือไม่มีใครคิดได้มาก่อนโดยในการจัดการแข่งขันเองนั้นๆก็ควรมีรางวัลที่น่าสนใจมากพอ เพื่อจะได้ผู้แข่งขันที่มีศักยภาพ - โดยการแข่งขันนี้เองเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาที่ทางกำลังเผชิญและยังช่วยพัฒนาคุณภาพของงานให้ออกมาดีได้ยิ่งขึ้น - ในส่วนของการจัดการแข่งขันเองนั้นก็ใช่ว่าจะจัดแข่งขึ้นมาเฉยๆ มันต้องมีการจัดการที่ดีโดย สิ่งแรกคือการระบุปัญหาที่สำคัญมากพอจะทำการแก้ไข และปัญหาที่มอบให้ไปควรจะสามารถทำให้เหล่าผู้ที่จะมาแก้ปัญหาสามารถเข้าใจถึงปัญหานั้นๆได้และสุดท้ายควรชี้แจงให้ผู้แข่งขันเสนอวิธีแก้ปัญหาที่สามารถทำได้จริง

Crowd Collaborative Communities
June 1998 IBM ตัดสินใจที่จะละทิ้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเว็บเซอร์บเวอร์ ซึ่งโลกของซอฟแวร์ค่อนข้างตกใจกับการตัดสินใจนี้ ขณะเดียวกันทาง IBM ได้มีการร่วมมือกับกลุ่ม Apache ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวของผู้ใช้ซอฟแวร์ระดับสูง (เว็บมาสเตอร์และผู้ที่คลั่งไคล้เทคโนโลยี) จากทั่วโลก โดยร่วมมือในการพัฒนาซอฟแวร์ระดับสูง ฟังชันก์การใช้งานครบถ้วน แต่เป็นซอฟแวร์ฟรี ซึ่งสองปีต่อมา IBM ได้ตั้งงบลงทุนเบื้องต้น 1 พันล้านเหรียญเพื่อสนับสนุน Linux, Open source OS และให้ทีมงานวิศวกรกว่า 700 คน ทำงานร่วมกันกับกลุ่มนักพัฒนา Open source เพื่อสร้างขึ้นมา
จากการร่วมมือกับกลุ่ม Apache นั้น, IBM ได้ตระหนักถึงสิ่งสำคัญยิ่งสองข้อ
1. กลุ่มผู้ใช้งานใน Apache เป็นผู้ใช้งานระดับสูง ที่ทราบถึงจุดอ่อนของซอฟแวร์ open source และสามารถแก้ไขจุดอ่อนได้ด้วยตนเอง ซึ่งจุดนี้เองทำให้สามารถต่อยอดการพัฒนาได้มากจากกลุ่มผู้ใช้งานระดับสูงนี้

รูป 2 How does Apache works?
2. IBM ได้ทราบว่า กลุ่มผู้ที่ทำลายระบบป้องกันนั้นคิดว่ามันคล้ายกับการเล่นเกมเกมหนึ่ง การร่วมมือกับคนกลุ่มนี้จะมีประโยชน์มากกว่า เพื่อพัฒนาซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ที่มีช่องโหว่น้อยที่สุดเพื่อการป้องกันความปลอดภัยในระดับสูง
จุดเริ่มต้นของกลุ่มนั้นมีเรื่องราวมากมายก่อนที่จะรวมตัวกันได้ ผู้คนในกลุ่มมาจากผู้ทำงานหลากหลายอาชีพ จากหลายอุตสาหกรรม มารวมตัวกันโดยมีแนวคิดและมุมมองที่คล้ายกัน จุดแข็งจึงเป็นเรื่องของมุมมองที่หลากหลาย แต่ว่าจุดอ่อนของกลุ่มแบบนี้ก็คือเรื่องของความเหนียวแน่นในการรวมตัวกัน
นั่นคือจุดแข็งของกลุ่มผู้คนออนไลน์คือความหลากหลายในแนวคิด แต่จุดอ่อนคือเรื่องของการรวมตัว แตกต่างจากโครงสร้างของบริษัท บริษัทนั้นเริ่มมาจากโครงสร้างทางการบริหารและระบบในการบริหารแล้วจึงสร้างมูลค่า การสร้างวัฒนธรรมองค์กรสร้างมูลค่าให้แก่บริษัทผ่านทางการทำงานต่างๆ สั่งสมประสบการณ์และเทคนิคต่างๆ อีกทั้งการทำงานแบบบริษัทยังสามารถควบคุมได้ง่าย ตรงข้ามกับการรวมตัวแบบกลุ่มคน แม้กลุ่มคนจะเป็นการรวมกันจากหลายส่วนจากทั่วโลกที่สนใจในเรื่องเดียวกันจากหลากหลายอาชีพก็ตาม แต่การควบคุมกลุ่มคนนั้นทำได้ยากมาก
ลองพิจารณาเคสของ Wikipedia ไม่ถึงสิบปีที่ผ่านมา สาราณุกรมออนไลน์นี้ได้ฉีกกฎเกณฑ์ของรูปแบบการอ้างอิงแบบเดิม ซึ่งกลไกของ Wikipedia นั้นเป็นการรวบรวมการแก้ไขข้อมูลของกลุ่มผู้คน และติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอย่างอัตโนมัติจากผู้คนที่ใช้งาน Wikipedia กันเอง นั่นคือผู้ใช้ตรวจสอบกันเองเพื่อให้ข้อมูลนั้นตรงกับความคิดของผู้ใช้กลุ่มใหญ่ที่สุด ซึ่ง Wikipedia เป็นตัวอย่างการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลโดยผู้ใช้ด้วยกันเองจำนวนมาก
ซึ่งการร่วมมือในการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เช่น มาตรฐานต่าง, การแชร์ข้อมูล, ความรู้ต่าง เป็นต้น ระบบการแชร์และตรวจสอบในรูปแบบของ Wikipedia นี้แทบจะไม่พบเห็นในระบบการจัดการของบริษัท

รูป 3 Wikipedia
โดยทั่วไปองค์กรต่างๆจะมีรูปแบบการมีส่วนร่วมกับกลุ่มคนในรูปแบบที่ต่างกันไป เพราะกลุ่มลูกค้าของบริษัทคือกลุ่มผู้คนที่จะให้ข้อมูลสำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์นั่นเอง หลายบริษัทให้ความสำคัญในจุดนี้เช่น
• บริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีและอิเลคโทรนิคส์ให้ลูกค้าด้วยกันเองมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการใช้งาน (customer support) ด้วยการจัดระบบให้ลูกค้าถาม-ตอบ ปัญหาด้วยกันเองในข้อมูลระดับเดียวกับ customer service
• Verizon สร้างระบบที่ให้ลูกค้าตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ เรื่องข้อมูลทางเทคนิคด้วยกันเอง
• Facebook สร้างเพจในส่วนของ service ในหลายภาษาเพื่อช่วยให้ลูกค้าใช้งานง่ายขึ้น
• Lego ให้กลุ่มแฟนๆมีส่วนช่วยคิดผลิตภัณฑ์และสินค้าใหม่ๆ
• IDEO เปิดให้มีเวทีร่วมของกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญมาร่วมแชร์มุมมองเรื่องการแก้ปัญหาที่ยาก เช่นเรื่องสิทธิมนุษยชน, การกระจายตัวของสังคมเมือง, ปัญหาสุขภาพ และ ปัญหาทรัพยากรน้ำ
กลุ่มผู้คนที่รวมกันนี้จะร่วมกันได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุดเมื่อสามารถรวมแนวคิดไปในทางเดียวกัน ผ่านการแบ่งปันข้อมูลและความรู้อย่างเสรี ซึ่งในส่วนของบริษัทนั้นไม่สามารถทำได้เพราะจำเป็นต้องปกป้องความลับทางการค้า ฝ่ายบริษัทอาจจะมีจุดยืนที่ชัดเจนระหว่างการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยตรง, ของส่วนรวม และพยายามสร้างผลกำไรโดยธุรกิจเสริม เช่น Google สร้าง Android เป็น Open source OS ให้ใช้ฟรีสำหรับอุปกรณ์ต่าง แต่ผลกำไรของ Google มาจากหน้าเพจค้นหาข้อมูลซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ Google

Crowd Complementors
Crowd-powered innovation ชนิดที่ 3 นั้นช่วยให้ตลาดสำหรับสินค้าและบริการหลักถูกเติมเต็มและพัฒนาขึ้น โดย สินค้าจะถูกเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธิภาพที่เป็น Platform แบบเปิดที่จะสามารถกระตุ้นให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือ 3rd parties ซึ่งในที่นี้ก็คือฝูงชน (crowd) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลัก (core product) ของบริษัทโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริม (complementary product) ตัวอย่างเช่น iTunes นั้นสามารถจัดการกับผลิตภัณฑ์พกพาหลักของApple (iPod iPhone และ iPad) iTune นั้นเปรียบเสมือนแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่จะรวมผู้พัฒนาในด้านการสร้างนวัตกรรมที่สมบูรณ์แบบ เช่น Software apps และ user-generated podcasts
รูป 4 iOS Developer Program
Crowd Complementors จะแก้ปัญหาที่มาจากหลายๆที่มากกว่าแค่เพียงปัญหาเดียว โอกาสนั้นก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณการแก้ปัญหา Platform อย่าง iTunes ช่วยให้ ธุรกิจหลักเก็บรวบรวมรายได้จากการออกใบอนุญาตหรือการทำธุรกรรมจาก Complementors ที่ขายสินค้าของพวกเขาให้กับลูกค้าของผลิตภัณฑ์หลัก (เช่น เจ้าของ iPhone) ความหลากหลายของสินค้านั้นไม่มีสัมพันธ์กับการสร้างรายได้ สินค้ามันสามารถสร้าง Demand ได้ในตัวมันเองอยู่แล้วโดยการทำให้มันมีประโยชน์มากขึ้น เมื่อ Demand เพิ่มขึ้นก็จะทำให้ก็จะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของ Supply ในการจัดหานวัตกรรมที่สมบูรณ์แบบและคุณก็จะได้รับผลทาง Network ที่ดีในเร็วๆนี้
แน่นอนว่า Crowds ไม่ได้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการสร้างผลิตภัณฑ์เสริมเสมอไป พวกเขาเข้าใจเพียงแค่ว่าเมื่อมีจำนวนมากและความหลากหลายของการเติมเต็มเป็นสิ่งสำคัญ มิฉะนั้นไม่กี่พันธมิตรหรือแม้แต่ภายในองค์กรจะทำหน้าที่ให้ถึงเป้าหมายได้ดีขึ้น
เมื่อนำ Crowd complementors ไปใช้งานในบริบทที่เหมาะสมก็จะสามารถทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ พวกเขาก็ได้ให้เหตุผลสำหรับความสามารถของ Apple ที่คุมตลาดเสียงทั้งสอง โดยเขาได้กำจัดคู่แข่งผู้ผลิตที่ได้รับการยกย่องเช่น Bang&Olufsen และ Bose และเขาได้กำจัด RIM(BlackBerry) Nokia และ Sonyเป็นต้น
ตัวอย่าง Ford Motor Company มีแผนจะแปลงอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ ความบันเทิง และระบบฮาร์ดแวร์ของตน

รูป 5 Ford Developer Program
เป็นแพลตฟอร์มแบบเปิดที่จะช่วยให้นักพัฒนาภายนอกได้คิดค้น Application ที่ใช้งานภายในรถยนต์ โดย Ford ให้เหตุผลว่านวัตกรรมใหม่ๆของพวกเขาจะสร้าง Demand และ Value มากขึ้น สำหรับสินค้าของพวกเขาได้แข่งขันกับ Google และ Facebook ซึ่งจะแข่งขันกันในการให้บริการยานยนต์ที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนที่ สภาพจราจร GPS และข้อมูลทางสังคม
Crowd เสมือนกับเป็นส่วนเติมเต็มที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลัก ผ่านทางเทคโนโลยี Interface โดยผู้พัฒนาจากภายนอกเพื่อสร้างนวัตกรรมที่สมบูรณ์แบบ ตัวอย่างเช่น การป้อนข้อมูลจาก Website สิ่งท้าทายต่อมาคือในกรณีที่ Complimentator ต้องสร้าง function เสริมลงในตัวผลิตภัณฑ์หลัก ตัวอย่างเช่น Third party developer จะต้องใช้ Application programming interfaces(APIs) เพื่อที่จะเข้าถึงความสามารถของผู้ขายเพื่อที่จะพัฒนา Application ที่สมบูรณ์แบบ ตัวอย่างเช่น Canada’s Yellow Pages Group ทำงานกับ Meshery ผู้จัดหา Third-party เพื่อที่จะสร้าง API ที่ทำให้การรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุนและใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงไปยังผู้พัฒนา App

รูป 6 Facebook developers
นอกจากนี้ยังมีข้อได้เปรียบในการรวบรวม Complementor ที่มีเฉพาะในแพลตฟอร์มของ บริษัท ตัวเอง ถ้าคิดถึงบริษัทขนาดใหญ่เช่น Microsoft, Facebook และ Apple แต่ละแห่งดำเนินการในรูปแบบที่กระตุ้นให้มีการยอมรับทั้ง Complementor และด้านลูกค้า เพื่อเริ่มต้นการมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวกและการเติบโต กลยุทธ์ของบริษัทเหล่านั้นจะต้องใช้ประสบการณ์ทางอุตสาหกรรมและการสนับสนุนโดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ พวกเขามีส่วนร่วมในการออกแบบผลิตภัณฑ์หลัก การตั้งราคาที่แตกต่างกันของแพลตฟอร์ม การสร้างความคาดหวังและแรงจูงใจในวงกว้างท่ามกลางประเด็นอื่นๆ

Crowd Labor Market
สำหรับในแต่ละงานนั้นจะมีการเสนอผลตอบแทนให้กับผู้ที่เสนอวิธีแก้ไขปัญหาให้ โดยที่ทาง Labor market จะเป็นตัวกลางในการจับคู่ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย บริการ ซึ่งกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางอยู่ เช่น Elance, oDesk, Guru, Clickworker, ShortTask, Samasource, Freelancer, and CloundCrowd ซึ่งบริษัทเหล่านี้แทนที่จะทำการจับคู่คนงานกับบริษัทเพื่อจ้างงานในระยะยาวกลับจัดสร้าง Platform ซึ่งมีความยืดหยุ่นโดยจับคู่ทักษะที่คนเหล่านั้นมีกับงานเฉพาะงานไป เช่น California-based o Desk ที่บอกว่าบริษัทนั้นมี worker อยู่ราว 2.5 ล้านคน และ ลูกค้าที่ลงทะเบียนกว่า 495,000 ราย
จุดสำคัญที่ทำให้ตลาดงานรูปแบบนี้สำเร็จได้ก็คือการเติบโตของโครงสร้างทางเทคโนโลยีซึ่งจะทำให้การทำธุรกรรมระหว่างกันเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ Platform ที่จะมาสนับสนุนสิ่งนี้ได้ก็คือ ชื่อเสียง และทักษะในการประเมิน อีกทั้งระบบที่จะทำการประมูล , กระบวนการในการขอความช่วยเหลือ และกระบวนเก็บ-จ่ายเงินโดยบุคคลที่สามเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างผู้ซื้อ และ ผู้ขายลง
Spot labor market นั้นเหมาะกับกรณีที่เรารู้ว่าควรแก้ไขปัญหาด้วยวิธีใด และคนไหนจะสามารถแก้ไขปัญหาให้กับเราได้ เพราะว่า spot labor market นั้นจะต้องมีการตั้งมาตรฐานของ woker ก่อน ซึ่งจะช่วยให้ง่ายต่อการประเมิน woker เองด้วย ซึ่งจะมีการเก็บข้อมูลของทักษะ,ความสามารถ, ข้อมูล feedback ต่างๆ เพื่อที่จะนำข้อมูลต่างๆ เหล่านี้มาใช้ช่วยให้เกิดการจับคู่ที่เหมาะสมในครั้งต่อไป โดยข้อมูลจะถูกแปลงไปอยู่ในรูปของ algorithm
Labor markets นั้นมีต้นทุนของการทำธุรกรรมที่ต่ำ ซึ่งทำให้สามารถที่จะ outsorce งานชิ้นเล็กๆ ออกมาได้ เช่น การบริการบางอย่างซึ่งจะทำให้เกิดต้นทุนเพียงเพนนีเดียวต่อหนึ่งงาน ซึ่งพบได้ในตลาด Crowdsourcing ของ Amazon

รูป 7 Crowdsourcing ของ Amazon

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดแรงงานซึ่งตัวงานต้องใช้ความฉลาดของมนุษย์แต่จะทำให้เกิดต้นทุนที่สูงเกินไปหากทำการจ้างพนักงานแบบเต็มเวลา หรือในบางงานซึ่งการใช้คนนั้นดีกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ อย่างเช่น การระบุคนในรูปถ่าย เป็นต้น หรืออีกตัวอย่างเช่น National geographic ได้ทำการจ้างฝูงชนจำนวน 28,000 คน เพื่อค้นหาภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อค้นหาหลุมฝังศพของจักรพรรดิเจงกีสข่าน

รูป 8 Crowd ช่วยไขปัญหาลึกลับกว่า 800 ปี เพื่อค้นหาหลุมฝังศพของจักรพรรดิเจงกีสข่าน
Spot labor market นั้นสำหรับผู้บริหารเองความท้าทายในการใช้นั้นก็คือจะต้องเลือกว่างานใดเหมาะที่จะนำออกไปสู่ Spot labor market และใครในองค์กรของเราควรเป็นคนจัดการดูแลคนที่เราจ้าง
Flitto เป็น app แปลภาษาจากเกาหลีใต้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 2 ล้านคน ทำไม flitto ถึงได้รับความนิยมล่ะ เรามาดูได้จากวิธีการทำงานของ app นี้กัน
ยกตัวอย่าง ถ้าเราต้องการแปลภาษาของป้ายซึ่งเป็นภาษาเกาหลี ให้เป็นภาษาอังกฤษ ที่เราต้องทำก็คือถ่ายภาพป้ายนั้น แล้ว อัพโหลดลง Flitto จากนั้นภายใน 1 นาที ผู้ใช้อื่น ก็จะช่วยแปลจากเกาหลี ไปเป็นอังกฤษ ให้เรา
นอกจากข้อความ และรูปภาพแล้ว ยังรวมไปถึงเสียงอีกด้วย ทำไม Flitto ถึงใช้เวลาสั้นๆ เพียงไม่กี่นาที แล้วได้คำแปลล่ะ นี่คือจุดที่น่าสนใจที่สุดของ app นี้นั่นก็คือ ผู้คนสามารถทำเงินได้จากการแปลนั่นเอง มีเด็กผู้หญิงที่อินโดนีเซีย ซึ่งทำเงินได้ราว $300/เดือน โดยสิ่งที่เธอทำก็เพียงแต่แปลจากภาษาอินโดนีเซียไปเป็นภาษาอังกฤษ โดยเธอใช้เวลาเพียง 30 นาที/วัน บน Flitto เท่านั้น

รูป 9 Flitto
สุดท้ายแล้ว Crowd เองนั้นได้จะช่วยเพิ่มความสามารถให้กับบริษัท และ เราสามารถมอง Crowd เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำหรับองค์กรในการแก้ไขปัญหา
เทคโนโลยีที่จะมาช่วยเร่งการเติบโตและเพิ่มศักยภาพให้กับ Crowd นั้นยังเป็นสิ่งที่ใหม่อยู่ ดังนั้นมันจึงเป็นสิ่งที่เร็วไปสำหรับการที่จะเข้าใจทั้งหมด
รูป 10 When and How to crowdsource

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License